Logic ขั้นตอน การกำหนดวันหยุดประจำปีขององค์กรบริษัทห้างร้าน

Calendar กำหนดวันหยุดประจำปี ของไทย

Calendar กำหนดวันหยุดประจำปี ของไทย

Logic การกำหนดวันหยุดประจำปีเพื่อให้เป็นไปตามกฏหมาย

เพื่อให้การกำหนดวันหยุดประจำปี สอดคล้องกับกฏหมายทุกประการ ท่านเจ้าของกิจการ หรือคนที่ทำหน้าที่กำหนดให้เริ่มทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ โดยการกำหนดตามบทความนี้เพื่อใ้ช้กับการพิจารณาวันหยุดประจำปีที่เป็นไปตามกฏหมายคืออย่างน้อยเท่ากับ 13 วันของปี

  1. เริ่มจากการหาข้อมูลที่ราชการกำหนดออกมาว่าวันใดของปีต่อไปที่กำลังกำหนดนั้นคือเป็นวันหยุดราชการหรือวันหยุดประเพณีประจำปีนั้นๆ
  2. ให้ผู้กำหนดวันหยุดกำหนดวันหยุดโดยเลือกเอาไว้หยุดประจำปีที่กำหนดนั้นตรงๆเสียก่อนโดยไม่ต้องสนใจว่าเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์หรือไม่
  3. ใช้เงื่อนไขต่อไปนี้ในการเลื่อนวัน เมื่อได้วันหยุดประจำปีแล้วมองว่าถ้าหากว่าตรงกับวันทำงานปกติของพนักงาน ก็กำหนดเป็นวันหยุดนั้นๆได้ทันที แต่ถ้าหากว่าวันหยุดที่ได้กำหนดนั้นเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์อยู่แล้ว ให้กำหนดเป็นวันที่ทำการวันถัดไปเป็นวันหยุดชดเชยแทน

หมายเหตุ :

  • ไม่สามารถเลื่อนวันหยุดชดเชยเป็นวันก่อนหน้าวันหยุดได้ เช่น หากวันปีใหม่ตรงวัน อาทิตย์ที่เป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ จะให้กำหนดวันชดเชยเป็นวันจันทร์แทน (คือวันแรกที่ไม่ใช่วันหยุดชดเชย)
  • ไม่สามารถกำหนดวันหยุดประจำปีได้เอง(ที่จะนับเป็น วันในสิบสามวันนั้น) แต่ต้องเป็นวันหยุดจากที่ราชการกำหนดให้หยุดเาไว้เท่านั้น ถึงจะนับ แต่วันหยุดอื่นๆ ถ้าหากว่ากำหนดจะไม่นับรวมใน สิบสามวันแรกขั้นต่ำนั้น
  • ไม่สามารถมองจากวันหยุดชดเชยว่าเป็นวันหยุดได้เพราะการกำหนดวันหยุดประจำปีต้องกำหนดจากวันหยุดที่เป็นวันหยุดตามขนบหรือราชการกำหนดที่แท้จริง

คุณสามารถอ่านเนื้อความทางกฏหมายที่ได้กำหนดเอาไว้จากด้านล่างนี้

วันหยุดตามประเพณี

       ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา ๒๙ กำหนดว่า “  ให้นายจ้างประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีให้ลูกจ้างทราบเป็นการล่วงหน้าปีหนึ่งไม่น้อยกว่าสิบสามวันโดยรวมวันแรงงานแห่งชาติตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด  ให้นายจ้างพิจารณากำหนดวันหยุดตามประเพณีจากวันหยุดราชการประจำปีวันหยุดทางศาสนาหรือขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่นในกรณีที่วันหยุดตามประเพณีวันใดตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ของลูกจ้างให้ลูกจ้างได้หยุดชดเชยวันหยุดตามประเพณีในวันทำงานถัดไปในกรณีที่นายจ้างไม่อาจให้ลูกจ้างหยุดตามประเพณีได้เนื่องจากลูกจ้างทำงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานตามที่กำหนดในกฎกระทรวงให้นายจ้างตกลงกับลูกจ้างว่าจะหยุดในวันอื่นชดเชยวันหยุดตามประเพณีหรือนายจ้างจะจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้ก็ได้”

      วันหยุดตามประเพณี  นายจ้างมีอำนาจในการกำหนดเอง   โดยไม่ต้องตกลงหรือได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน   ซึ่งหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด  คือ ให้พิจารณาจากวันหยุดราชการ   วันหยุดทางศาสนา หรือขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่น   เช่น  วันขึ้นปีใหม่   วันสงกรานต์  วันเข้าพรษา  ออกพรรษา  เป็นต้น   ปีหนึ่งต้องกำหนดไม่น้อยกว่า  ๑๓  วัน  มากกว่าได้   น้อยกว่าไม่ได้

     การกำหนดวันหยุดตามประเพณี   ต้องเป็นวันหยุดตามประเพณีจริง ๆ เช่น  วันสิ้นปีและวันขึ้นปีใหม่  ตรงกับวันอังคารและวันพุธ  แต่บริษัท ฯ เห็นว่าวันจันทร์ คั่นกลางอยู่  จึงเปลี่ยน  เป็น วันจันทร์และวันอังคารแทน  อย่างนี้  ถือว่า  วันจันทร์ไม่ใช่วันหยุดตามประเพณี  กำหนดไม่ได้

      หากวันหยุดตามประเพณีวันใด  ตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์  สามารถเลื่อนไปหยุดชดเชยในวันทำงานถัดไปได้  เช่น  วันขึ้นปีใหม่  ตรงกับวันอาทิตย์  ซึ่งเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์  นายจ้างก็สามารถเลื่อนไปหยุดชดเชยวันขึ้นปีใหม่  ในวันจันทร์เพิ่มเติมได้

      ในลักษณะงานใด  อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่สามารถหยุดตามประเพณีได้ เช่น  งานโรงแรม  งานสถานพยาบาล  งานบริการท่องเที่ยว  เป็นต้น  เพราะหยุดแล้วจะเสียหายแก่งาน  นายจ้างสามารถตกลงกับลูกจ้าง  ว่าจะกำหนดให้หยุดชดเชยในวันใดทดแทนก็ได้ หรือจะจ่ายเป็นค่าจ้างแทนก็ได้เช่นกัน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *