ปกติแล้วถ้าหากว่าผมมีเวลาสักหน่อยก็จะอ่านหนังสือแล้วถ้าหากว่ามีเวลาเหลือจากที่อ่านแล้วผมก็จะพิมพ์สรุปไว้น่ะครับเผื่อว่าพี่ๆน้องๆอยากรู้ว่าผมอ่านแล้วได้อะไรจะได้เข้ามาอ่านได้ และคาดว่าน่าจะได้แนวคิดจากหนังสือเล่มเดียวกันนั้นๆเหมือนกับที่ผมได้ (แต่อย่างว่าล่ะสรุปก็คือสรุปไม่ได้ครบเหมือนกับอ่านเต็มๆอยู่ดีน่ะครับ แต่ก็ดีกว่าไม่ได้อ่านหรือว่าไม่ได้รู้เรื่องอะไรเลยก็แล้วกัน)
หนังสือที่ผมเอามาเล่าให้ฟังคือเรื่อง NEURO WEB DESIGN : What makes them click ? มันจะเป็นแนวของการออกแบบ หรือการเอาเรื่องราวไปใส่ใน website เพือ่ให้เกิดการขายเกิดขึ้นผ่านทางหน้าเว็ป ซึ่งพวกฝรั่งมั่งค่านี่เค้าจะ serious เรื่องแบบนี้มากโดยเฉพาะประเทศอเมริกาเพราะ บ้านเมืองเค้าไปหาซื้อของที่ไหนนอกบ้านก็ลำบาก ข้าวของก็ไม่ได้มีครบแล้วก็แต่ละเมืองก็มีความเจริญอย่างทั่วถึง คือ คนอยู่ไปทั่วการที่จะไปซื้ออะไรได้สักอย่าง จะซื้อ online จะคุ้มค่าและเร็วกว่าที่จะไปหาเอง นอกจากนั้นแล้ว การซื้อของข้ามแดนหรือข้ามรัฐ อาจจะทำให้ไม่ต้องจ่ายภาษีเพิ่มด้วยซ้ำ ซึ่งแตกต่างจากการซื้อหน้าร้านมาก เพราะ ไม่ว่าคุณจะซื้อแค่เม็ดกวยจี้แค่ซองเดียว ราคาที่เค้าปะไว้ที่ซอง เมื่อเอามาจ่ายเงินที่หน้าเค้าเตอร์ ก็จะโดนบวกเลขเพิ่มแบบเห็นๆ (ทำให้เหรียญเซนของ US Dollar ก็ยังต้องใช้กันอยู่ดีไม่เหมือนกับบ้านเมืองเราที่เหรียญสตางค์ไม่ได้ใช้กันเลยก็ว่าได้)
เรื่องราวของหนังสือเล่มนี้สรุปได้ตามสารบัญเลยครับเพราะประเด็นเป็นไปตามสารบัญจริงๆ เพราะในเนื้อหาเค้าแค่เอาเรื่องราวที่เกิดจากการวิจัยมาสนับสนุนความคิดหรือแนวคิดที่เป็นแก่นว่า จากการทดลอง หรือ วิจัยนั้นๆสรุปได้ความออกมาเป็นประโยคเดียวเท่านั้นเองครับ งั้นเรามาไล่กันไปทีละประเด็นเลยก็แล้วกันน่ะครับผม
เรื่องราวแรกๆเค้าจะต้องอธิบายเกี่ยวกับเรื่องของสมองซะก่อนเพื่อที่เค้าจะได้เอาเรื่องนี้ไปโม้อธิบายเรื่องราวต่างๆทำให้ฟังดูเป็นเหตุเป็นผลในหนังสือตลอดทั้งเล่ม แต่ว่าโดยรวมแล้ว เค้าก็บอกแค่ว่าสมองโดนแบ่งออกเป็น สมองใหม่ที่คิดรับรู้ได้ด้วยตรรกะ หรือความคิดอันเป็นการวิเคราะห์แบบที่เราเองก็รับรู้ได้ว่าเรากำลังคิดอยู่ นอกนั้นจะมีสมองกลาง และ สมองเก่า โดยสมองกลางหรือ Mid Brain จะทำหน้าที่ในการจัดการเรื่องราวอันเกี่ยวข้องกับอารมณ์ ว่าง่ายๆก็คือ เมื่อคุณรับรู้สิ่งใด แล้วจะออกหรือกำหนดเป็นอารมณ์จะต้องผ่านการทำงานทีสมองกลางนี้ โดยที่เราไม่ได้ออกแรงคิดแต่อย่างใด (อย่างว่าน่ะหละเพราะว่าคิดเชิงวิเคราะห์มันเป็นหน้าของสมองใหม่นี่หน่าเนาะ ..) แล้วก็สมองสุดท้ายก็คือ สมองที่ทำงานเกี่ยวกับเรื่องพิ้นฐานและการทำงานของร่างกายอื่นๆที่เราแทบไม่ได้รับรู้เลยว่ามันทำงานอยู่ เรียกสมองกลุ่มนี้ว่า สมองเก่า .. มันคงจะเก่ามากน่ะครับเพราะว่าเป็นสมองที่ดูแล function การทำงานของร่างกาย บังคับให้เราหิว หรือว่าเซ็กซ์ หรือว่าความกลัว เพื่อให้เราอยู่รอดได้ครับ ควบคุมระบบปราสาทอื่นๆ ระบบของไหลในร่างกายทั้งหมด เป็นสมองที่ดูเหมือนว่าจะทำงานหนักทีเดียวแต่เราไม่ได้รับรู้เลย (ว่าเราก็หายใจอยู่ว่าอย่างงั้น)
สมองทั้งหมดแยกกันครับ ทำให้พฤติกรรม หรือ website ที่แสดงผลของเนื้อหาในทุกรูปแบบมันมีผลต่อสมองที่รับรู้ และ ที่เราไม่ได้รับรู้ (mid and old brain) ได้แตกต่างกันออกไป ทำให้คนเขียนมีเรื่องโม้เรื่องปฏิสัมพันธ์ของเรื่องราวภายนอกกับสมองเราได้เป็นตุเป็นตะกันเลยทีเดียวครับ ซึ่งฟังดูก็มีเหตุมีผลทำให้เราเข้าใจเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้มากกว่าเดิมยังไงอย่างงั้นครับ แต่ว่าในเนื้อหาที่ผมจะสรุปต่อไปจะไม่ได้พูดถึงเรื่องเหล่านี้เลยน่ะครับ
Wanting to Belong : The Power of Social Valication พลังแห่งการยืนยันทางสังคม
เรื่องนี้โดยสรุปคือ คนเรามีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมหรือพฤติการณ์เหมือนคนอื่นที่อยู่ในสังคมครับ เพราะเป็นพื้นฐานของความอยู่รอดได้ในสัตว์สังคม (ว่าไปนั้นยังกะคนเป็นสัตว์ประเภทหนึ่งยังไงอย่างงั้นน่ะครับ) เพราะฉะนั้นแล้วการออกแบบ website เพื่อการขายของที่ดี จำเป็นต้องมีระบบเพื่อรองรับ Testimonial หรือ ภาษาไทยเรียกว่า .. อะไรสักอย่างมันเหมือนกับว่าไม่มีศัพท์คำนี้น่ะครับ (หรือว่าผมคิดไม่ออกก็ไม่รู้เหมือนกันน่ะครับ) ก็คือ การที่เอาคนอื่นมาพูดน่ะครับว่าใช้แล้วดีอย่างไร หรือว่า สินค้าหรือบริการของคุณมันดียังไง ทั้งนี้ อาจจะเป็นคนที่เป็นที่รู้จักในกลุ่มคนใช้สินค้าหรือกลุ่มคนที่มีลักษณะที่เหมือนกับ กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของคุณก็ได้ครับ ทั้งสองอย่างจะให้ผลกระทบทางจิตต่อการตัดสินใจซื้อได้ไม่ยาก หากว่ามันดูเหมือนจริงหรือว่ามันเป็นของจริงยังไงอย่างงั้นน่ะครับ ! คนเราแทบหลีกเลี่ยงที่จะอ่าน review หรือว่าข้อมูลเพิ่มเติมจากคนแปลกหน้า (ใน internet หรือจาก forum หรือ review ในเว็ปนั้นๆเอง) ไม่ได้และก็มีแนวโน้มที่จะเชื่อเอามากๆด้วยครับ ไม่แปลกอะไรหรอกครับเพราะว่า มันมีแนวคิดนี้ฝังในระดับสมองส่วนไร้สติในการคิดกันเลยก็ว่าได้ เราเห็นคนอื่นทำอย่างไร เราเห็นว่าคนอื่นคิดเห็นกับสินค้าหรือบริการนั้นๆอย่างไร เราจะเก็บเอามาคิดและทำตามครับ เราต้องการการยืนยันทางสังคม! (Social validation) มันฟังดูเป็นเหตุเป็นผลที่ดีที่จะเลือกเชื่อแนวคิดและตรรกะการคิดแบบนี้น่ะครับ ผมลองเล่าย้อนไปเรื่องของการเลือกร้านอาหารดีกว่าครับ เช่น ถ้าหากว่าคุณขับผ่านร้านอาหาร คุณจะมองหาการยืนยันทางสังคมครับว่า ถ้าหากว่าคนจอดรถเต็มร้านแล้วแปลว่าอาหารอร่อย คุณก็จะมีแนวโน้มที่จะ "ซื้อ" หรือเข้าไปหม่ำๆกันน่ะครับ มีคนโกงเรื่องนี้กันเห็นๆเลยก็อาจจะเป็นเรื่องของการออกรางวัลเพื่อให้คนต่อคิวให้มาก หรือแม้กระทั่งจ้างคนมาต่อคิว หรือเอารถหรูๆมาจอดไว้หน้าผับ (เรียกลูกค้าได้เป็นอย่างดี) เทคนิคนี้โดนเอาไปใช้ offline กันก็เยอะกับร้านอาหาร และ การเปิดร้านใหม่ครับ ว่าแล้วก็เหมือนกับเรื่องร้านโดนัทบ้านเรายังไงอย่างงั้นครับผม (แต่ว่านั่นมันจะมีผลต่อในเรื่องอื่นๆอีกมากมายซึ่งผมก็เคยโม้เอาไว้แล้วน่ะครับ)
Feeling Indebted : How to Build Concession ทำให้ลูกค้ารู้สึกเป็นหนี้บุญคุณ
คนเรารู้สึกเป็นหนี้บุญคุณอยู่ในใจลึกๆสำหรับทุกๆเรื่องที่คุณคิดว่ามันจะคิดให้เป็นหนี้บุญคุณได้ ครับ เรื่องนี้เป็นเรื่องสำหรับคนดีจะโดนครอบงำด้วยเรื่องเชิงนี้ได้ไม่ยาก และ พื้นฐานแล้วคนส่วนใหญ่จะเป็นคนดีซะด้วยซิ เพราะสังคมจะอยู่ได้ก็เพราะมีคนดีมากกว่าคนไม่ดีน่ะครับ เพราะงั้นแล้ว ถ้าหากว่าร้านค้าหน้าร้าน offline และ online จะทำให้คุณลูกค้ารู้สึกเป็นหนี้บุญคุณได้ จะทำให้มีแนวโน้มว่าคุณลูกค้าจะได้มาซื้อสินค้าจากหน้าร้านครับผม ความรู้สึกนี้ได้มาจากการได้รับอะไรบางอย่าง หรือ ร้านค้าหรือหน้าเว็ปทำความดีโดยการใช้อะไรมากับคุณเสียก่อน ก่อนที่คุณจะมีโอกาสได้ซื้ออะไรด้วยซ้ำ .. อืม .. ดีจัง การให้นั้นไม่ว่าจะเป็นการให้ข้อมูลเพิ่มเติม หรือ การใช้เป็น product ตัวอยาง หรือ ให้อะไรก็ได้ที่อยากจะให้ เยอะแยะ แจก shipping free (ทั้งๆที่ก็บวกไว้แล้ว) หรือการให้รางวัลหรือของแถมเพิ่มเติม นอกจากที่ซื้อปกติ (ยังกะคนๆนั้นเป็นคนพิเศษยังไงอย่างงั้น) แน่นอนว่าถ้าหากว่าแค่หน้า website คุณทำให้คนที่หลงเข้ามาเห็นหน้าร้านออนไลน์แล้ว รู้สึกว่าเป็นหนี้บุญคุณ ด้วยการให้ๆๆ และ ให้แล้วล่ะก็โอกาสการซื้อย่อมเพิ่มขึ้นเป็นธรรมดา เหมือนกับว่าเป็นพวกเดียวกัน ใจดีจั่งเล้ย ..ร้านนี้ (คุณก็จะชอบแล้วก็แวะไปร้านนั้นบ่อยๆ อาการนี้ผมก็เป็นน่ะครับ ทั้งๆที่รู้แต่ก็อย่างว่าน่ะหละหลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ)
ประเด็นนี้อาจจะเป็น HighLight สำหรับ website online สมัยใหม่ คือ การให้ข้อมูลเชิง Blogging คือ เอาเนื้อหาบอกลูกค้าให้เยอะ ให้ข้อมูลให้มากและเป็นประโยชน์กับลูกค้าหรือคนที่หลงเข้ามาที่หน้าเว็ป และให้มาก ให้อย่างมีประโยชน์ครับ ก็แนะนำว่าการ Blogging จะมีผลต่อความรู้สึกต่อการซื้อสินค้าด้วยเช่นเดียวกันน่ะครับ อย่ามองข้ามกันน่ะครับ สำหรับการสร้างเนื้อหา เพราะมันมีผลเกี่ยวกับเรื่องนี้กด้วยนอกจากเรื่อง Keyword ในหมวดหมู่สินค้าที่คุณขายอยู่น่ะครับ
Invoking Scarcity : ถ้าหากว่าบางอย่างดูเหมือนว่าจะหายากหรือจะหมด ทำให้คุณรู้สึกอยากจะได้กว่าเดิม
เรื่องนี้ก็เป็นอีกเรื่องที่คุณเองก็จะเห็นได้จากร้านค้า offline ทั้งหลายแหล่โดยเฉพาะ chain Modern Trade ที่ผมก็ว่าตลกดีน่ะครับคือ การทำให้สิ่งนั้นๆมันเหมือนจะขาดแคลน เค้าก็ทำประมาณนี้น่ะครับ ที่ร้านค้าเค้าทำคือ ตั้งเวลา promotion (เหมือนว่าจะลดราคา) เอาของใส่ชั้นวางให้น้อยลงกว่าเดิม แต่ว่าเอาของใส่ให้เรื่อยๆมากขึ้น (ทำเป็นเหมือนจะน้อย) ปะระบุอีกว่า อืม .. คุณซื้อได้แค่สองชิ้นนะ ขอร้อง … อะไรทำนองนี้ ซึ่งก็ตลกดีน่ะครับที่มีการจำกัดจำนวน (แต่ว่าเรื่องนี้เป็นไปได้ว่าน่าจะเป็นด้วยเหตุผลอื่นด้วยเช่นการไม่ให้คนซื้อไปเพิ่มขายต่อถ้าหากว่าราคาต่ำกว่าปกติมากเป็นต้น แต่อย่างไรก็ดีมันสร้างความรู้สึกขาดแคลนเกิดขึ้นแล้วอยู่ดีสำหรับคนที่เดินผ่านน่ะครับ) ทำการ limied edition ก็เป็นอีกเรื่องที่ทำให้มันเหมือนขาดแคลน !
เพราะงั้นถ้าหากว่าเป็นร้านค้า online คุณทำ promotion อะไรก็ได้ที่ทำให้คลาดแคลนทั้งเวลา หรือ ทั้งปริมาณ ทำให้เหมือนกับว่าต้องตัดสินใจซื้อเดี๋ยวนี้ ถ้าออกไปแล้วก็จะไม่ได้ซื้อแล้วครับ สร้างเป็นเนื้อหาที่แสดงไว้ที่หน้าเว็ปก็จะทำให้เพิ่มโอกาสขายของผ่านทางหน้าเว็ปได้มากขึ้นครับ
Choosing Carefully : การให้ตัวเลือกมากเกินไปคนจะหยุด .. คิดและไม่ซื้อในที่สุด
เรื่องนี้จะสวนทางกลับเรื่องความเหลือเฟือของพื้นที่เสนอขายสินค้า online ที่มีไม่จำกัดอยู่บ้าง แต่ผมก็ว่าถ้าหากว่าตัวเลือกมีมากๆเกินในสินค้าที่คล้ายกันก็น่าจะมีแนวโน้มที่จะทำให้คนไม่เลือกที่จะซื้อได้ครับ เพราะ จากที่ผมเคยรู้มาเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกสินค้าหรือบริการ หรือเลือกอะไรก็แล้วแต่ เราเอาเงื่อนไขใส่หัวได้ไม่ถึง 7 อย่าง (ยกเว้นทำเป็น paper ให้คะแนนนั้นเป็นเรื่องของวิธีทาง Engineer กันเลย) แต่โดยทั่วไปแล้ว คนก็จะเลือกด้วย properties ของสินค้าที่ไม่มากนัก ซึ่งผมก็เป็นครับ ผมเลือก Notebook แค่พิมพ์สะดวก หรือ คุณอาจจะเลือกรถเพราะว่าแค่ยี่ห้อแล้วก็สีรถกับแรงม้าเท่านั้น มันก็เท่านั้นจริงๆน่ะครับ เพราะฉะนั้น การเอาตัวเลือกให้มากมาเสนอในหน้าเว็ปสำหรับสินค้าตัวเดียวกัน จะทำให้ลูกค้าเกิดความสับสน หยุดคิด และ load หนักในสมอง และ เอ๋อไปในที่สุด ไม่ซื้อดีกว่าเพราะ จะทำให้เกิดความรู้สึกผิดในการเลือกซื้อครับ เหมือนว่าทำการบ้านไม่พอ ทั้งๆที่ไม่เค้าเองก็ไม่รู้ตัวหรอกว่าก็ไม่ได้เลือกด้วยเหตุผลร้อยแปดอะไรสักกะหน่อย เอาเป็นว่าอย่าไปเสนอหรือ show สินค้าให้เยอะเกินก็แล้วกันในหมดเดียวกัน หรือสินค้าที่คล้ายคลึงกันทำให้งงแล้วไม่ซื้อของเอาดื้อๆครับ
It’s All About You : เรื่องที่จะพิมพ์พูดและสื่อสารจะต้องใช้คำว่า "คุณ"
เรื่องนี้เป็นเรื่องแรกๆที่คนที่เขียน copywite หรือบทความเพื่อสื่อสารโฆษณาสินค้าจะต้องรู้น่ะครับ คือ เรากำลังสื่อสารกับคนอ่าน คำที่จะอ้างอิงถึงตัวเค้าคนนั้นก็คือ คำว่า "คุณ!" เท่านั้น ไม่ใช้คำว่า คุณลูกค้า หรืออะไรก็แล้วแต่ครับ ไม่ต้องเอาสรรพนามบุคคลที่สามมาอ้างอิงเป็นตัวเค้าเลยน่ะครับ ถ้าหากว่าคุณขาย software คุณไม่ได้บอกว่า software นี้ทำงานอะไรได้หลายอย่าง แต่บอกไปว่าคุณจะใช้มันอะไรได้บ้าง (เหมือนจะคล้ายกันแต่ต่างกันครับ)
นอกจากนี้การสื่อสารกับตัวคุณจะมีการอ้างอิงเรื่องการเอาภาพที่เกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้ เพื่อเป็นการเปิดทางเข้าไปสู่จิตสมองเก่า คือ ภาพที่ดูอันตราย (ทำให้ไทยรัฐขายดี) ภาพที่เกี่ยวกับ sex และ ภาพที่เกี่ยวกับอาหาร ! พอพูดสามเรื่องนี้ต่อกันแบบนี้ทำให้ผมคิดไปถึงแผงหนังสือบ้านเราน่ะครับว่า มันจะมี magazine อาหาร ภาพปืน หนังสือพิมพ์ฉบับโหด ๆ และ ภาพนางแบบสุดเอ็กซ์ เต็มทั้งแผงหนังสือเลย เพราะหนังสือเหล่านั้นต้องการจะสื่อสารถึงคุณและกำลังคุยกับสมองเก่าของคุณให้รับรู้ครับ
Building commitment : สร้างการยืนยันหรือกิจกรรมยืนยันสักอย่าง
การทำให้คนที่หลงเข้ามาเว็ปมีส่วนรวมอย่างใดอย่างหนึ่งจะเป็นการเพิ่มหลักปักฐานให้คนๆนั้น in กะสินค้าหรือบริการได้มากขึ้น เรื่องนี้ผมมองได้กว้างออกไปจากที่หนังสือเขียนไว้มากนัก คือ ถ้าหากว่าจะให้ใครก็ตามทำอะไรสักอย่าง เราจะให้เค้าคนนั้นออกแรงจากน้อยไปมาก เพราะ เราจะคิดว่าเราได้ทำอะไรไปแล้ว หรือเราได้ยึดมั่นแนวคิดนั้นๆเอาไว้แล้วในใจ เช่น ถ้าหากว่าคุณเอากรรไกรตัดคูปองเพื่อลดราคาอะไรสักอย่าง คุณก็จะมีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้านั้นมากขึ้นได้ไม่ยาก เพราะ คุณได้ออกแรงตัดคูปองแล้ว เหมือนเหนื่อย และไม่อยากเสียแรงเปล่า นอกจากนี้การที่เรากระทำการอะไรไปแล้วเล็กๆน้อยๆจะทำให้เกิดความรู้สึกมีส่วนร่วมมากขึ้น แม้ว่าเราจะไม่ได้คิดอย่างงั้นในทีแรก แต่เราก็จะเปลี่ยนความคิดไปได้เรื่อยๆเช่นเดียวกัน ในหนังสือจะยกตัวอย่างที่ผมว่าออกจะสุดโต่งไปหน่อยก็คือ การที่ทำให้คนใช้ ipod แล้วสุดท้ายก็ลงเอยด้วยการอยากจะซื้อ mac ครับ
Using Similarity , Attractiveness and Association : Are we the Same?
คนเป็นสัตว์สังคม และผมว่าเราต้องการความเหมือนกันในสังคม กลมกลืนเหมือนกับคนอื่น และเข้ากับคนอื่นได้ ไม่แตกต่าง (จะได้รอดเพราะว่าเป็นพวกเดียวกัน) ทำให้เรามีแนวโน้มว่าจะซื้อสินค้าหรือบริการจากกลุ่มคนที่มีลักษณะที่เหมือนกับเรา หรือ มีการแนะนำมาจากกลุ่มคนที่น่าจะเหมือนๆกับเรา ถ้าหากว่าสินค้าหรือบริการของคุณหากลุ่มคนที่จะซื้อไม่ได้อย่างเฉพาะเจาะจงแล้วล่ะก็ .. วิธีการแก้ปัญหาก็คือ การหาคนหน้าตาดีมา present สินค้า (ทำให้อาชีพ pretty รุ่งเรืองครับ) เพราะเราก็อยากดูดีเหมือนกับคนขาย หรือ คนที่นำเสนอสินค้า เรามีแนวโน้มที่จะเชื่อหรือทำตามคนที่หน้าตาดีหรือดูดี เพราะเราเองก็อยากดูดีหรือหน้าตาดี ว่ากันซื่อๆแบบนี้น่ะครับ เพราะฉะนั้นแล้วสำหรับหน้าร้าน online website ขายของทั้งหลายแหล่ เอารูปตัวคุณออกไปครับถ้าหากว่าหน้าตาคุณไม่ดี หรือ ว่าคุณแต่งภาพสักหน่อย photoshop ก็จะทำให้คุณดูดีได้ไม่ยากในโลก internet เพื่อการขายของที่มีโอกาสมากขึ้นควรจะทำครับ หรือว่า คุณก็เอาคนที่หน้าตาดีหน่อยมา present สินค้าหรือบริการของคุณ อาจจะเป็นภาพ presenter ถือจับลูบใช้งานสินค้าหรือบริการครับ มันจะมีผลต่อคนที่หลงเข้ามาหน้าเว็ปอย่างลึกๆครับ
Afraid to Lose : กระตุ้นความกลัวหรือความสูญเสียกระตุ้นโอกาสการขาย
ถ้าหากว่าสินค้าที่กระตุ้นความกลัวได้หรือมีแนวของเนื้อเรื่องที่กระตุ้นความรู้สึกเป็นภัยให้กับคุณลูกค้าได้ ก็ควรที่จะเอามาเป็นประเด็นเพื่อการนำเสนอสินค้า เพราะ ความกลัวเป็นเรื่องหนึ่งที่สมองเก่าเอามาคิดและเปิดทำให้ควบคุมเหนือสมองส่วนคิดวิเคราะห์ เมื่อคนเรามีความรู้สึกกลัวแล้ว lead เรื่องราวเข้าสู่การขายสินค้าหรือบริการได้จะทำให้โอกาสการขายนั้นมีมากขึ้นกว่าปกติ เช่น ถ้าหากว่าคุณขายกล้องวงจรปิด คุณก็บอกเล่าเรื่องราวผ่านสื่อใดๆก็ได้ออกไปให้คนที่รับสื่อรู้สึกว่า "กลัว" กับเหตุการณ์ที่อาจจะขึ้นได้ หรือ เอาเรื่องราวที่เกิดขึ้นแล้วกับคนอื่นๆมาบอกเล่าก็ได้ครับ
ยังมีอีกประเด็นที่เกี่ยวกับเรื่องความสูญเสีย คือ ลักษณะของการกำหนดราคาเพื่อให้ได้ขายของที่มีราคามากขึ้นในลักษณะของ Default option เช่น computer ถ้าหากว่าคุณมี model ให้เลือก 2 แบบ คือ แบบที่ดีหน่อยแพงกว่า และแบบที่แย่กว่าหน่อย ราคาถูกกว่า ให้ทำการ set model ที่แพงกว่าเป็นตัว Default แล้วให้ลูกค้าเลือกออกเองในภายหลัง แล้วค่อยแสดงราคาที่ลดลงว่าเหลือเป็นเท่าไหร่ แนวโน้มคือ การทำแบบนี้จะทำให้ลูกค้าเลือกซื้อ option ที่เป็น case แพงกว่ามากกว่าการตั้ง Default option เป็นตัวถูกแล้วเลือกที่จะเพิ่มเงินเพื่อซื้อตัวแพงเป็น option เพิ่ม ซึ่งทั้งหมดนี้ถูกอธิบายโดยเรื่องของความสูญเสียโดยตรงครับ
ใช้ภาพและเรื่องราวเพื่อสื่อสารกับสมองส่วนไร้สติ
การสื่อสารด้วยภาพ และ เรื่องราวเป็นสิ่งที่ผมสังเกตว่า "ข่าว" เท่านั้นที่จะทำการสื่อสารด้วยภาพและเรื่องราวอยู่ตลอดเวลา แต่ว่าเวลาที่เราขายของ เรากลับไม่ได้คิดจะเอาเรื่องราวเข้ามาบอกเล่ากับสินค้าหรือบริการที่เราขายสักเท่าไหร่ยิ่งถ้าหากว่าเป็นหน้า online ด้วยแล้วสินค้าหนึ่งๆจะมีเรื่องอะไรให้บอกเป็นเรื่องได้มากมายอย่างงั้นเลยหรือ ? อันนั้นเป็นปัญหาของคนที่จะสื่อสารกับลูกค้าแบบ online คือสื่อสารทางเดียว ผ่าน product description หรือคำอธิบายสินค้าครับ ภาพลักษณะท่าทางการใช้งานหรืออะไรก็ได้ที่พิมพ์บอกออกไปให้มีเรื่องมีราวที่เกี่ยวข้องให้ชวนติดตามก็จะทำให้นสินค้านั้นๆน่าสนใจต่อสมองส่วนไร้สติเป็นอย่างมาก
การสรุปความจากหนังสืออีกรอบทำให้ผมได้มา review ความคิดอีกสักหน่อยว่าที่ผมอ่านมานั้นได้อะไร โดยการไม่ได้เปิดหนังสือซ้ำอีกครั้ง เพียงแค่เปิดหน้าสารบัญเท่านั้น เพื่อเป็นการทบทวนและคิดให้รอบต่ออีกชั้นหนึ่ง การสรุปความด้วยการพิมพ์หรืออธิบายต่อนั้นผมว่าถ้าหากว่าคุณมีเวลาสักหน่อย แนะนำให้เอาหนังสือเรืองใดๆที่น่าสนใจนั้นมาพิมพ์บันทึกเรื่องราวเอาไว้ หรือว่าทำเป็น note ส่วนตัวเอาไว้เองอีกครั้ง เพราะเมื่ออยากจะ review ภาพของหนังสือโดยรวมอีกครั้งคุณก็จะทำมันได้อย่างสะดวกกว่าเดิม หรือ อย่างน้อยที่สุด ถ้าหากว่าคุณไม่ได้ว่างพิมพ์ หนังสือที่คุณได้อ่านมา หรือเรื่องราวที่คุณได้รับรู้ผ่านการอ่านหนังสือเล่มยาวๆนั้น ขอให้คุณลองเล่าเรื่องที่คุณจำได้หรือมันเป็นเรื่องติดอยู่ที่สมองคุณให้กับพี่ๆน้องๆหรือเพื่อนๆญาติๆคุณฟังก็ยังดี มันจะทำให้คุณได้ครุ่นคิดเนื้อความ หรือ แนวคิดที่ได้จากหนังสือให้กว้างออกไปกว่าเดิมได้ไม่มากก็น้อย สำหรับการสรุปความ หนังสือเรื่อง Neuro Web Design : What makes them click ? ผมคงจบไว้เพียงเท่านี้ไว้วันหลังอ่านอะไรจบอีกแล้วจะมาเล่าให้ฟังอีกครับผม