การขายของได้เพียงครั้งเดียวแบบ One-Time-Sell แค่นี้ก็พอแล้ว !

ขายของให้ได้แค่เพียงตรั้งก็อยู่ได้แล้ว

เรื่องนี้ผมว่าเป็นเรื่องที่แปลกเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ และมันก็จะขัดกับความคิดพื้นฐานที่เราๆท่านๆรู้กันว่า สินค้าต้องมีคุณภาพ เพื่อให้เกิดการซื้อซ้ำ เพราะ ต้นทุนของการหาลูกค้าใหม่จะสูงกว่าการหาลูกค้าเก่าเป็นอันมาก ลองคิดให้ดีๆ สินค้าก็มีตั้งเยอะแยะ ที่มีข้อจำกัดว่าเราจะซื้อหาได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้นแล้วเรื่องของการที่ลูกค้าจะมาซื้อซ้ำ หรือ จะทำอะไรต่อมิอะไรเพื่อให้ลูกค้ามาซื้อซ้ำนั้นก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่จะต้องคิดกันเลยก็ว่าได้ สิ่งที่ต้องคิดและต้องทำก็คือ ขอให้มีการซื้อขายเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวเท่านั้นก็เพียงพอแล้ว ที่จะทำให้ธุรกิจเดินต่อไปได้ นี่น่ะหละ แนวคิดการขายของแบบ “ขอขายหนเดียวพอ” (อาการแบบขายแล้วทิ้งเหมือนกับฟันแล้วทิ้ง ตีหัวเข้าบ้านอะไรประมาณนั้นน่ะครับ) หรือ ONE-TIME-SELL CONCEPT

แนวคิด OTS แบบนี้อยู่บนพื้นฐานว่า ลูกค้าหน้าใหม่หาได้ง่ายหรือลูกค้ามีอยู่ดาษดื่นเหลือเฟือ และ สินค้าไม่ค่อยจะได้มีการซื้อซ้ำ หรือซื้อซ้ำได้ก็โอกาสน้อยเอามากๆ หรือแม้กระทั่งคุณเป็นช่องทางเดียวของการขายสินค้าหรือบริการประเภทนั้นแนวแบบ monopoly ก็ได้เช่นเดียวกัน เอาล่ะครับ สินค้าแนวนี้ก็เช่นสินค้าขายเป็นสินค้าที่ระลึกตามสถานที่ท่องเที่ยว สินค้าที่หน้าร้านคุณเจอได้แค่ครั้งเดียวครับ สินค้าใดๆที่ไม่รู้แหล่งที่มาที่ไปแน่ชัด ไม่มีแบรนด์และตราสัญลักษณ์ใดๆให้จดจำทั้งนั้น และสินค้าไร้สาระที่ไม่ซื้อก็ได้

เอาราคาเข้าล่อซื้อ ?

หน้าที่ของคนที่จะผลิตสินค้าแบบขายครั้งเดียวนั้น สิ่งที่จะต้องทำถ้าหากว่าเป็นสินค้าที่ไม่ได้เป็น monopoly ตัวจริงแล้วล่ะก็ เรื่องราคานั้นเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่ง เพื่อทำให้เกิดการซื้ออย่างไม่ยั้งคิด และสินค้าแนวคิด และ concept แบบนี้จะเกิดกับคนทำธุรกิจหรือผู้ผลิตแบบจีนๆ ถือได้ว่าเป็น เอกลักษณ์ในการคิดผลิตสินค้า หรือ บริการใดๆ ออกสู่ตลาดโลก เค้าเหล่านี้ไม่ต้องหวังหรอกครับว่า จะต้องมีการกลับมาซื้อซ้ำ แค่ว่าทุกคนในโลก หรือแค่เศษเสี่ยวเปอร์เซนต์อันน้อยคิด “หลง” มาซื้อได้เท่านั้นก็เป็นอันจบพิธีกรรม

งานของผู้ผลิตเหล่านี้กลับกลายเป็นแค่ว่า จะทำอย่างไรก็ได้ให้ราคาสินค้านั้นต่ำ ต่ำอย่างไม่น่าเชื่อ โดยการทดทอนตุ้นทุนทางวิศวกรรมและการออกแบบออกไปทั้งหมด เอาแค่ออกมาภาพลักษณ์ หรือรูปลักษณ์เหมือนและเกิดการซื้อขายได้ตอนที่อยู่ที่ชั้นวาง (ไมว่าจะเป็น online หรือ offline) ได้ก็เพียพอแล้วครับ การลดทอนต้นทุนแบบนี้ ทำได้ไม่ยากครับ (คิดให้ง่ายๆ) คือ อะไรก็ตามที่ทำให้มันแพงก็เอามันออก หรือ ลดมันออก หรือ ปรับเนื้อสารมวลสาร หรือวิธีการผลิตให้มันสะดวกกว่าเดิม โดยไม่ต้องคิดมากว่า ถ้าหากว่าลูกค้าซื้อไปมันจะใช้การได้หรือไม่ แต่ภาพลักษณ์ของสินค้าก็ต้องเหมือนเดิมหรือคล้ายเดิมตอนที่มันอยู่ใน package เท่านั้นเอง

ยกตัวอย่างดีกว่า เช่น ถ้าหากว่าคุณทำ cotton brush หรือสำลีพันปลายก้านที่เอาไว้แยงหูเล่น แน่นอนว่า ถ้าหากว่าของดีมีคุณภาพแปลว่า สำลีต้องคิดมาก คือ ต้องสะอาดผ่านระบบการทำความสะอาดมาเป็นอย่างดีเคมีจะต้องไม่เป็นพิษต่อร่างกาย และ ที่สำคัญจะต้องเอามาเช็ดนู้นนั่นได้ครับ เพราะงั้นวิธ๊การลดต้นทุนเริ่มไม่ยากเลยครับ อะไรลดได้ก็ลด อะไรเอาออกได้ก็เอาออก อะไรทำให้ผลิตได้ง่ายก็จงทำครับผม งั้นเรามา modify สำลีพันก้านกันเลยดีกว่าว่า ถ้าหากว่าคิดเป็น ขายครั้งเดียวเราจะทำอะไรได้บ้าง  ?

ก้านลำลีเป็นต้นทุน คิดได้หลายมิติมาก ผมเล่นมันเลยด้วยการ ทำให้ก้านสำลีสั้นลง ทำไมมันต้องยาวดว้ยล่ะ ถ้าหากว่ามันยาวมันก็เปลืองต้นทุนพลาสติกเพื่อที่จะเอามาทำก้านอย่างงั้นไม่ใช่เหรอ เพราะงั้นแล้ว ทำก้านมันสั้นซะ แล้วตอนที่ present ลูกค้าหน้าร้านก็หาอะไรมาดันๆไว้ด้านล่างประมาณว่ามันก็ยาวเท่ากับปกติเท่านั้นเอง (แน่นอนว่า อะไรที่จะมาดันต้องต้นทุนถูกกว่าก้านพลาสติกที่ save ประหยัดไปน่ะครับ)

เนื้อสำลี จะมีวัตถุดิบทดแทนได้มากมายครับ ที่ขาวไม่จำเป็นต้องเป็น cotton อาจจะเอาใยอะไรก็ได้ที่มีราคาต่ำกว่า (มากถึงมากที่สุด) แต่ว่าแค่ว่าออกมาดูขาวเท่านั้นเอง แล้วก็ไม่ต้องไประวังเรื่องความสะอาดมากมายอะไรนัก เพราะคิดง่ายแค่ว่า ถ้าหากว่าเค้าเปิดกล่องออกมาแล้วเอามาถูดูก็จะรู้ว่า มันเอาไปถูแผลหรืออะไรไม่ได้มันหยาบกว่าสำลีปกติเป็นต้น (เป็นการ Limit การใช้งานเพิ่มเติม แต่แน่นอนว่าเค้าจะต้องไม่รู้ตอนที่มันอยู่ในกล่อง)

เนื้อพลาสติกที่เอามาทำก้าน เราสามารถที่จะลดต้นทุนได้น่ะครับ ปกติแล้ว ก้านจะต้องแข็งระดับหนึ่งเพื่อให้เกิดแรงต้านทานเวลาที่เอามาทานู้นทานี่ แต่ว่าเราสามารถลดต้นทุน (แบบส่งผลกระทบต่อการใช้งาน) โดยการใช้พลาสติกที่อ่อนกว่าเดิมเนื้อไม่ต้องแข็งมาก หรืออยากได้เนื้อแข็งเท่าเดิม ก็อาจจะใช้วัตถุดิบ recycle (แต่ว่าอาจจะไม่ได้เพราะว่ามันจะเป็นสีดำ) ที่จะมีความเปราะมากกว่าเดิมได้ด้วยเช่นเดียวกัน

เอาล่ะครับเอาเป็นแค่ กรณีศึกษาแล้วกันน่ะครับว่า การลดต้นทุนการผลิตสินค้าใดๆ สามารถทำได้ไม่ยากโดยไม่ต้องออกแรงคิดสักเท่าไหร่แต่ว่าต้องฉลาดพอแค่ว่ารู้ว่ามันมีสินค้าอะไรทดแทนเท่านั้นเองครับ แต่อย่างว่าล่ะครับ การลดแบบนี้ จะทำให้เกิดปัญหาของ function การใช้งานของสินค้านั้นๆน้อยลงกว่าที่คาดเอาไว้แต่แรกที่เป็น social norm ที่มีความคาดหวังต่อสินค้าประเภทนั้นๆ หรือสินค้าตัวนั้นๆครับ

อย่างไรก็ดี เมื่อลูกค้าพบปัญหามัน function การใช้งานมันโดนลดทอนไปอย่างไม่น่าเชื่อ แต่ตัวคนซื้อเองก็จะรู้สึกว่า ไม่เป็นไร (สักเท่าไหร่) เพราะว่า ลูกค้าเอาซื้อมาในราคาที่ตำอย่างไม่น่าให้อภัยใดๆ พร้อมแล้วที่จะเสี่ยงกับสิ่งที่คาดไม่ถึง เกินกว่าที่จะคิดออกว่า มันจะทำให้มันถูกอย่างนี้ได้ยังไง .. หรือออกแนวปริศนาสักเล็กน้อย หรือออกแนวว่าอยากลองอยากรู้เผื่อว่าจะใช้งานได้ ถ้าหากว่าใช้ได้ก็ลงตัวเอามากๆน่ะครับ  โชคดีไปว่าอย่างงั้นดีกว่า

One-Time-Sell เปิดน่านน้ำสีน้ำเงินอีกมิติ

แท้ที่จริงแล้วการคิดสินค้าแบบ one-time-sell นี่อาจะฟังดูโหดร้ายและผู้ผลิตที่มีจรรยาจะรับไม่ได้กัน แต่ว่าถ้าหากว่า เราคิดแบบกลางๆก็คือ เราลดให้น้อยกว่านั้น คือ ลดให้ไม่มีผลกระทบต่อการใช้งานมากสักเท่าไหร่ได้ หรือเป็นการเรียนรู้และตัด function แล้วบอกลูกค้าไปเลยก็ทำให้เกิด “ตลาดใหม่” ได้เช่นเดียวกันครับ เช่น ถ้าหากว่า สำลีก้านเมื่อสักครู่นี้ ถ้าหากว่าคิดหากลุ่มลูกค้าได้ที่ไม่ต้องการความแข็งแรงของก้าน ไม่ต้องการก้านสำลียาว และ ไม่ต้องการความสะอาดชองสำลี แล้ว่ล่ะก็ ! ก็แปลว่า คุณจะไดกลุ่มตลาดใหม่ ขึ้นมาเฉยๆเลยล่ะครับ เมื่อคุณรู้ตลาดได้แน่ชัดแบบนี้แล้ว ก็จะสร้าง Brand ได้ครับ เพราะว่าเค้าก็จะต้องรู้ว่าสินค้าแบบนี้เพื่อเอาไว้ใข้การนี้เท่านั้น

แล้วขายได้ครั้งเดียวแบบนี้จะไปรอดอย่างงั้นเหรอ ?

มันเป็นปัญหาว่าคุณจะต้องไม่ยึดติดกับสินค้าใดๆที่คุณได้ทำการผลิตออกไปครับ นั่นก็แปลว่า คุณจะต้องผลิตสินค้าได้หลากหลาย หรือ ถ้าหากว่าคุณเป็นตัวแทนหรือร้านค้าขายสินค้าแบบ OTS แบบนี้ก็ต้องมีสินค้าให้มากเข้าไว้ก่อนเพราะว่า ถ้าหากว่าลูกค้าเห็นว่าแบบนี้ไม่ ok แล้วจะไม่กลับมาซื้อสินค้าเดิมแต่อย่างใด แต่ก็จะมีลูกค้ากลุ่มอื่น คนอื่นเข้ามาเพื่อซื้อสินค้าตัวอื่นๆ หรือตัวเดิมนั้นต่อไปเรื่อยๆอยู่ดี เพราะ ความดึงดูดอย่างแรงของราคาที่คุณลดมันซะน่าหมั่นไส้อย่างงั้นน่ะครับ และ แน่นอนว่า การที่จะหาลูกค้าใหม่จะต้องกระทำได้ง่ายเหมือนกับไม่มีต้นทุนเพิ่ม (additional cost) ต่อการหาลูกค้าใหม่เพิ่มเติม ซึ่งตอนนี้มันก็เป็นไปได้แล้วน่ะครับ นั่นก็คือ การเลี้ยง keyword ใน internet หรือการดัก link ตามๆ สำหรับคนที่ค้นหาสินค้าหรือบริการประเภทนั้นๆครับ อย่างไรก็ดี แท้ที่จริงมันมีต้นทุนอยู่หรอกแต่ว่าถ้าหากว่าคุณเป็นผู้ผลิตแบบ mass production แล้วไซร้ต้นทุนพวกนี้เป็นแค่เศษเงินเท่านั้นอยู๋ดีครับ (ยิ่งเป็นผู้ผลิตในจีนด้วยแล้ว Economy of scale ) ก็จะทำให้ต้นทุนถูกเข้าไปอีกกว่าที่คนอื่นจะทำได้กันเลยก็ว่าได้

การขายสินค้าแบบขายครั้งเดียวแบบว่าไม่ต้องง้อลูกค้า น่าจะเป็นอีกแนวคิด เพื่อเอาไว้ปรับดูมุมมองต่อสินค้าหรือบริการของเรา ให้แตกต่างออกไปครับ ไม่แน่ว่า การทำแบบนี้อาจจะเป็นจุดขายก็ได้ ถ้าหาก่วาสินค้าของคุณนั้นเหมาะสม และ อาจจะเป็นการเปิดตลาดใหม่ให้กับสินค้าที่ผ่านการดัดแปลง โดยอาศัยการลดต้นทุนแบบลด function การใช้งาน (การลดคุณภาพเป็นแค่เร่องหนึ่งของการลดแบบนี้เท่านั้น) ก็อาจจะราคาใหม่ พร้อมกับกลุ่มลูกค้าใหม่ก็เป็นไปได้น่ะครับ เอาเป็นว่าเอาไปลองนั่งคิดๆดูเอาเองก็แล้วกันครับผม

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *