ใช้มือถือถ่ายภาพอาหารให้ดูดี : เทคนิคง่ายๆในการถ่ายมื้ออร่อยของคุณให้ดูหรูอลังการ ราวกับคุณกินหรูทุกวัน

เทคนิคในการใช้กล้องมิอถือถ่ายอาหารเพื่อโพสบน Facebook

ถ้าหากว่าคุณลองสังเกตกันดีๆแล้วล่ะก็ คุณก็จะเห็นว่า ภาพอาหารเป็นภาพที่คนถ่ายเพื่อ post ขึ้น Facebook เยอะพอๆกับภาพของกิจกรรมอื่นๆกันเลยทีเดียว ผมว่ามันก็ไม่ได้เป็นเรื่องแปลกอะไรมากมายนักหรอก เพราะว่า ปกติแล้ว คนเราจะ share ประสบการณ์ หรือ อยากจะบอกสิ่งที่ทำให้ตัวเองมีความสุข หรือประหลาดใจครับ และ อาหารที่ร้านอาหารที่คุณไม่ได้ทานเป็นประจำ หรือ แม้กระทั่งอาหารที่คุณทำเองออกมาได้ความภูมิใจ อาหารจานเด็ดเหล่านั้นก็จะโดนถ่ายภาพ และ โพสเอาขึ้น Facebook เพื่อ share ประสบการณ์ดีๆเหล่านั้นให้กับเพื่อนๆพี่ๆน้องๆกันครับผม

ผมก็เป็นคนนึงที่ถ่ายภาพด้วย iPhone แล้วก็ upload ภาพเหล่านั้นขึ้น Facebook หรือว่าเอาส่งต่อให้กับเพื่อนที่เจอกันใน Whatsapp เพื่อกระตุ้นความอยากอาหารของคุณสนทนาเป็นประจำครับ ทำให้ผมสังเกตว่า จะทำอย่างไรเพื่อให้ได้ภาพอาหาร ออกมาดูดี สวยและยั่วน้ำลายเพื่อนๆใน Facebook และ คนที่คุยด้วยใน Whatsapp ครับ

วันนี้เลยอยากจะเอา TIPS หลายข้อมเกี่ยวกับการถ่ายภาพอาหารด้วยมือถือ iPhone ธรรมดาๆนี่น่ะหละครับ ให้ภาพมันสวยดูดี หรูหรมีชาติตระกูล แม้ว่ามันจะไม่ได้อร่อยเหมือนที่เห็นมากมายอะไรนักก็ตามทีครับผม

เริ่มจากการเอากล้องต่ำกว่าระดับสายตาปกติ : โดยปกติแล้ว คนเราจะเอากล้องถ่ายอาหารจานที่กำลังจะทานจากมุมมองระดับสายตา ทำให้ได้ภาพเหมือนกับที่คนถ่ายเห็นก่อนทางอาหารจานนั้น ซึ่งผมต้องบอกว่า มันทำให้ภาพอาหารนั้นดูธรรมดามาก ! ไม่มีอะไรน่าสนใจเพราะว่า ใครๆก็จะเห็นมุมของอาหารจากมุมนั้นอยู่แล้วครับ และมันก็ทำให้ภาพดูเซ็งสุดๆ จานออกมากลมดิ้ก เห็นอาหารจาก TOP VIEW หรือ ด้านมุมสูง ไร้อารมณ์และความอร่อยสิ้นดี เพราะ ภาพมันไม่ได้ได้กลิ่นหรือว่าเห็นเป็นสามมิติเหมือนกับที่เราเห็นอาหารจานนั้นจริงๆน่ะครับ แนะนำอย่างแรงว่า ให้ลงกล้องต่ำกว่าระดับสายตาลงไปมากๆ อาจจะต่ำเกือบถ่ายขนานอาหารจานนั้นก็ได้ หรือว่าจะสูงขึ้นมาหน่อย แค่เท่านี้ก็จะทำให้ภาพอาหารที่คุณอยากจะถ่ายออกมาดูดีกว่าเดิมมากแล้วล่ะครับ

ถ่ายมันตอนที่เพิ่งยกมาเสริ์ฟ: อาหารจะโดยปกติจะดูที่สุดเท่าที่มันจะดูดีได้ (หากว่าเราไม่ได้ไปตกแต่งอะไรมันเลย) ก็คือ ตอนที่เพิ่งออกจากเตา แต่ว่าเราเข้าครัวไปถ่ายภาพอาหารตอนนั้นไม่ได้หรอกน่ะครับ เพราะงั้นแล้ว คุณจะทำให้อาหารออกมาดูดีสุดก็ได้แค่ตอนที่พนักงานยกมาเสริ์ฟใหม่ๆเท่านั้น แต่ก็ดีพอที่จะทำให้อาหารร้อนก็ดูร้อน ผักชีที่ใส่ก็ไม่ได้แบนราบติดไปกับเนื้ออาหารส่วนอื่น หรือ แม้กระทั่ง มันน่าจะยังร้อนพอที่จะมีไอบ้างก็ เป็นการเพิ่มีรายละเอียดให้กับอาหารจานที่คุณจะถ่ายได้เป็นอย่างดีแล้วล่ะครับ

ถ่ายให้ใกล้เข้าไว้: คุณไม่ต้องถ่ายภาพออกมาให้เหมือนกับที่คุณเห็นหรอกนะครับ ! ไม่ต้องเห็นครบทั้งจานก็ได้เพราะว่า คุณไม่ได้ทำการถ่ายภาพเพื่อบันทึกสารคดีอะไรนะครับ ไม่ต้องครบทุกองค์ประกอบแบบนั้นครับ คุณอาจจะเลือกมุมแค่บางมุมแล้วก็ กด iPhone ให้ focus บนบางสิ่งในจานนั้นๆ เพื่อให้โดดเด่นออกมา แนะนำว่าเลือกบริเวณที่เป็น จุดเด่นของจานอยู่แล้ว เพื่อให้มันเด่นมากๆครับ เช่น ถ้าหากว่าถ่ายไอติม Swensen ก็เน้นถ่ายยอดๆวิฟครีมติด Cherry สีสดๆเข้าไปด้วย และแก้วก็ต้องเย็นๆน่ะครับ (แต่ถ้าหากว่าคุณไปสาขาที่คนกินเยอะแก้วเค้าก็จะไม่ได้แช่เย็นน่ะครับ ก็แนะนำว่าอย่าไปกินสาขานั้นก็แล้วกันนะครับ เพราะยังไงซะคุณก็จะถ่ายไอติมออกมาดูไม่เย็นสะใจสักเท่าไหร่ครับ) การถ่ายให้ใกล้ด้วย iPhone และแตะไปยังตำแหน่งที่คุณต้องการ focus จะทำให้บริเวณที่ไกลออกมาไปเบลอครับ เป็นการเน้นภาพให้ชัดเจนกว่าเดิมสื่อสารเข้าไปในภาพว่าคุณจะเน้นอะไร อาการแบบว่าหน้าชัดหลังเบลอน่ะครับ เพราะเราอยากจะถ่ายอาหารไม่ได้ถ่ายคนที่นั่งตรงข้ามเราสักกะหน่อยเนาะ

หมุนจานอาหารได้เพื่อให้ได้มุมดีที่สุด: ลองคิดดูนะครับ สำหรับ การถ่ายภาพคนด้วยกันเองนี่ คนที่อยู่ในกล้องก็จะยิ่มแอ้บให้เราถ่าย หรือไม่ก็ต้องแอ้คท่าทางให้แบบว่าตัวเองน่ารักดูดีเหมือนสาวไต้หวันเกาหลี อะไรทำนองนั้นน่ะครับ เพื่อให้ได้ภาพของตัวเองออกมาดูดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ นอกจากนี้เจ้าตัว (คนที่อยู่ในภาพ) ก็จะขอดู และถ้าหากว่าคุณถ่ายออกมาแย่ เค้าก็จะบอกให้ลบถ่ายใหม่อีกต่างหาก ! โอ้วอะไรกันขนาดนั้น แต่ สำหรับอาหารไม่ว่าจะเป็น หอยทอด สเต็กจานร้อน ของคุณ มันแอ็คท่าเองไม่เป็นนะครับ ! ดังนั้น เรื่องการแอ็คท่าหรือการจัดมุมจะเป็นหน้าที่ของคนถ่ายภาพเองครับ แนะนำว่า ใหุ้คุณหมุนๆจานดูว่ามันมีมุมไหนสวยสุดๆ (คุณหมุนดูก็รู้แล้วน่ะครับ ว่ามันจะมีมุมสวยของมัน) แนวโน้ม คือ มุมที่สวยที่สุดก็คือมุมเดียวกับกุ้ก หรือคนจัดจานในครัวนั่นเองล่ะครับ แค่ว่าตอนยกมา พนักงานก็จะพยายามวางมุมให้มันดูสวยที่สุดอยู่แล้ว หรือจะวางมุมที่มันทำให้คุณทานได้สะดวกที่สุดครับ (ซึ่งอาจจะไม่ได้เป็นมุมที่สวยที่สุดก็ได้) เพราะงั้นแล้วหมุนๆดูครับว่ามันมีมุมไหนสวยมั้ยแล้วก็ถ่ายจากมุมนั้นเลยน่ะครับ

นอกจากหมุนแล้วลองจัดเรียงอาหารเล็กน้อยเพื่อให้ได้ภาพที่ดูดีขึ้น: ไม่ได้มีกฏอะไรน่ะครับว่า ถ้าหากว่าคุณได้อาหารจานร้อนของคุณมาแล้ว คุณจะเอาส้อมไปดันๆ  (เหมือนกับดันทรงน่ะหละครับ) ย้ายนั้นย้ายนี้เพื่อให้เป็นการกระชับพื้นที่หรือเน้นส่วนเว้าโค้งของอาหาร หรือเรียงให้ดูดีมีองค์ประกอบของภาพที่ดีขึ้น ถ้าหากว่าเสต๊กวางตรงเกินไป ก็เขี่ยให้มันหันไปหน่อยก็ได้ หรือถ้าหากว่าผักมันตก ก็เขี่ยมันให้เงยหน้าบ้างก้ได้ครับไม่ผิดอะไรสักกะหน่อยจริงมั้ยล่ะครับ

เอียงกล้องเล็กน้อย อย่าให้อะไรๆมันตรงกันไปหมด: ก็เหมือนกับภาพคนน่ะหละครับ คุณไม่ได้ถ่ายคนปกติให้เหมือนกับภาพถ่ายสองนิ้วเพื่อเอาไปปะพาสปอร์ตนี่หน่า ฉันใดก็ฉันนั้นครับ คุณไม่ได้ถ่ายภาพอาหารเพื่อเอาไปทำหนังสือสูตรอาหาร (แบบโบราณด้วย เพราะว่าเดี๋ยวนี้ หนังสืออาหารถ่ายภาพออกมาดูดีอย่างแรง ! ) แนะนำว่าให้คุณเอียงกล้องสักเล็กน้อย ไม่ว่าจะเป็นแนวตั้งหรือแนวนอนก็แล้วแต่แต่เอียงกล้องเล็กๆน้อยๆ มันก็จะเป็นการ upgrade ภาพอาหารที่คุณจะเอาไปปะไว้ Facebook ได้เป็นอย่างดีเลยล่ะครับ

ไม่ต้องเปิด Flash !: ขอร้องเลยล่ะครับ การเปิด Flash นี่ต้องเป็นทางเลือกสุดท้่ายจริงๆ เพราะ ยังไงซะเมื่อคุณเปิด Flash ถ่ายภาพอาหารยังไงมันก็จะไม่สวยและ มันจะดูสวยไม่ได้เลยด้วยกล้องมือถือแบบนี้ แนะนำว่า off ได้ก็ off ไปเลยล่ะครับ หรือถ้าหากว่าร้านนั้นมันมืดจัดๆ ก็ไม่ต้องหวังหรอกน่ะครับว่า จะถ่ายภาพอาหารมมื้อค่ำของคุณออกมาสวยได้ครับ

ผมว่าการถ่ายภาพอาหารด้วย iPhone หรือมือถือรุ่นใดๆ ก็น่าจะเหมือนๆกันน่ะครับ หลักการที่ผมสังเกต ความแตกต่างระหว่าง ภาพอาหารของเพื่อนๆทั้งหมด ทั้งที่ดูดีและดูไม่น่ากินเอาซะเลย มันก็ต่างกันด้วยเหตุผลต่างๆที่ผม list เป็นข้อๆเอาไว้แล้วด้านบนน่ะครับ ยังไงถ้าหากว่าอ่านทั้งหมดแล้ว ก็ลองทำลองถ่ายดูแล้วกันกลับมา post ภาพอาหารที่คุณถ่ายเอาไว้เป็น link ไว้ที่ comment นี้ก็ได้น่ะครับ เพราะอยากจะเห็นเหมือนกันว่า ถ้าหากว่าทำเหมือนกับผมแล้ว ภาพอาหารของคุณนั้นจะดูดีขึ้นกว่าเดิมมากน้อยแค่ไหนกัน ลองกันเอาเองแล้วกันน้อ ..

คำค้นหาของคุณที่มาเจอหน้าเว็ปนี้:

  • App ถ่ายรูปอาหาร
  • ถ่ายภาพอาหาร
  • app ถ่ายภาพอาหาร
  • แอพถ่ายรูปอาหาร

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *