ถ้าหากว่าคุณรู้สึกว่าเครื่องฟอกอากาศมันไม่จำเป็นต้องแพงอะไร เพราะ หลักการทำงานมันก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไรมากนัก มันทำหน้าที่เหมือนแค่เป็นการเอาอากาศผ่านชั้นกรองไม่ว่าจะเป็น HEPA หรือ Activated Carbon ก็สุดแล้วแต่ว่าเราจะกรองทั้งฝุ่นและกลิ่นหรือเปล่า ถ้าหากว่า คุณต้องการกรองแค่ฝุ่น PM2.5 เท่านั้นก็เลือกให้มันผ่านแค่ชั้น HEPA ก็น่าจะเพียงพอแล้ว หรือถ้าหากว่าอยากจะกรองเอากลิ่นอื่นๆออกด้วยก็ให้มันผ่านคาร์บอนอีกชั้นหนึ่งก็เท่านั้นเอง แปลว่าจริงแล้ว เราก็น่าจะหาเครื่องฟอกอากาศแบบประหยัดได้ซิ
ทีนี้ผมเห็นสินค้าประเภทที่เป็น เครื่องฟอกอากาศแบบ DIY ที่คนมักจะทำกันขึ้นมาเองแล้วรู้สึกว่าน่าเป็นห่วงคือ อุปกรณ์พวกนี้ ถ้าหากว่าคุณทำไม่เป็นจริงๆมันอาจจะมีความเสี่ยงเรื่องไฟไหม้ได้ ผมเลยอยากจะเน้นให้คุณเลือกอุปกรณ์แม้ว่าจะเป็นการทำเครื่องฟอกอากาศแบบ DIY ก็ตามก็ต้องเลือกอุปกรณ์ที่เอามาประกอบให้มันเหมาะสมหน่อย โดยส่วนตัวแล้ว ผมจะกำหนดเอาไว้ว่า มอเตอร์ต้องเป็นแบบปรับความเร็วได้ เหมือนกับพัดลมของคอมพิวเตอร์ และ หัวแปลงต้องอยู่ด้านนอกเสียบกับเต้าไฟฟ้าเพื่อแปลงไฟฟ้าจากกระแสสลับให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรงแบบโวลต์ต่ำๆเหมือนพวกของเล่นอะไรแบบนั้น และ ผมควรจะต้องเวลาเปิดปิดได้เองจากมือถือ เพื่อผมจะได้กำหนดได้ว่า เปิดเครื่องเฉพาะตอนที่มีคนในพื้นที่เท่านั้นจะได้ปลอดภัยมากขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง
ด้วยหลักการเลือกสินค้าเครื่องฟอกอากาศ DIY แบบนี้ ก็ดันมาเห็นเครื่องฟอกอากาศที่เอาตัวกรองของเสี่ยวหมี่มาใช้เป็นตัวกรองหลัก เพียงแต่ส่วนหัวนั้นติดเครื่องพัดลมเหมือนกับพัดลมคอมพิวเตอร์ดูดระบายอากาศแล้วก็สามารถปรับระดับความแรงได้เหมือนอย่างที่อยากจะได้ก็เลยจัดมาเครื่องนึงครับ แต่ส่วนการเปิดปิดตั้งเวลานั้นผมต้องซื้ออุปกรณ์เสริมเพิ่มอีกหน่อยประมาณร้อยสองร้อยกว่าบาท นั่นก็คือ Wifi Socket ที่สามารถเปิดปิดได้ผ่านแอพมือถือ และ สามารถตั้งเวลาเปิดปิดในแอพได้ เรียกได้ว่า เอาของเหล่านี้มาต่อกันทั้งหมดก็จะได้เครื่องฟอกอากาศเกรดเสี่ยงหมี่ที่สามารถสั่งการตั้งเวลาและเปิดปิดผ่านแอพมือถือได้แล้วด้วยงบประมาณประหยัดกว่าการซื้อเครื่องฟอกอากาศจริงๆมาก
ข้อดีของตัวควบคุมความแรงของการดูดอากาศนี้จริงๆแล้วก็เพื่อที่จะสามารถลดระดับความดังของเสียงขณะที่เครื่องทำงานได้ เพราะ ถ้าหากว่าคุณเปิดให้ดูดแรงสุดแล้วมันจะมีเสียงดังประมาณหนึ่งเหมือนกันเครื่องดูดฝุ่นดีๆนั่นน่ะแหละ แต่ถ้าหากว่าคุณคิดว่า มันดังเกินไปก็ปรับให้ไฟฟ้าจ่ายไฟฟ้าลดลงและทำให้ตัวดูดอากาศนั้นหมุนน้อยลง และ ยังผลให้เสียงดังออกจากเครื่องดูดอากาศเครื่องนี้น้อยลงไปด้วยเช่นเดียวกัน
รายการซื้ออุปกรณ์ทำ DIY Xiaomi Air Purifier มาประกอบเอง
– ตัวกรองอากาศ Xiaomi Filter http://bit.ly/lazada-air-filter
– ชุดอุปกรณ์ DIY Xiaomi Air Purifier สำเร็ขรูป https://bit.ly/lazada-xiaomi-diy
– WIFI Socket สำหรับเปิดปิดตั้งเวลาผ่านแอพมือถือ https://bit.ly/lazada-wifi-socket
– (ตัวเลือก) กาวดินน้ำมัน Scotch Easy Fix https://bit.ly/3m-easy-fix
ถ้าหากว่าสังเกตกันดีๆ จะเห็นได้ว่า ผมมีการเอากาวดินน้ำมันของ 3M ติดเอาไว้ที่บริเวณขอบของอุปกรณ์ด้วย วัตถุประสงค์จริงแล้วไม่ได้เอาไว้เพื่อให้มันประกบติดกันได้ดีขึ้นแต่อย่างใดหรอกครับ แต่ มันเอาไว้เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กหรือคนที่ยกเครื่องไปมาแล้วทำเครื่องดูดอากาศหลุดออกจากตัวฟิลเตอร์ฟอกอากาศได้มากกว่า กาวดินน้ำมันที่ผมใช้มันเป็นประเภทที่ออกแบบสำหรับติดเอาไว้ชั่วคราวสำหรับการใช้งานในออฟฟิศทั่วไปจะมีทั้งของ 3M และของ UHU ให้เลือกโดยถ้าหากว่าเป็นของ 3M จะมีสีขาว แต่ส่วนที่เป็นของ UHU จะมีสีเทาและสีเหลืองให้เลือก คุณก็เลือกรุ่นที่เหมาะกับสีที่คุณคิดว่ามันดูดีก็แล้วกัน อย่างไรก็ดี มันไม่ได้จำเป็นต้องเป็นกาวดินน้ำมันพิเศษเหมือนกันที่ผมใช้อะไรนี่ก็ได้ คุณอาจจะเลือกใช้เป็นดินน้ำมันปกติธรรมดาที่หาได้ตามร้านขายของเล่นหรือร้านเครื่องเขียนก็เอามาติดได้เหมือนกัน ให้ผลไม่แตกต่างกันอะไรสักเท่าไหร่ครับ
สถานที่ติดตั้ง DIY Xiaomi Air Purifier แบบไหนถึงจะเหมาะที่สุด
สำหรับบ้านที่มีคนเด็กจะมาเล่นเครื่องฟอกอากาศแบบ DIY แนะนำเอาไว้แบบนี้น่ะครับ คือ ให้เลือกวางเครื่องนี้เอาไว้ในตำแหน่งที่เด็กเข้าหาไม่ถึง และให้ติดดินน้ำมันเอาไว้ที่ด้านฝาส่วนด้านบนเพื่อไม่ให้เปิดฝาออกมาได้ง่ายๆ นอกจากนี้ แม้ว่ารุ่นนี้จะไม่สามารถเอานิ้วแหย่เข้าไปที่พัดลมได้แล้ว การเลือกวางเครื่องณตำแหน่งบ้านที่เด็กไม่สามารถเข้าถึงได้จะเป็นเรื่องที่ีดีที่สุด
หากคุณมีงบประมาณจริงล่ะก็ เราแนะนำให้คุณซื้อหาเป็นเครื่องฟอกอากาศดีๆติดบ้านเอาไว้สักตัวเลยก็ได้ กดลิงค์ภาพด้านล่างนี้เพื่อเข้าไปอ่าน บทความสุดยอดวิธีการเลือกเครื่องฟอกอากาศประจำปี 2020 กันได้เลย