การเลือกเพศให้กับร้านค้า e-commerce:ร้านมีเพศด้วยเหรอ?

แย่(หรือดีอันนี้ไม่แน่ใจ)หน่อยที่ภาษาไทยนั้นมีคำที่บ่งบอกถึงเพศว่า ประโยคที่พิมพ์หรือว่าพูดออกมานั้น คนพูดหรือพิมพ์สื่อความนั้นเป็นคนเพศไหน เช่น ถ้าหากว่าคนที่พูดหรือพิมพ์ว่า ครับ ครับผม หรือผม ก็จะรู้ว่าเป็นเพศชาย หรือพิมพ์ว่า ค้ะ ค่ะ ดิฉัน เดี้ยน (กระแดะไปนิด) ก็จะเป็นเพศหญิง และก็มีอีกหลายคือที่ทั้งสองเพศสามารถที่จะพูดหรือพิมพ์ออกมาได้ โดยที่รู้ด้วยว่าคนที่พูดหรือพิมพ์นั้นเป็นเพศอะไรเป็นฐานกันแน่ เช่น คำว่า จ้ะ จ๊ะ นะจ้ะ เป็นต้น (แหม วันนี้พิมพ์เนื้อความเหมือนกะสอนภาษาไทยเด็กอนุบาลไปหน่อยเหรอป่าวน่ะครับ) และสำหรับร้านค้าจะต้องมีการติอต่อระหว่างกัน โดยการ email หรือเป็นระบบ email template ที่มีการตอบโต้อัตโนมัติ เมื่อมีการสั่งซื้อสินค้าหรือมีการสมัคร register เพื่อเป็นลูกค้าครับ ก็จะเกิดคำถามว่า ร้านหรือตัวแทนของ email นั้นน่าจะเป็นเพศอะไรกันแน่…

สินค้าอะไรที่เหมาะสมสำหรับการขาย online ?(ขายสินค้าอะไร online ดี และเปิดร้าน online ที่ไหน?)

คนที่จะทำหน้าร้าน online นั้นถ้าหากว่าไม่ได้มี product เป็นของตัวเองแล้วคำถามแรกๆที่เกิดในหัวก็คือ จะเอาอะไรมาขาย หรือ แปลอีกความหมายว่า "อะไรล่ะที่คนจะซื้อกัน online" ผมแตกภาพออกมาให้เกิดความเข้าใจได้ไม่ยากเป็นข้อๆได้ดังต่อไปนี้เลยน่ะครับ – ของที่หาซื้อได้ลำบากครับ เพราะอย่างที่อเมริกาการซื้อผ่าน internet จะไม่ต้องเสีย vat. เพื่อเข้าไปอีก เพราะเป็นการซื้อส่งต่างรัฐ จะได้ราคาที่ดีกว่า การได้ราคาดีกว่านั้น เพราะข้อมูลด้วยอีกส่วนหนึ่งข้อมูลที่อยู่ตรงหน้าถ้าค้นหาผ่าน Google แล้วจะได้ของที่ราคาที่ค่อนช้างต่ำเพราะถือว่าเป็นการค้นหาร้านค้ามากกว่าหนึ่งร้านเพื่อทำการเปรียบเทียบทันทีที่หน้าคอมพิวเตอร์ (internet) – นอกจากหาซื้อยากแล้ว ยังมีอีกปัจจัยในทางตรงข้ามคือ ของนั้นมี ดาษดื่นทั่วไปก็ได้ แต่ว่า ตีกันด้วยราคาเป็นตลาดแดงเดือด แม้ว่าจะบวก shipping เข้าแล้วก็ยังราคาดีกว่าอยู่ดี – ของนั้นต้องไม่มีความต้องการใช้ในทันที  เรียกได้ว่าเป็นของไม่จำเป็น ณ เวลานั้นๆ…