rackmanagerpro.com

เหตุผลทีว่า ทำไมองค์กร มันต้องเป็นระดับชั้น เป็นหัวหน้าแล้วก็เป็นลูกน้องกัน?

organization-chart
เหตุผลนี่ผมเหมือนว่าจะเคยได้ยินมาก่อนหน้า เกี่ยวกับเรื่องการทดสอบเรื่องของ การปัดความรับผิดชอบ โดยอาศัย หลักการของการตั้งลำดับ เพื่อสั่งการณ์ หรือสั่งงาน หรือถ้าหากว่ามองโดยรวมก็คือ ผังองค์กร โดยถ้าหากว่าสังเกตดีๆ จะเห็นได้ว่า ทุกคนจะมีหน้าที่ ตำแหน่งเฉพาะอะไรบางอย่าง และ ที่สำคัญที่สุดที่ผังองค์กรจะแสดงเอาไว้ก็คือ ความเป็นหัวหน้า ลูกน้อง ปะเอาไว้หลาที่ข้างฝาของห้องที่มีพนักงานาเหล่านั้นทำงานอยู่

การที่ต้องมีการกำหนดความเป็นหัวหน้าลูกน้อง นอกจากจะทำให้การรายงานผล หรืออำนาจหน้าที่ โดยกระจายออกไปได้อย่างทั่วถึง และ ทำให้ดูเหมือนว่าทุกคนจะ "รู้งาน" ว่าตัวเองจะต้องทำอะไรอย่างไร และมีอำนาจมากน้อยแค่ไหน ในการจัดการงานต่างๆ มันยังมีอีกเหตุผล ที่ผมว่า เป็นเหตุผลแอบแฝงอยู่ที่เรามองไม่ค่อยจะเห็นกัน นั่นก็คือ "ความรู้สึกปัดความรับผิดชอบได้" ในสภาวะของลูกน้อง และ อีกอย่างก็คือ "ความกล้าในการทำงานตามหน้าที่ ที่ปกติจะทำไม่ได้" ผมจะลองเล่าออกมาเป็นประเด็นๆแล้วกันนะครับ ว่าที่ผมอยากจะบอกนี่มันคืออะไร เพราะว่าผมไม่สามารถที่จะบอกให้มันสั้นด้วยข้อมูลแค่ไม่เกิน 1 บรรทัดได้ในทั้งสองประเด็นนี้ครับ

ประเด็นแรก : เรามีหัวหน้าลูกน้องก็เพราะ "ความรู้สึกปัดความรับผิดชอบได้"

การที่มีหัวหน้าหรือว่าลูกน้องนั้น คนทีมีหน้าที่ทำอะไรบางอย่างที่ แม้ว่าจะดูเหมือนว่าตัวเองเป็นคนรับผิดชอบตรงๆ แต่ เมื่อเค้าเหล่านั้นรู้ตัวว่าเค้ามีหัวหน้าต่ออีกทีหนึ่ง ความรับผิดชอบนั้นจะมีแนวโน้มโอนเอียงไปทางหัวหน้าเสียเป็นส่วนใหญ่ เพราะว่า โดยมากแล้ว เมื่อลูกน้อง มีความรู้สึกว่า "ตัวเองเป็นลูกน้อง" เรื่องความสำเร็จโดยองค์รวมจะเป็นเรื่องของหัวหน้า เรา (ซึ่งเป็นลูกน้อง) ก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งของเรื่องาวนั้น ถ้าหากว่ามันไม่ได้เป็นไปตามที่คาดหวังเอาไว้ในภาพที่ใหญ่ออกไปจากตัวเอง ก็จะไม่ค่อยเดือนร้อนสักเท่าไหร่ ความรู้สึกแบบนี้ จะให้อารมณ์ว่าลูกน้องคนนั้นมีหัวหน้าเป็นเกราะกำบังเอาไว้อีกขั้นหนึ่งยังไงอย่างงั้น  เมื่อลูกน้องคิดแบบนี้ ทำให้หัวหน้างานก็ต้องคิดไปในทางที่ว่า เมื่อลูกน้องจะคิดว่าเราเป็นเกราะกำบังหากว่าเกิดปัญหาที่ใหญ่ขึ้นมา ลูกน้องก็จะทำงานตามหน้าที่ที่เค้าได้รับมอบหมายในภาพที่เล็กกว่า ส่วนที่เป็นภาพใหญ่ขึ้นไปนั้นก็จะเป็นเรื่องของหัวหน้าที่จะต้องดูแล และ ทำให้หัวหน้าก็ต้องบังคับลูกน้อง โดยการระบุงานออกมาเป็นเรื่องทีย่อยกว่าออกไป ให้เพื่อให้ลูกน้องทำงานได้ โดยไม่ต้องคิดถึงภาพใหญ่มากนัก

ทั้งนี้จริงๆแล้ว การทำเรื่องใดๆ เพื่อให้เสร็จสมบูรณ์แล้ว ความรู้สึกว่าตัวเองเป็นแค่ภาพเล็กๆ และไม่เกี่ยวข้องกับผลลัพธ์ของภาพใหญ่นั้นเป็น แนวคิดที่ไม่ค่อยจะถูกต้องเท่าไหร่นัก และ นี่ล่ะครับที่ผมเรียกว่าเป็น ความคิดของการปัดความรับผิดชอบ ให้กับหัวหน้างานครับ อาการแบบนี้จะแก้ได้ไม่ยาก หากว่า คุณหัวหน้างานเข้าใจว่า แนวคิดแบบนี้มีอยู่จริง ลูกน้องคุณมีแนวโน้มจะคิดแบบนี้เป็นส่วนใหญ่ และ แย่ไปกว่านั้น พนักงานทีคุณรู้สึกว่า เค้าเหล่านั้นทำงานไปวันๆ ก็จะมีแนวคิดแบบนี้ฝังหัวเอาไว้  ซึ่งเรื่องแบบนี้ ผมว่า มันมีทางแก้ได้ไม่ยากไม่เย็นมากนัก วิธีการที่ผมว่านี่ก็คือ ทำในสิ่งทีตรงข้ามกันกับสิ่งที่ผมเล่าไปเมื่อตะกีครับ ในเมื่อพนักงานคิดว่าตัวเองต้องทำงานเล็กๆ ย่อยๆ และ ความรับผิดชอบเป็นเรื่องของหัวหน้า ตัวหัวหน้าเองจะต้องระบุงานให้กับลูกน้องเป็นก้อน หรือเป็นภาพที่ใหญ่กว่าหน้าที่หรือตำแหน่งที่เค้าทำ เหมือนกับเป็นการแบ่งพลังอำนาจจองคุณเอาไปบางส่วนหรือเกือบทั้งหมด แต่ว่าจริงๆแล้วเค้าก็ไม่ได้มีอำนาจเหล่านั้นได้จริงๆแต่อย่างใด นอกจากนี้ คุณต้อง update ภาพใหญ่ให้ลูกน้องได้เห็นเกือบตลอดเวลาว่าเกิดอะไรขึ้น แม้ว่าเรื่องเหล่านั้นจะไม่ได้เป็นความรับผิดชอบของเค้าคนนั้นโดยตรงแต่อย่างใด ตัวอย่างเช่น ถ้าหากว่าคุณเป็นหัวหน้า sales ทีม (พนักงานขาย) คุณก็ต้องให้ลูกน้องของคุณ ก็คือตัวพนักงานขายที่ดูแล ลูกค้าแต่ละรายได้เห็นว่า คนอื่นๆทำอะไรอย่างไร ดูแล ให้ผลเป็นอย่างไรและ คนอื่นทำงานออกมาติดขัดอะไรหรือไม่ แล้วภาพรวม หรือยอดรวม ณ ตอนนั้นเป็นอย่างไร นอกจากนี้จะมีการตั้งเป้าหมายแบบเป็นกลุ่ม (Group target ซึ่งตัวคุณเองที่เป็นหัวหน้าทีมพนักงานขายนี้ก็ มีหน้าที่รับผิดชอบด้วยเช่นเดียวกัน) โดยพนักงานทุกคนจะเห็นว่าตอนนี้ยอดรวมของกลุ่มนั้นวิ่งไปถึงไหนแล้ว ถึงแม้ว่า ตัวเค้าเองจะทำให้ยอดของคนอื่นในทีมเพิ่มไม่ได้ก็ตามที และนั่นก็เป็นการเอาความรู้สึกว่าต้องรับผิดชอบต่อภาพการขายโดยรวมผลักเข้าไปยังพนักงานขายคนนั้นๆครับ (แม้ว่าเค้าจะทำอะไรไม่ได้ก็ตามที)

ประเด็นที่สอง : เรามีหัวหน้าและสภาวะลูกน้องก็เพราะ "จะเกิดความกล้าในการกระทำบางอย่างมากกว่าปกติ"

จริงๆแล้วประเด็นที่สองนี้ ก็มีนัยเกี่ยวข้องกับประเด็นที่หนึ่งอย่างแยกกันไม่ออกแค่ว่ามองมาจากคนละมุมเท่านั้น เนื่องจาก ความรับผืดชอบนั้นไม่ได้ตกที่ตัวเค้าแต่ผู้เดียว เป็นเรื่องของคนที่หัวหน้าต้องดูแล จัดการ หรือหากว่าเกิดปัญหาที่เป็นเรือ่งใหญ่ที่เกิดกับภาพรวมแล้ว หัวหน้าต่างหากล่ะที่จะต้องเป็นคนเข้าไปเครียร์เรื่องเหล่านั้น ที่มันเกิดปัญหา .. หากมองให้ดี การกระทำหรือการคิดเชิงนี้ คือ การกระทำทีทำให้รู้สึกว่า เค้ากล้าที่จะทำอะไรมากขึ้น เพราะว่าไม่ต้องกลัวหรอกว่าจะดีหรือไม่ดี จะถูกหรือว่าจะผิด เพียงแค่ทำออกมาเพื่อให้ได้เป็นไปตามหน้าทีและเป้าหมายเท่านั้นก็เพียงพอแล้ว (เพราะคิดไปคิดมาแล้วก็ เราก็มี back เป็นหัวหน้าอะไรประมาณนี้น่ะครับ) และเรื่องความกล้าในการกระทำบางอย่างที่มากกว่าปกตินั้น จะเกิดจากการสั่งงานเป็นลำดับชั้นต่อเนื่องกันครับ ผมยกตัวอย่างให้เห็นได้ไม่ยาก แบบสุดขอบนิดหน่อยเพื่อให้คุณเห็นภาพได้ครับ ถ้าหากว่า คุณเป็นทหารในยศที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะต่ำได้ แล้วจำเป็นต้องออกสงคราม คุณจะโดนสั่งและ โดนกำหนดว่า ต้องเชื่อฟังคำสั่งโดยเคร่งครัด ถ้าหากว่าทำอะไรผิดพลาดไปจากที่สั่งแล้วนั้นจะทำให้ภาพรวมเกิดปัญหา (เป็นการบอกเพื่อยัดความรับผิดชอบเข้าไปกับลูกน้องบ้างน่ะครับ ) ดังนั้นเมื่อทหารระดับเล็กสุดๆคนนี้ มีแนวคิดแบบนี้แล้ว เมื่อแค่หัวหน้าระดับสูงกว่าเล็กน้อยบอกว่าให้ทำร้ายคนอื่น ด้วยอาวุธ ก็จะสามารถกระทำได้ แม้ว่า เค้าคนนั้นจะเป็นนักโทษ หรือศัตรู หรือ ถ้าหากว่ามองดีๆก็เป็นแค่คนเหมือนกันครับ ซึ่งปกติแล้วถ้าหากว่าทหารที่ผมว่านี้ (คนที่เล็กที่สุดคนนี้น่ะหละ) อยู่ในสภาวะที่เค้าเป็นคนปกติไม่ได้เข้าไปใน join ลำดับชั้นและมีการกำหนดว่าต้องเชื่อฟังและรับคำสั่งแล้ว อยู่ๆเพื่อนบ้านบอก คนเดียวกันนี้ให้ไปทำร้าย นักโทษคนเดียวกันนั้น ก็จะไม่ทำอย่างแน่นอน เพราะว่าไม่ได้มีอะไรมาคุ้มหัวคุ้มภัยป้องกัน จะคิดไปกันใหญ่ว่า อยู่ๆเพื่อนบ้านจะบอกให้เราทำร้ายนักโทษคนนั้นเพื่ออะไร และ ถ้าหากว่าจะทำ ก็ไม่มีความกล้าที่จะทำหรอก เพราะว่า มองว่าถ้าหากว่าทำอะไรไปแล้ว ความรับผิดชอบนั้นจะตกอยู่ที่ตัวเค้าเองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เรื่องราวประมาณนี้ได้มีการพิสูจน์มา (แต่ว่าผมก็อ่านหนังสือมาอีกต่อน่ะครับผมบอกไม่ได้เหมือนกันน่ะครับว่าเค้าได้ทำการทดสอบนี้จริงหรือไม่ที่ไหนอย่างไร)ว่า เมื่อให้คนที่โดนทดสอบกดเครื่องช๊อตไฟฟ้าแล้ว คนที่อยู่อีกฝากหนึ่งของกระจกเงา (แบบห้องสืบสวน) เกิดอาการเจ็บปวดอันเนื่องมาจากโดนไฟฟ้าช๊อท โดยมีคนอื่นเป็นคนบอกให้ทำ คนที่โดนทดสอบนี้ก็กดปุ่มช๊อทคนอย่างไม่รู้ร้อนรู้หนาวสักเท่าไหร่ ทั้งๆที่ก็เห็นว่าเป็นการทำร้ายคนอีกคนอยู่ก็ตามที แต่จะผิดกับเมื่อผู้ทดสอบกดปุ่มไปเฉยๆ แต่ว่าไม่ได้มีคนบอกให้กดอะไร เมื่อคนโดนทดสอบคนนี้กดแล้วเห็นความอีกคนที่อยู่อีกฝากของกระจกเงานั้น มีอาการเจ็บปวดทรมาน เค้าก็ไม่ได้กดต่อนั่นเอง  .. สรุปเรื่องราวคร่าวนี้ ก็พอจะเห็นได้ว่า การที่มีคนสั่งให้ คนโดนทดสอบคนนี้กดปุ่มเพื่อทำร้ายคนอื่น เหมือนกับเป็นการบอกเป็นนัยๆว่า คุณคนโดนทดสอบครับ คุณไม่ต้องกลัวหรอกนะครับว่าคนในนั้นจะเจ็บเพราะว่า ผมเป็นคนสั่งคุณ คุณไม่ได้คิดเอง และคุณก้ไม่ได้อยากจะทำร้ายอะไรเค้าหรอก ความรับผิดชอบทั้งหมด ไมว่าจะเป็นเรื่องควมเจ็บปวดของคนที่อยู่ในห้องกระจกนั้นจะเป็นความรับผิดชอบผมเท่านั้นไม่ได้เป็นเรื่องของ คุณ (คนโดนทดสอบ) แต่อย่างใด เพราะงั้นไม่ต้องคิดมาก กดปุ่มซะช๊อทคนในห้องกระจกไปเรื่อยๆซะนะ .. อะไรทำนองนี้น่ะครับ

ย้อนกลับมามองในเรืองของการทำงานในลักษณะองค์กรกันด้วยภาพแนวเดียวกันนี้อีกสักรอบน่ะครับ หัวหน้าสั่ง! ลูกน้องทำตาม เค้าจะมีพลังงาน หรืออำนาจความกล้าหาญที่จะออกไปเจอลูกค้า หรือติดต่อคนที่ปกติเค้าอยู่ในชีวิตธรรมดา เค้าจะไม่กล้าติดต่อ หรือแม้แต่เรื่องบางเรื่องถ้าหากว่าเค้าเป็นคนที่ต้องมา Run Business เองแล้ว เค้าจะไม่ทำ แต่เมื่อโดนสั่งว่า เค้าก็จะทำกิจกรรมนั้นๆตามที่หัวหน้า (ที่ใหญ่กว่าเค้าและดูเหมือนว่าจะรับผิดชอบการกระทำของเค้าได้) ก็จะทำอย่างไม่คิดหน้าคิดหลังกันเลยก็ว่าได้น่ะครับ แต่นี่เองล่ะครับ คือสิ่งที่ บริษัท หรือ องค์กรที ่Run business ต้องการ คือ การทำแบบกล้าได้กล้าเสียของพนักงาน โดยเป็นไปในทิศทาง หรือแนวนโยบายใหญ่ในทิศทางเดียวกันทั้งหมดครับ

ทั้งสองเรื่องนี้จะก่อ ลำดับชั้นการสั่งงาน หรือแผนฝัง organization chart เพื่อให้พนักงานทุกคนรู้ตัวว่า ต้องฟังใคร ใครเป็นหัวหน้าคุณ โดยมีเรื่องเหล่านี้แอบแครงฝังอยู่อย่างลึกๆโดยไม่รู้ตัวว่า มันมาจากสาเหตุประการชะนี้ครับผม  ..

คำค้นหาของคุณที่มาเจอหน้าเว็ปนี้:

Exit mobile version