ข้อมูลบนเน็ตเชื่อได้อย่างงั้นหรือ?
ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัย หรืออ้างว่าเป็นงานวิจัย โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับอาหาร โรค และการลดน้ำหนัก ที่เห็นในเน็ตจะไม่ได้มีการรองรับว่ามันมีความถูกต้องมากน้อยเพียงใด มันเป็นเพียงแต่การแต่งเรื่องขึ้นมาก็ทำได้ หรือแม้ว่ามันจะเป็นความจริง เราก็แทบไม่รู้หรอกว่ามันเป็นความจริง งานวิจัยใดๆหากว่าเป็นงานวิจัยจริง มันจะมีเหตุผลต่อคนๆหนึ่งได้สองทางด้วยกัน คือ เป็นไปตามที่คนอ่านคิดไว้ หรืออีกกรณี คือ ขัดกับความคิดเห็นของคนอ่านนั้น หากตกกรณีที่งานวิจัยหรือบทความนั้นเหมือนหรือสอดคล้องกับความคิดของคนอ่าน เค้าก็ย่อมมั่นใจกับแนวคิดนั้นมากยิ่งขึ้น โดยสามารถบอกคนอื่นต่อไปได้อีกว่า อืม.. ผมเคยเจอเรื่องนี้จากที่อ่านมา ..(ที่ไหนก็ว่าไป.. ) แล้วก็บอกให้คนอื่นเชื่อหรือทำตาม มากไปกว่านั้นความคิดแบบนั้นก็ส่งผ่านไปหาคนอื่นต่อไปอีกได้ แล้วถ้าหากว่าคุณเป็นคนที่น่าเชื่อถือเข้าไปอีก ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ มันก็จะทำให้เนื้อความที่คุณบอกต่อคนอื่นเค้านั้น ยิ่งดูน่าเชื่อและน่าเป็นไปได้ขึ้นไปมากๆกว่าเดิมเป็นอันมากครับ หรือพิจารณาในทางกลับกัน หากว่าเราได้ยินมาแล้วมันไม่ตรงกับความคิดของคนฟัง คนที่รับข้อมูลจะคิดได้สองทางคือ กลับความเชื่อเดิมแล้วเชื่อสิ่งใหม่ที่ได้ยินได้ฟังได้อ่าน หรืออีกกรณีก็คือ คนๆนั้นไม่เชื่อและพยายามหาข้อมูลเพื่อยืนยันความเชื่อของตนต่อไป แหล่งที่มาของข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือหรือดูน่าเชื่อถือ หรือ .. แทบดูไม่น่าเชื่อถือเอาซะเลย ..ทั้งหลายทั้งปวง…