เมื่อประมาณสัปดาห์ก่อนผมได้อ่านบทความเกี่ยวกับ concept ในการเลือกซื้อสินค้า หรือเลือกที่จะจ่ายอะไรและไม่จ่ายอะไรโดยใช้เวลาเป็นตัว Distribute เงินออกไปซึ่งผมว่า มันก็ฟังดูใช้ได้เลยอยากจะเอามาเล่าให้ฟังเสียหน่อยว่า มันเป็นยังไงกันแน่ กับการที่เลือกจ่ายเงินกับสิ่งของรอบตัวตามเวลาที่เราจะใช้มัน
ปกติแล้ว คนเราจะเลือกที่จะจ่ายเงินเพื่ออะไรนั้น ขึ้นอยู่กับว่า เราอยากจะได้มันมากแค่ไหน แล้ว เราเห็นคุณค่าของมันมากแค่ไหน และในทางกลับกันก็คือ เรามีมุมมองต่อมูลค่าเงินที่เรามีอยู่มากแค่ไหนด้วย เช่น ถ้าหากว่าเราคิดว่า เราจะซื้อรถมาสักคัน เราเอาอะไรเป็นเงื่อนไขว่ามันมีมูลค่ามากแค่ไหน ได้จากความคิดความอ่านของเราเอง เช่น เราต้องการความปลอดภัยมากแค่ไหน เราต้องการภาพลักษณ์ของคนอื่นที่มองมาที่รถเรามากแค่ไหน ต้องการให้รถนั้นแสดงฐานะทางสังคมหรือไม่ หรือ การตลาดของ Brand นั้นๆ ทำให้เรารับรู้ถึงคุณค่าของ Brand ได้มากแค่ไหน (แน่นอนว่าถ้าหากว่า การตลาดไม่ได้ทำอะไรเลย เราก็จะไม่รับรู้ถึงคุณค่าของแบรนด์นั้นเลยแม้แต่น้อย) และ ในทางกลับกัน เราก็จะมองเงินในกระเป๋าว่า เงินจำนวนนั้นเราได้มายากง่ายแค่ไหน และ มันก็จะเอาไปเทียบกับคุณค่าของ “วัตถุ” ที่เราจะได้มาครอบครองขณะที่เรามีชีวิตอยู่ คุ้มกันหรือไม่ หากว่า ดูแล้วคุ้มกว่าหรือประเมินไม่ได้แต่อยากได้ เราก็จะซื้อมัน แค่นี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการในการคิดเลือกที่จะซื้ออะไรและไม่ซื้ออะไรแล้ว
กระบวนการคิดเหล่านี้ มันเป็นการประมวลแบบซับซ้อน และใช้ความรู้สึกเสียเป็นส่วนใหญ่ และ เราก็หาเหตุผลซึ่งทำให้ คนตัดสินใจรุ้สึกว่า การเลือกซื้อหรือไม่ซื้อครั้งนั้นๆดูเหมือนว่ามีเหตุผล (ซึ่งจริงๆแล้วเหตุผลนั้นอาจจะเป็นแค่ข้ออ้างเพื่อให้ฟังดูดี ดูฉลาดเลือกก็ได้เหมือนกัน เหมือนกันเป็นการหลอกตัวเอง โดยที่ตัวเองก็ไม่รู้สึกตัวด้วยซ้ำ) ทำให้ฟังดูแล้ว ดูเหมือนกับว่าการซื้ออะไรและไม่ซื้ออะไรนั้น แทบประเมินออกมาเป็นเหตุและเป็นผลไม่ได้เลยก็ว่าได้
ส่วนเหตุผลในการเลือกพิจารณามูลค่าของที่จะซื้อในแบบ การกระจายตามเวลา นั้นถือได้ว่าเป็น แนวคิดใหม่สำหรับผมมาก แม้ว่าหลายครั้ง เราก็อาจจะคิดแบบนี้อยู่แล้ว แต่เราไม่ได้มองเรื่องของเวลาเป็นหลัก และไม่ได้เคยมีการอธิบายเอาไว้อย่างเป็นวิธีการ ทำให้เมื่อได้อ่านแนวคิดนี้แล้วก็รู้สึกว่า เป็นแนวคิดที่แปลกที่น่าจะต้องเอามาแชร์ให้ฟังกัน
เวลาคือทรัพยากรที่มีอย่างจำกัด ดังนั้นใช้ทุกวินาทีให้คุ้มค่า รวมถึงการซื้อของด้วย การคิดแบบนี้ จะทำให้ เราคิดว่า เราใช้เวลากับกิจกรรมอะไรมากที่สุด โดยพิจารณาเป็นเปอร์เซนต์ของเวลาที่เรารับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทางโลกทั้งรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส นั้นก็แปลว่า เวลาที่เราใช้เพื่อการนอนหลับไปแล้วจะไม่ได้เอามาคิดในเรื่องนี้มากนัก จะพิจารณาเฉพาะเวลาตื่นที่มีสตินั่นเอง แล้วดูว่า เราใช้เวลากับกิจกรรมอะไรมาก น้อยรองลงไปเรื่อยๆ แล้ว เราก็เลือกที่จะจ่ายเงินกับสิ่งนั้นๆให้แพงขึ้นได้ เพื่อให้เกิดความสะดวกสบาย ความรู้สึกดี และความรู้สึกคุ้มค่ากับเวลาที่เราได้ใช้สิ่งของเหล่านั้นครับ
ตัวอย่างเช่น ถ้าหากว่าคุณเป็น salesman หรือคนขายของที่ต้องขับรถเพื่อติดต่อลูกค้าเป็นประจำ ทำให้เวลาส่วนใหญ่จะอยู่ในรถเพื่อการเดินทาง และ ส่วนที่เหลืออยู่ สำนักงานของลูกค้า นั้นก็แปลว่า รถคือสิ่งที่ sales จะต้องจ่ายเงินเพื่อทำให้มันคุ้มค่าได้มากที่สุดได้ ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายเพื่อ ทำให้มันนั่งสบาย หรือ การจ่ายเพื่อ ทำให้มันดูดีมีระดับ จากภาพลักษณ์ของสายตาคนอื่น (ไม่ใช่จากตัวเราเอง) ทั้งนี้คุณค่าย่อยเหล่านี้แล้วแต่บุคคลว่า เห็นว่าเรื่องใดสำคัญก่อนหลังมากน้อยได้ไม่เท่านั้น ที่ผมพิมพ์ไว้ก็เป็นแค่คัวอย่างเท่านั้น แต่ประเด็นคือ จะขี้ให้เห็นว่า รถนั้นถูกใช้เยอะ คุณสามารถเลือกที่จะจ่ายเงินกับมันให้มากได้ เป็นต้น
หรือในการกลับกัน ถ้าหากว่าอีกคนเป็นคนที่ทำงานอยู่ office ไม่ได้เดินทางไปไหนมาไหนเลย แม้แต่น้อย หรือเป็นงานที่ทำ online อย่างเดียวไม่ได้ต้องไปเจอผู้เจอคน ทำให้เวลาเกือบทั้งหมดจะอยู่หน้า computer นั้นก็แปลว่า function งานทั้งหมดที่เกี่ยวข้องของคนคนนี้ คือ การใช้งาน computer ก็ทำให้คนคนนี้อาจจะต้องเลือก “จ่าย” เพื่อการนั่งหน้าคอมฯ โดยเลือกเก้าอี้ที่สบายมาก หรือถูกหลักกาลยศาสตร์ที่ดี หรือว่า ต้องมี computer และ internet ที่เร็ว เพื่อทำให้ใช้เวลาได้อย่างประสิทธิ์ภาพก็เป็นไปได้หมด หรือ ในทางตรงกันข้าม คนๆนี้ก็จะไม่ต้องลงทุนเรื่องรถให้มากนัก เพราะ การเดินทางนั้นถือเป็นเรื่องเล็กน้อย เพราะ ใช้เวลาไม่มาก เมื่อเทียบกับที่เค้าคนนี้ก็นั่งหน้าคอมเพื่อทำงานและติดต่อลูกค้ าหรือ email และใช้งาน software นั่นเอง เรียกได้ว่า เวลาเพื่อใช้ในการนั่งในรถ และ เวลาเพื่อการนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ นั้นแตกต่างกันราวฟ้ากับเหวยังไงอย่างงั้น ทำให้ต้องเลือกจ่ายเพื่อ computer และอุปกรณ์ระหว่างที่ทำงานอยู่หน้า computer นั่นเอง