ปัญหาในการใช้งาน Xiaomi Air Purifier ในโหมด AUTO

ผมมีเครื่อง Xiaomi Air Purifier มามากกว่า 1 ปีแล้วและเมื่อเร็วๆนี้ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ปรากฏว่าในพื้นที่กรุงเทพเกิดปัญหาฝุ่น PM2.5 ระดับวิกฤต ที่ไม่เคยคิดว่าจะมีโอกาสได้มาเจอ และ มันเป็นครั้งแรกที่ทุกคนในพื้นที่กรุงเทพได้มีโอกาสตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาเรื่องฝุ่นละอองเล็กๆที่เรียกกันว่า PM2.5 กันอย่างจริงจังที่สุด เท่าที่ประวัติศาสตร์เคยมีมา (แต่ไม่แน่เหมือนกันว่ามันอาจจะเป็นเรื่องปกติต่อไปในอนาคตซ้ำแล้วซ้ำเล่าอย่างเลี่ยงไม่ได้ และ ทุกคนก็จะต้องอยู่กับสภาพแบบนี้อย่างต้องก้มหน้าก้มตายอมรับมันต่อไป)

ด้วยเหตุผลปัญหารุ่นแรงของฝุ่นในพื้นที่กรุงเทพและปริมลฑลในครั้งนี้ที่รุนแรงมากกว่าทุกๆครั้งทำให้ทุกคนเริ่มค้นหาเครื่องฟอกอากาศมากเป็นประวัติการณ์และไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เรียกได้ว่ามากกว่าปกติแบบเป็นสิบๆเท่า หรืออาจจะมากกว่านั้นอีกถ้าหากว่าสถานการณ์ยังคงเป็นแบบที่เป็นอยู่นี้ โดยที่ไม่มีมาตราการระยะยาวเข้ามาแก้ไข

ส่วนตัวแล้วผมไม่ได้มองว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาระยะสั้นแต่อย่างใด เพราะ เรื่องนี้มันไม่ได้เกิดขึ้นสั้นๆ และแก้ไขได้โดยอาศัยการทำอะไรแบบสั้นๆแล้วจบๆไป มันน่าจะคงเกิดปัญหาแบบนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นลูปวนไปเรื่อยๆ และ ทุกคนก็จะอ้างฟ้าดินและคนอื่นๆอยู่อย่างงั้นเหมือนเดิมอยู่ดี โดยสรุปแล้ว เราสามารถป้องกันผลกระทบจากฝุ่นพวกนี้ได้ หากเราขังตัวเองอยู่ในห้องหับที่มิดชิด ไม่เปิดหน้าต่างหรือเอาอากาศภายนอกเข้ามาเลยแม้แต่น้อย และคุณต้องมีอุปกรณ์ในการลดระดับฝุ่นได้เมื่อคุณต้องการ และ อุปกรณ์ที่ว่านี้ก็คือ “เครื่องฟอกอากาศ” นั่นเอง

ภาพต่อไปนี้จะแสดงให้คุณได้เห็นว่าปัญหาเรื่องคุณภาพอากาศมีมาแล้วโดยเฉลี่ยปีละครั้งประมาณปลายปีถึงต้นปีของทุกๆปี และ ดูแล้วไม่มีทีท่าว่าจะป้องกันอะไรได้หากทุกคนยังคงทำตัวเหมือนเดิม เพราะ ไม่มีมาตราการกำหนดทางกฏหมายใดๆเพื่อบังคับให้มีการเปล่ียนแปลงใดๆ ภาพที่ได้ได้มาจากเว็ปที่ทำการรวบรวมประวัติสภาพคุณภาพอากาศย้อนหลังของเว็ปต่างประเทศ กดที่นี่เพื่อเข้าไปดูข้อมูลพวกนี้เชิงลึก

จะเห็นได้ว่ากราฟประวัติศาตร์ของค่า PM2.5 ในพื้นที่เฉลี่ย กทม. จะมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อถึงเวลาประมาณเดือนธันวาคมไล่ไปถึงมกราคมตั้งแต่ปี 2016 จนถึงปีปัจจุบันที่เป็นกระแสข่าวรุนแรงที่ปี 2019 นั่นก็แปลได้ว่ามันไม่ได้รับการแก้ปัญหาใดๆมาแล้วมากกว่าสี่ปีขึ้นไปอย่างเป็นน้อย (หรือนานกว่านั้นคือตั้งแต่ปี 2010 ก็ว่าได้ถ้าหากว่าอ่านบทความเก่าของ Bangkok Post) และ ปัญหา PM2.5 นี้เป็นปัญหาที่รู้ล่วงหน้าได้จากการดูประวัติกราฟพวกนี้ เกือบจะสรุปได้เลยว่าปีหน้าก็จะมีอาการแบบเดียวกัน เพราะ ถ้าหากว่าคุณดูจากข่าวแล้วทุกคนจะอ้างฟ้าอ้างดิน ความกดอากาศและธรรมชาติกันเสียหมด โดยเรากำลังมองตัวเองว่า ประชากรในพื้นที่จะกระทำพฤติกรรมเหมือนเดิม ไม่เปลี่ยนแปลงใดๆ แต่เป็นปัญหาของธรรมชาติว่าความกดอากาศดันไม่ให้อากาศไหลฟุ้งออกไปจากโดมเมืองกรุงเทพได้ยังไงอย่างงั้น ! เอาเป็นว่าถ้าหากว่าทุกคนก็คิดแบบนี้เหมือนกัน เราก็ต้องรับสภาพนี้เช่นเดียวกัน และเครื่องฟอกอากาศจะเป็นทางเลือกสำหรับการขังตัวเองอยู่ในพื้นที่กรุงเทพให้ปลอดภัยจากฝุ่นเหล่านี้ได้บ้าง คุณสามารถเข้าไปเลือกซื้อเครื่องฟอกอากาศ Xiaomi ได้จากลิงค์นี้

ผมเคยเกริ่นเอาไว้ในบทความก่อนหน้าแล้วว่าจริงๆแล้ว ก็ไม่ได้แต่เครื่องฟอกอากาศเท่านั้นที่คุณอาจจะใช้เพื่อรับมือกับสภาวการณ์อะไรพวกนี้ มันยังต้องอุปกรณ์ตรวจวัดเพื่อแสดงค่า หรือ คุณอาจจะใช้เครื่องปรับอากาศมาแปลงเป็นตัวกรองฝุ่นก็ได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ถ้าหากว่าคุณค้นหาข้อมูลใน internet ดีๆ อาจจะพบว่าวิธีการทำเครื่องฟอกอากาศแบบทำมือกันมากมายเช่นเดียวกัน แต่ผมขอบอกเอาไว้ก่อนน่ะครับว่า ถ้าหากว่า คุณคิดว่าจะทำ DIY แล้วมันมีอันตรายเหมือนกันหากว่าอุปกรณ์เหล่านั้นไม่ได้ออกแบบมาเพื่อสิ่งนั้นโดยเฉพาะ เช่น ถ้าหากว่าคุณเอาเครื่องดูดอากาศปกติ มาทำเป็นเครื่องดูดอากาศเพื่อดูดอากาศเพื่อให้ไหลผ่าน HEPA Filter ที่มีความหนาแน่นมากเกินไป หรือหนามากเกินไปมันจะทำให้มอเตอร์ของอุปกรณ์พวกนั้นร้อนกว่าปกติ และ มันอาจจะก่อให้เกิดเพลิงไหมได้ จากการใช้งานไม่ตรงวัตถุประสงค์ของอุปกรณ์พวกนั้น เน้นก่อนว่า ถ้าหากว่าคุณเอาพัดลมดูดอากาศ มันออกแบบมาเพื่อดูดอากาศจากภายในอาคารหรือห้องน้ำหรือห้องอะไรสักอย่างแล้วดันอากาศออกไปภายนอก ทั้งนี้ มันก็ไม่ได้ต้องไปต้านแรงลมอะไรมากมายนักเพื่อดันอากาศออก มันทำหน้าที่แค่ดันอากาศร้อนหรือเหม็นออกจากพื้นที่ห้องออกไปก้เท่านั้นเอง มันไม่ได้ออกแบบมาให้ดันอากาศไหลผ่านแผ่น HEPA หรือ Filter อะไรที่เราอยากจะทำเครื่องฟอกอากาศแบบ DIY อะไรนั่นเลยน่ะครับ โดยสรุปก็คือ  DIY เครื่องฟอกอากาศมีความเสี่ยงไฟไหม้อย่างที่บอก เอาเป็นว่าซื้อเครื่องที่เค้าออกแบบและจำหน่ายจริงๆจังๆก็แล้วกันน่ะครับ

เกริ่นมาตั้งนานแล้วปัญหาจริงๆของการใช้โหมด AUTO ในเครื่อง Xiaomi Air Purifier คืออะไร ?

สำหรับ เครื่องฟอกอากาศเสี่ยวหมี่ ทุกรุ่นที่จำหน่ายอยู่ตอนนี้ จะมีปัญหาอยู่อย่างหนึ่งที่คุณอาจจะยังไม่รู้ แม้ว่าคุณใช้เครื่องอยู่แล้วก็ตาม ปัญหานั่นก็คือ เครื่องในระบบ AUTO จะทำงานปรับความแรงด้วยตรรกะที่เข้มข้นน้อยเกินไป เกินกว่าที่จะเราอยากจะได้ เช่น ถ้าหากว่าคุณสังเกตดีๆแล้วเมื่อคุณเปิดโหมด AUTO ให้กับเครื่องฟอกอากาศเสี่ยวหมี่ของคุณ มันจะเริ่มทำงานให้พัดลมแรงขึ้นหากว่า มีระดับ PM2.5 มากกว่า 35 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และ มันจะทำงานให้มากไปอีกถ้าหากว่าเครื่องวัดระดับคุณภาพอากาศที่ติดมากับเครื่องฟอกอากาศนั้นมันขึ้นไปมากกว่าที่ระดับ PM2.5 มากกว่า 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้ เหตุผลที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่าที่ประเทศจีน เค้ากำหนดเหมือนประเทศไทยว่า ค่าเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นค่าที่รับได้สำหรับประชากรคนจีนหรือคนไทยนั่นเอง แต่มันไม่ใช้มาตรานของทางยุโรปและประเทศที่เจริญแล้วกำหนดโดย WHO สำหรับสภาพอากาศที่เหมาะสมสำหรับคุณภาพชีวิตที่ดี ตามภาพด้านล่างนี้เอามาจากเว็ปของ WHO ทีก่ำหนดสภาพ OUTDOOR ของย้ำน่ะครับว่า นอกบ้าน ไม่ใช่ในบ้าน (แน่นอนว่านอกบ้านมันควรจะต้องด้อยกว่าในบ้านหรือเปล่า?) เข้าไปดูรายละเอียดกันจริงจังได้จากลิงค์นี้ไปยังหน้าเว็ป WHO

ภาพแสดงปริมาณ PM2.5 ที่กำหนดโดย WHO ว่าเป็นคุณภาพอากาศที่ดี

ส่วนภาพด้านล่างนี้ผมแสดงให้คุณได้เห็นว่าถ้าหากว่าเรากำหนดมาตราฐานคุณภาพอากาศแบบที่ WHO กำหนด วันที่เกินกว่าค่าพวกนี้ในปี 2018 ที่ผ่านมาคือ 137 วันเรียกได้ว่าเกือบครึ่งหนึ่งของเวลาทั้งหมด แต่ถ้าหากว่าคุณกำหนดมาตราฐานแบบจีนวันที่คุณภาพอากาศเกินกว่าค่าที่กำนหดก็แค่วันเดียวเอง เรียก่วาน้อยเอามากๆเหมือนจะดี ! แต่ว่าคนก็เป็นคนเหมือนกันไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนในโลกก็ต้องการคุณภาพอากาศที่ดีเหมือนกันหมดหรือเปล่าล่ะ อย่างงั้นไหนๆเราจะสร้างสิ่งแวดล้อมคุณภาพอากาศในบ้านกันแล้ว เราก็เล็งกันไประดับที่ WHO กำหนดน่าจะทำได้อยู่แล้วมั้ย

ภาพแสดงปริมาณ PM2.5 ที่แตกต่างกันระหว่างข้อกำหนดของ WHO และ ชาติประเทศอื่นๆ เช่น ไทย จีน และสหรัฐฯ

เห็นหรือเปล่าล่ะครับว่า เค้ากำหนดค่า PM2.5 กันตลอดทั้งปีถ้าหากว่าดีแปลว่า 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรไม่ใช่ 35 หรือ 50 แบบที่คนจีนหรือคนไทยรู้กันแต่อย่างใด เรียกว่าห่างกันเกินไปในความคิดของผม เพราะงั้นแล้ว มันจะดีกว่าหรือเปล่าล่ะครับถ้าหากว่าคุณกำหนดให้เครื่องฟอกอากาศของคุณควรจะควบคุมสภาพค่า PM ให้อยู่ช่วงประมาณ 10 เท่านั้น แน่นอนว่าคุณอาจจะต้องใช้การตั้งค่าแบบพิเศษในเครื่องของ Xiaomi Air Purifier ที่คุณมีอยู่ครับ (สำหรับคนที่ใช้ของยี่ห้ออื่นผมก็ขอแนะนำว่า คุณอาจจะลองสอบถามว่ามันกำหนดค่าอะไรพวกนี้ได้หรือเปล่าน่ะครับ ถ้าหากว่าทำได้แนวคิดก็สามารถทำแบบเดียวกันในบทความนี้ได้เหมือนกันครับ)

จากข้อมูลด้านบนทำให้ผมเองก็อยากจะควบคุมสภาพคุณภาพอากาศโดยเฉพาะค่า PM2.5 นี้ให้มันต่ำเท่าที่จะต่ำได้ ถ้าหากว่าเป็นไปได้ก็จะรักษาระดับเอาไว้ที่ไม่เกิน 10 หรือประมาณนี้เหมือนกับที่ WHO ได้แนะนำเอาไว้นั่นเอง เอาล่ะ เรามาดูว่าเราจะกำหนดวิธีการตั้งค่าด้วยเทคนิคพิเศษกับเครื่องฟอกอากาศเสี่ยวหมี่ได้อย่างไรกันบ้าง

วิธีการตั้งค่าให้เครื่องฟอกอากาศควบคุมค่า PM2.5 ในห้องไม่ให้เกินไปกว่าค่าที่ WHO กำหนด

ที่เครื่องฟอกอากาศ Xiaomi Air Purifier จะมีระบบ Automation ที่เรียกได้ว่ากำหนดการทำงานใดๆของเครื่องฟอกอากาศเพื่อให้ทำงานได้เหมาะสมที่สุด ซึ่งมันดีกว่าระบบโหมด AUTO ของเครื่องฟอกอากาศที่กำหนดเป็้นค่าปกติเอาไว้อย่างแน่นอน โดยแนวคิดแล้ว เราจะตั้งค่าประมาณ่วา ถ้าหากว่าเครื่องฟอกอากาศอ่านค่า PM2.5 ได้มากกว่า 22 แล้วให้ทำการเร่งเครื่องฟอกอากาศให้เป็นการเปิดด้วยระดับการดูดอากาศสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และ ถ้าหากว่าดูดอากาศด้วยเครื่องฟอกอากาศนี้จนระดับค่า PM2.5 ต่ำกว่า 12 แล้วให้กลับเข้าไปสู่โหมดอัตโนมัติ

คุณจะเห็นได้ว่าการตั้งค่าแบบนี้ จะไม่เหมาะกับการตั้งค่าเครื่องฟอกอากาศที่อยู่ที่ห้องนอนสักเท่าไหร่นัก เพราะ ถ้าหากว่าค่ามันสูงขึ้นมาเมื่อไหร่ เครื่องฟอกอากาศมันก็จะทำงานเร่งสุดๆและสีเสียงดังทำให้อาจจะรบกวนการนอนได้ ดังนั้นแล้ว สำหรับห้องนอน ควรจะกำหนดค่าเข้าไปเพิ่มว่า เราจะหลักการนี้เฉพาะเวลากลางวันเท่านั้น เช่น ตั้งแต่ 08:00 น.เช้าถึงหัวค่ำ 19:00 น.ของทุกวันก็พอ

คุณอาจจะสังเกตว่าทำไมผมไม่ตั้งค่าลิมิทบนให้เป็นค่าที่แคบกว่านี้ไปเลยล่ะ ? ด้วยเหตุผลที่ว่าปกติแล้วการอ่านค่า PM2.5 ด้วยเครื่องมันก็ไม่ได้สเถียรแน่นอนและถูกต้องสักเท่าไหร่ ดังนั้นแล้วถือได้ว่าน่าจะเป็นความแกว่งของข้อมูลประมาณหนึ่ง ถ้าหากว่า คุณกำหนดลิมิทบนเพื่อให้เครื่องเข้าสู่โหมดแรงสุดแคบมากๆ เครื่องมันก็จะทำงานสลับไปมากถี่มากเกินไป และผมว่ามันไม่ต้องถี่ขนาดนั้นก็ได้

มาดูภาพหน้าจอกันดีกว่าถ้าหากว่าเราตั้งค่าแล้วมันจะออกมาเป็นอย่างไรกัน ? ผมกำหนดว่า ถ้าหากว่าห้องนอนวัดค่า PM2.5 ได้มากกว่าคา่ 22 ให้ปรับเป็นโหมด Favorite ทันที และ เมื่อค่า PM2.5 น้อยกว่า 15 แล้วให้กลับมาโหมด AUTO ใหม่อีกครั้งหนึ่ง

ภาพแสดงการตั้งค่าสำหรับเครื่อง Xiaomi Air Purifier เพื่อให้ทำงาน AUTO ได้ในช่วงระดับ PM2.5 ที่แคบลงมากว่า Mode AUTO ปกติที่โรงงานจีนตั้งค่าเอาไว้

วิธีการสามารถทำได้โดยการกดที่ปุ่มรูปกล้องด้านล่างนี้

เพิ่มเติมนิดหน่อยว่า ผมมีกำหนดช่วงที่จะให้ Logic นี้ทำงานเฉพาะเวลา 08:00 – 19:00 น. เพื่อไม่ให้ตอนนอนหลับแล้วมันปรับโหมดเอง เพราะ ผมอยากให้มันอยู่โหมด Night Mode เอาไว้นั่นน่ะแหละ ถ้าหากว่ามันดึกแล้วไม่ต้องมาคอยปรับความเร็วขึ้นลงอะไรก็ได้

จริงๆแล้ว คุณสามารถกำหนดความแรงของพัดลมของ Favorite Mode ได้ด้วยตัวเองว่าจะเอาให้มันแรงมากน้อยแค่ไหน แต่ว่ามันมีวิธีการลึกลับนิดหน่อย โดยการกดที่ปุ่มหัวใจค้างเอาไว้ประมาณ 3 วินาที แล้วจะมีระดับให้คุณเลือกว่าอยากให้โหมด Favorite นี้มันพัดแรงมากแค่ไหน

จะมีระดับให้เลือกเหมือนกับภาพด้านล่างนี้น่ะครับ

เอาเป็นว่าถ้าหากว่าคุณคิดว่าการใช้เครื่อง Xiaomi Air Purifier มันเหมาะกับคุณ และ คิดว่ามันสามารถตอบโจทย์ความต้องการของคุณได้แล้วล่ะก็ เราแนะนำให้คุณเลือกดูราคาสินค้าตัวนี้ได้ที่หน้าเว็ปของลาซาด้าก่อน เพราะ มันมีหลายรายจำหน่ายในนั้นตั้งแต่คนที่เป็น Official และคนขายคนอื่นๆน่ะครับ กดดูราคาสินค้าเครื่องฟอกอากาศ Xiaomi Air Purifier ได้ที่นี่

คำค้นหาของคุณที่มาเจอหน้าเว็ปนี้:

  • https://www rackmanagerpro com/xiaomi-air-purifier-auto-mode-setting/
Submit your comment

Please enter your name

Your name is required

Please enter a valid email address

An email address is required

Please enter your message

rackmanagerpro.com © 2024 All Rights Reserved

Rackmanagerpro.com all right reserved 2007 - 2019

Copyright by Rackmanagerpro.com

Content Creted by Rackmanagerpro.com