คิดลบและคิดบวก ฝึกคิดสลับไปมาเพื่อให้ได้ภาพกว้างขึ้นและการตัดสินใจที่ฉลาดกว่าเดิม

Optimistics
หลายคนอาจจะเคยได้ยินว่า “ทำไมคุณเป็นคิดลบแบบนี้?” หรือไม่ก็ “ทำไมคุณเป็นคนมองโลกในแง่ดีเกินไป” ซึ่งทั้งสองกรณีที่ได้ยินบ่อยๆจะเป็นลักษณะของคำตำหนิจากคนอื่นที่มองการคิดผูกติดไว้กับคน ซึ่งแท้ที่จริงแล้วผมอยากจะบอกว่า คนเราจะคิดลบหรือคิดบวกได้นั้นมันมีเหตุผลหลักจากประสบการณ์ หรือ สิ่งที่โดนปลูกฝังหล่อหลอมมุมมองความคิดของคนคนนั้นออกมา ถ้าหากว่าคุณไม่ได้เจอโกงมาก่อน คุณก็จะคิดว่าคนอื่นน่าจะมีไม่โกงคุณ แต่ในทางกลับกันถ้าหากว่าคุณเจอโกงมาก่อน คุณก็จะมีแนวโน้มเฝ้าระวังว่าคนอื่นจะมาโกงคุณในเรื่องเดียวกันนั้นได้ ทั้งๆที่คนสองคนที่คิดสองแบบ เจอกับสถานการณ์ที่อยู่ตรงหน้าเหมือนกันทุกกระเบียดนิ้วก็ตามที

แต่อย่างไรก็ดี วิธีการที่ดีทีสุด สำหรับการคิดบวกและคิดลบนั้น มุมมองที่คุณเองต้องเข้าใจเสียใหม่ ซึ่งผมก็เพิ่งเข้าใจได้ไม่นานนี้ว่า เราสามารถเลือกโหมดการคิดเพื่อเห็นสถานการณ์ และ ปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ทั้งการคิดบวกและคิดลบ ให้เหมาะสมกับความต้องการ หรือ เป้าหมายของกิจกรรมนั้นได้

ผมต้องบอกแบบนี้ดีกว่า ฐานความคิดของผมจะเป็นคนคิดบวก และจะมองคนที่คิดลบ หรือ คิดระแวดระวังไปหมดว่าเป็นเรื่องที่น่าเบื่อไร้สาระ หาเรื่องหาราวที่มีประโยชน์กว่านี้ทำไม่ได้แล้วหรือไร ถึงได้มองโลกตันไปซะทั้งหมดอย่างงั้น ซึ่งผมต้องบอกคนที่มองโลกในแง่ดีเกือบตลอดเวลาว่า การมองอย่างงั้นทั้งหมดไม่น่าจะถูกต้องเสียทีเดียว แต่ สิ่งทีน่าจะต้องปรับมุมมองในเรื่องเดียวกันระหว่างเรื่องแนวคิดลบ และ ความคิดบวก เราเป็นคนเลือกเอง เพื่อเอาประโยชน์ออกมาได้มากที่สุดได้ครับ

แผนกในองค์กรจะโดนแบ่งหน้ากันเพื่อให้คนคิดและดำเนินการให้เหมาะสมกับหน้าที่นั้นๆได้ไม่ยาก โดยเราเอาคนที่มีความคิดลบ และความคิดเชิงบวกไร้ขอบเขตมาทำงานที่ไม่เหมือนกันได้ เช่น ถ้าหากว่าเรารู้ว่างานอะไรก็ตามที่จำเป็นต้องต้องการความคิดไร้ขอบเขต ความคิดที่จะเรียกว่าเป็น “CAN DO THINKING” ไม่ว่าจะเป็นงานพัฒนาสินค้า หรืองานทดสอบ และ งานการตลาดแบบที่ไม่ต้องยุ่งกับเรื่องเงินๆทองมากมายอะไรนัก แนวคิดบวก ว่าจะทำได้แน่นอน จะออกแบบสร้างสรรค์สิ่งใหม่ออกมาได้แน่ๆ โดยไม่กลัวความผิดพลาด หรือ ชินกับความผิดพลาดแล้วนั้น ถือได้ว่าเป็นบุคคล และ แนวคิดที่จำเป็นสำหรับงานประเภทนี้ นั้นก็คือ ถ้าหากว่าคนที่อยู่ในแผนกหรือคนที่จะทำหน้าที่นี้นั้นเป็น “คนคิดบวก” แล้วล่ะก็เค้าคนนั้นก็จะผลิตผลงานออกมาได้มาก และ ให้ผลดีกว่าคนที่คิดลบทำงานในหน้าทีเดียวกันนี้

ส่วนสำหรับแผนกหรือหน้าที่ในองค์กรที่จำเป็นต้องการคนคิดลบ มองโลกในแง่ร้ายและเฝ้าระวังเรื่องราวต่างๆ มองโลก และคนที่ติดต่อในทางร้ายไว้ก่อน นั้นกลับเป็นเรื่องดี สำหรับหน้าที่ใดๆที่จำเป็นต้องดิวงานกับเรื่องเงินทอง หรือ การตรวจสอบให้คนทำตามหลักเกณฑ์หรือกฏเกณฑ์ที่ได้มีการกำหนดเอาไว้แล้ว เป็นคนที่กำกับเรื่องราวต่างๆให้เดินเรื่องไปอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะเรื่องของการเงิน และ การดิวงานกับต่างประเทศ (ในกรณีที่เป็นลูกค้าใหม่หรือคนทีไม่เคยติดต่อสื่อสารประสานงานกัน) ความคิดเชิงป้องกันจะเป็นประโยชน์ยวดยิ่ง ดีกว่าคนที่คิดบวกจะมาดำเนินการ เพราะ จะมีความระวังตัวหรือแนวคิดเชิงป้องกันตัวเองน้อยกว่านั่นเอง

ดังนั้นแล้วถ้าหากว่าอ่านสองย่อหน้าที่ผ่านมา ผมกำลังจะบอกแค่ว่า แค่หน้าที่ขององค์กรที่แตกต่างกันทำให้คนที่เหมาะสมในการเข้ารับตำแหน่งเพื่อดำเนินการในแผนกหรือฝ่ายนั้นๆก็แตกต่างกันด้วย และถ้าหากอยากจะให้ผลการดำเนินการในแผนกนั้นๆดำเนินการได้ดีแล้ว เราก็ต้องเลือกคนที่เหมาะกับงานไม่ใช่แค่ประสบการณ์ หรือ การศึกษา แต่หมายรวมถึงการเลือกคนที่แนวคิด และวิธีคิดด้วยเช่นเดียวกัน

ดังนั้นแล้วลองย้อนกลับมามองที่ตัวเรา แท้ที่จริงแล้ว function การดำเนินการชีวิต หรือการทำงานในหน้าที่หนึ่งๆ (แน่นอนว่าจะมี function การทำงานที่ย่อยเข้าไปอีก) บางงานจำเป็นต้องใช้แนวคิดเชิงสร้างสรรค์คิดบวก และ ไม่กลัวความผิดพลาดเพื่อทำให้เกิดผลของกิจกรรมนั้นๆ แต่ก็มีกลุ่มงานหรือ จังหวะที่ต้องตัดสินใจอีกประเภทหนึ่งที่แนวคิดเชิงลบ และ การมองโลกในแง่ร้ายจะเป็นภูมิคุ้มกันปัญหาที่อาจจะเกิดตาม ทำให้เห็นภาพและคิดเผื่อไว้สำหรับเหตุการณ์เลวร้ายนั้นๆได้ก่อนล่วงหน้า (แต่ว่าเราจะไม่สามารถคิดได้ทุก outcome ล่วงหน้าถ้าหากว่าจะคิดทั้งหมดทุกกรณีจะต้องว่างมากจริงๆสำหรับเหตุการณ์ที่ไม่ได้เป็นผลลัพธ์ที่แน่นอน แต่ก็ฝึกคิดไว้ ได้ประโยชน์เชิงการคิดคาดการณ์เหลาสมองเท่านั้นก็ได้ อย่างว่าล่ะครับสำหรับคนที่มีเวลาเยอะหรือว่าเรื่องนั้น มันน่าจะเป็นเรื่องใหญ่จริงๆ) ทำให้เราต้องมองตัวเราเหมือนกันน่ะครับว่า การคิดเชิงบวกและลบ น่าจะต้องปรับเปลี่ยนได้ ในเรื่องใดๆเมื่อต้องการ โดยจะเริ่มพิจารณาเสียก่อนว่าเป็นงานหรือแนวคิดการตัดสินใจ ที่เกี่ยวกับเรื่องเชิงไหน ประเมินสั้นๆเสียหน่อยว่า ความคิดบวก หรือ ความคิดลบ น่าจะเป็นความคิดหลัก สำหรับการตัดสินใจ หรือ ดำเนินการในเรื่องนั้นๆ แล้วจึงออกแรงคิดอย่างงั้นจริงจัง และเสนอความคิดเห็นในแนวทางบวกหรือลบของตนเอง   เมื่อคิดได้อย่างงี้แน่นอนว่าถ้าหากว่าเป็นเรื่องใหญ่หน่อยจะต้องมีอีกฝ่ายหนึ่งที่จำเป็น (จะโผล่ออกมาเอง) ออกแนวคิดที่ค้านกับความคิดคุณ ไม่ว่าคุณจะเป็นคิดบวกหรือคิดลบในเรื่องนั้นๆ ซึ่งผมกำลังจะบอกว่า “มันเป็นเรือ่งดี” เพราะ มุมมองต่อเรื่องหนึ่งๆ คุณต้องเชื่ออย่างงั้นสนิทใจเสียก่อน เพื่อให้ได้ข้อมูลไหลออกมา มีความคิดที่เกี่ยวข้องไหลออกมา โดยไม่โดนความลังเลใจ ในความคิดหรือแนวคิดปิดกั้น อย่างน้อยที่สุดบอกออกมาที่ประชุมเพื่อให้คนอื่นได้รู้ หรือ note เอาไว้ได้ก่อนเผื่อว่าจะมี high light อะไรเจ๋งๆ จะได้จับและเก็์บเนื้อความหรือประเด็นอันนั้นเอาไว้ได้ครับ

เอาเป็นว่าทางที่ดี คุณต้องปรับความเข้าใจก่อนว่า การคิดลบ ไม่ได้แย่ตลอดไป (คนที่คิดลบและบอกคนอื่นออกมานั้น ดูน่ารำคาญก็จริงแต่ว่ามันเป็นเรื่องจำเป็นต้องมี และ คนแบบนี้จำเป็นต้องมีเช่นเดียวกันเพื่อให้เห็นภาพได้รอบทิศทาง เพราะมันมีประโยชน์ มันจะเป็นมุมมอง ที่คนทีคิดในแง่ดีตลอดเวลาจะคิดไม่ออก และมองไม่เห็นภาพจากมุมมองดังกล่าวได้ง่ายๆ ) การคิดดีมากๆทำให้เกิดช่องโหว่ในเชิงป้องกัน หรือเปิดโอกาสในการโจมตี หรือ รูรั่วทางความคิดบางอย่างได้ โดยที่จะมองไม่เห็นแม้แต่น้อย การคุยกันในเชิงสร้างสรรค์ ของแนวคิดบวกและลบกลับกลายเป็นสิ่งจำเป็นและการคุยกันนั้นถ้าหากว่าทุกคนเข้าใจว่า จะต้องมีการปะทะทางความคิด และ เข้าใจได้เหมือนกับเนื้อความทีผมบอกอยู่นี้ ว่ามัน เป็นการปิดช่องโหว่ และ เปิดโอกาสหรือหาโอกาส ได้พร้อมๆกันทั้งทางความคิดเชิงบวกและลบ แล้วล่ะก็คุณจะเห็นการประชุม และ แนวทางปะทะทางความคิดเป็นเรื่องดีอย่างแน่นอน และว่างๆก็หัดมองโลก หรือ กิจกรรมหรือการตัดสินใจทั้งสองทาง โดยสมมุติว่าตัวเองเป็นคนคิดบวก และ ตัวเองเป็นคนลบไว้ อาจจะทำให้ภาพอะไรที่กว้างออกไป และ ยังเป็นการฝึก switching แนวคิดไปมาได้ทำให้การคิดคนเดียว สำหรับกรณีที่จำเป็น ก็จะเห็นภาพได้ทั่วกว่าเดิมครับ ลองไปคิดลบๆบวกๆดูแล้วกันน่ะครับ

คำค้นหาของคุณที่มาเจอหน้าเว็ปนี้:

  • คิดลบ
  • คิดบวก คิดลบ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *