ทำไม GETFIN ถึงเลิกกิจการกันนะ ? 

หากคุณมีโอกาสได้เข้ามาอยู่กรุงเทพประมาณปี 2564 คุณจะเห็นโฆษณาบิลบอร์ดแปะประกาศ และโฆษณา LED ฉายหนังเกี่ยวกับการทำตลาดรูปแบบใหม่ของ GETFIN ทำให้ทุกคนคาดหวังว่า โครงการหรือธุรกิจนี้ มันน่าจะต้องเจ๋งเอามากๆ มีคนทุ่มงบสำหรับการโฆษณามากมายถึงเพียงนี้ และ มีการรับรู้ในวงกว้างเอามากๆ (แค่ชั่วคราวเท่านั้น) คนรับรู้ถือว่าเป็นการทำ ประชาสัมพันธ์ ที่ดีระดับเทพทีเดียวแหละ สำหรับการโฆษณาด้วยงบหนาขนาดนี้ แต่เดี๋ยวก่อน เมื่อเวลาผ่านไปไม่ถึงปี เราก็พบว่า GETFIN เลิกกิจการไปแล้วอย่างถาวร แบบไม่ได้บอกกล่าวอะไร ไม่แม้กระทั่งออกข่าวหรือประกาศไว้ที่หน้าเว็บตัวเองแม้แต่น้อย ที่บอกก็แค่ประกาศ ที่หน้า Facebook ของ GETFIN เองเท่านั้น และ เป็นโพสสุดท้ายก่อนที่ไร้การเคลื่อนไหวใดๆทางการตลาดอีกในที่สุด  เรามาลองวิเคราะห์กันดีหน่อยมั้ยว่า ทำไมโครงการ หรือ ธุรกิจประเภท GETFIN แบบนี้ถึงไปไม่รอดในประเทศไทย หรือ…

ธุรกิจที่ออกแบบแล้วมีแต่ชนะกับชนะ มันเป็นยังไงกัน ?

ตอนที่เราทำการออกแบบธุรกิจใหม่ หรือออกแบบโมเดลทางธุรกิจใหม่ขึ้นมา เราจะมีโอกาสที่จะปรับมุม ปรับทิศ และวิธีการได้ต่างๆนานาได้ดั่งใจ เท่าที่โอกาสตลาดจะรองรับได้ ซึ่งผมมีแนวคิดที่เคยได้ยินได้ฟังมาว่า ถ้าหากว่าหากว่าคุณมีโอกาสได้ออกแบบธุรกิจใหม่แล้วล่ะก็ คุณอาจจะประเมินความเจ๋ง ความได้เปรียบของธุรกิจได้จากมุมมอง 7 ประการนี้ได้ ถ้าหากว่ามันเจ๋งสุดขั้วและมีตลาดรองรับ มันจะเป็นสุดยอดโมเดลธุรกิจในโลกเลยก็ว่าได้ ลองมาดูกันแล้วกันนะครับว่า มุมมองวิเคราะห์ความได้เปรียบของโมเดลธุรกิจที่ว่ามันมีอะไรให้มองได้บ้าง ธุรกิจที่สร้างใหม่มาเมื่อมีลูกค้าแล้วเปิดต้นทุนในการเปลี่ยนไปใช้บริการของคนอื่นเยอะแยะแค่ไหนกัน เราเรียกสิ่งนี้ว่า switching cost ครับ มันก็คือ ต้นทุนต้นแรง หรือแรงงาน ความโหดเดือด อะไรก็สุดแล้วแต่ที่มองและพิจารณาได้ว่ามันเป็นความลำบากตรากตรำของลูกค้าของคุณจะที่คิดจะเปลี่ยนไปใช้สินค้าหรือบริการของคนอื่น ถ้าหากว่า มันมีมากแสดงว่า ธุรกิจของคุณมันดูดลูกค้าเอาไว้ได้ดีทีเดียว แต่ในทางกลับกัน ถ้าหากว่าลูกค้าของคุณอยากจะเปลี่ยนจ้าวแล้ว มันไม่ได้ต้นทุนความลำบากอะไรกับลูกค้าของคุณเลยแล้วล่ะก็ ธุรกิจนั้นมีโอกาสโดยคนแย่งลูกค้าได้ง่ายเกินไปแล้วล่ะครับ ตัวอย่างของ switching cost เช่น ถ้าหากว่าคุณขาย program จัดการเงินเดือน…

บันทึกเรื่อง business model canvas

Business Canvas Model นั้นเป็นเรื่องเก่าเอามาเล่าใหม่ เพื่อทำให้มีภาพความคิดให้ครบทุกด้าน แล้วกลับมามองดูว่า business ที่จะสร้างขึ้นมานั้น ดูแล้วน่าจะมีความเป็นไปได้หรือไม่ และจะต้องในกิจกรรมหรือทรัพยากรอะไรบ้าง เพื่อทำให้มันดำรงอยู่ได้ สำหรับเนื้อความนี้ ผมเองก็อ่านเนื้อหามาจาก website อื่นๆ ที่มีการพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้เอาไว้แล้ว แต่ว่าผมเอามาย่อความตามความเข้าใจ เพื่อจะเอามาใช้งานในการ “คิดให้ครบ” (ในระดับหนึ่ง) ในการออกแบบธุรกิจใหม่ๆ