ออกแบบกระบวนการแบบนี้:ทายผลบอลเมื่อไหร่จะได้รู้สักทีว่าใครจะได้เป็นคนที่ถูกรางวัลกันล่ะครับ !

ไม่นานมานี้เราก็ผ่านช่วงเป็น World Cup fever กันไปแล้ว และแต่ละที่ก็มี campaign เพื่อให้ส่ง postcard เพื่อทายผลบอล แต่ป่านนี้ก็ยังไม่ได้ประกาศผลแต่อย่างใด ไม่รู้ว่ามันจะต้องรอนานแค่ไหน (ผมไม่ได้รออะไรหรอกครับ แต่ว่าผม่วาคนอื่นๆก็เยอะคนที่เค้ารอๆผลกันอยู่ครับ) ที่ช้ามากๆก็ไม่ได้เป็นเพราะเหตุผลอะไรที่สลับซับซ้อนมากสักเท่าไหร่  เพราะ จดหมายแต่ละใบนั้นถูกส่งเข้าไปกองรวมกัน โดยจะต้องให้คนทำการแยกแยะว่า postcard ทำนายผลบอลอันนั้น มันทำนายประเทศใดเป็นประเทศที่ชนะเลิศครับ วิธีการก็ไม่ยาก เป็นไปตามที่คนเราจะคิดออกก็คือ เมื่อได้ postcard มาเราก็หยิบ postcard แผ่นนั้นๆขึ้นมา แล้วก็หาดูว่าคนนั้นพิมพ์หรือเขียนอะไรไว้บนนั้นครับ อ่าน และแยกไปไว้ตามกอง ถ้าหากว่าเป็น “สเปน” ที่เป็นประเทศที่เป็นที่หนึ่งของการแข่งขันแล้วล่ะก็ ก็จะได้อยู่ในกองที่จะได้เข้าไปจับรางวัลกันอีกครั้ง ต่อไป ส่วนที่ทำนายผลเป็นประเทศอื่นๆ ก็เอาไปกองทิ้งรวมกันโดยจะต้องเอากระดาษเหล่านั้นไปทำการ recycle ต่อไป

กระดาษทั้งหมดหรือ postcard ที่ส่งเข้าเป็นมีเป็นปริมาณล้านใบหรือมากกว่านั้นมาก เพราะ ผมฟังข่าวแล้วเค้าบอกว่ารายได้จากการขาย post card เพื่อทำนายผลบอลนั้นมีมูลค่ายอดรวมที่สูงมากครับ แน่นอนว่า ถ้าหากว่ากระบวนการเป็นไปอย่างที่ผมเล่าให้ฟังจะต้องใช้แรงงานคนมากเท่าไหร่เพื่อทำการ อ่าน แยกแยะเพื่อให้ได้กองที่เป็น Spain แล้วเอาไปทำการจับรางวัลอีกครั้ง

กระบวนการนี้เป็นวิธีการที่ … สร้างงานให้กับน้องๆเยาวชน และคนว่างงานทั้งหลายเพื่อให้มีงานทำ (แยกขยะกระดาษ postcard ) แล้ว น่าจะประเมินปริมาณจำนวนแผ่น Post card ที่ส่งมาบอกว่า ทำนายผลเป็นสเปนว่ามีจำนวนทั้งหมดเท่าไหร่ (หรือจะทำให้เยอะกว่านั้นก็คือ ทำเป็น stats ไปเลยว่า คนส่งทายผลบอลแต่ละประเทศเท่าไหร่  .. ) ฟังดูเป็นเรื่องดีแท้ครับ ทุกคนมีเงิน ทุกคนมีงานทำ มีการกระจายรายได้เพื่อว่าจ้างแรงงานว่างงานเหล่านี้มาทำ part time กัน

แต่ก็อีกถ้าหากว่าผู้ที่จัด campaign นี้ไม่ได้ต้องการเสียเงินเพื่อสร้างงาน ไม่ได้ต้องการรู้ว่า มีคนส่งเพื่อทายผลแต่ละประเทศเป็นปริมาณเท่าไหร่ แล้วล่ะก็ กระบวนการดังกล่าวถือได้ว่าเป็น “ความสูญเสียอย่างยิ่งยวด” ครับ ลองคิดดูแล้วกันน่ะครับ ถ้าหากว่าเราต้องการที่จะจับรางวัลแค่ทั้งหมด 10 รางวัลและให้รางวัลเฉพาะคนที่เลือกประเทศสเปนมาเท่านั้นแล้วล่ะก็  .. จะมีวิธีการออกแบบกระบวนการทำงานแบบอื่นเพื่อให้ได้ผลนี้เหมือนกัน แค่ว่าภาพลักษณ์อาจจะดูไม่ดีเท่านั้นเอง ไม่ได้มีรูปกองขยะ post card ให้เห็นว่าคนที่ทายสเปนมีกี่มากน้อยกัน

วิธีการที่น่าจะทำก็คือ ถ้าหากว่าแผ่น post card ทั้งหมดมีการปนกันแล้ว (มันก็มีอีกวิธีที่แยกไว้แต่แรกเลยซึ่งก็ทำได้เช่นเดียวกัน เป็น concept เดียวกับการแยกประเภทขยะ จะทำให้ไม่มี work load ที่โหดร้าย ณ node การทำงานที่เดียวกันแบบรวบยอด) เมื่อมันปนกันหมดแล้ว เราก็ทำการจับรางวัลมันขึ้นมาเลยน่ะครับ ถ้าหากว่าจับแล้วบอกว่า มันไม่ได้เป็นสเปน ก็ให้จับต่อไปจนกว่าจะเป็นสเปน และคนๆนั้นก็จะได้รางวัล ก็เท่านั้นเองครับ จะสังเกตได้ว่าวิธีการนี้ จะลด word load ในการแยกไปทั้งหมด เพราะว่า เราต้องการคนที่เลือกประเทศสเปนทั้งหมด 10 คนเท่านั้น ซึ่งกระบวนการทั้งหมดจะไม่เกิน 5 นาที (ถ้าหากว่าหยิบอ้อยอิ่ง และ ประกาศชื่อแบบอ้อยอิ่งด้วยเช่นเดียวกัน)

โดยรวมแล้ว ถ้าหากว่าเราต้องการออกแบบกระบวนการใดๆ ลองนึกๆดูเสียหน่อยว่า ข้อมูลใดๆที่เราต้องการ หรือผลใดที่เราต้องการให้เกิดการบรรลุ ข้อมูลที่มากกว่านั้นมีความจำเป็นหรือไม่ แล้วลองดูว่าจะมีวิธีการลดงานได้อีกหรือไม่ครับ จะได้ไม่เกิดงานที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ให้คุณๆได้ทำกันครับผม

Submit your comment

Please enter your name

Your name is required

Please enter a valid email address

An email address is required

Please enter your message

rackmanagerpro.com © 2024 All Rights Reserved

Rackmanagerpro.com all right reserved 2007 - 2019

Copyright by Rackmanagerpro.com

Content Creted by Rackmanagerpro.com