rackmanagerpro.com

วิธีการทำไข่ต้มยางมะตูมและไข่ออนเซ็น ไข่พลังงานต่ำด้วยกระบวนการต้ม

ไข่ต้มพลังงานต่ำ

พักนี้ผมทานไข่กว่าเดิมสักหน่อยแต่ไม่อยากจะเพิ่มพลังงานจากการบริโภคอาหาร อะไรลดพลังงานก็ลด อะไรไม่เพิ่มได้ก็เพิ่มแต่อย่างว่าล่ะครับ ไข่กินแล้วดีมีประโยชน์สำหรับคนทุกวัยที่ไม่ได้มีข้อจำกัดว่าจะต้องห้ามกินไข่เกินวันละกี่ฟอง

ไม่นานมานี้ผมเองก็เพิ่งจะรู้ว่า การ processing ไข่ เพื่อให้เป็นไข่ที่สุกขึ้นนั้น จะมีผลต่อค่าพลังงานไม่เท่ากัน โดยถ้าหากว่าทำอะไรกับมันน้อยๆก็จะเป็นการเพิ่มพลังงานให้กับไข่ 1 ฟองที่เราจะกินเข้าไปน้อยด้วยเช่นเดียวกัน โดย การต้ม นั้นเป็นการทำให้ไข่สุก หรือ กึ่งสุกขึ้นมาด้วยค่าพลังงานที่เพิ่มน้อยที่สุดหรือเรียกได้ว่าแทบไม่เพิ่มเลย (พลังงานที่กินไข่ฟองนี้เข้าไปก็เหมือนกับการกินไข่ดิบๆอะไรประมาณนั้น) แต่ถ้าหากว่าคุณเอาไข่ไปผ่านกระบวนการทำให้สุกด้วยรูปแบบอื่น เช่น การทอดเป็นไข่ดาว หรือ การเอามาไข่กับน้ำมัน เพื่อทำออกมาเป็นไข่เจียว มันจะเป็นการเพิ่มพลังงานเพราะคุณใส่น้ำมันเพิ่มเข้าไประหว่างการทำให้สุกด้วยสองวิธีการดังกล่าว (นอกจากเพิ่มน้ำมันเข้าไปแล้วยังจะเพิ่มโซเดียมที่ได้จากการใส่น้ำมันหอยหรือใส่น้ำซีอิ้วหรือซอสปรุงรสอื่นๆเพิ่มเข้าไปอีกต่างหาก)

ขอให้รับรู้ว่า พลังงานสำหรับไข่ 1 ฟองแบบต้มนั้นจะให้พลังงาน 70 Kcal หรือเป็นการปั่นจักรยานอยู่กับที่แบบไม่แรงเกินไปที่ 7 นาทีเท่านั้น (ฟังดูเหมือนจะเยอะแต่ถ้าหากว่าคุณออกกำลังกายบ่อยๆระดับ 5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์แล้วล่ะก็ แค่ เจ็ดนาทีมันไม่ได้เยอะแยะอะไร) ถ้าหากว่าคุณเอาไปดาวก็จะ Upgrade พลังงานได้ขึ้นไปถึง 1 เท่าตัวก็คือ 140 Kcal หรือถ้าหากว่าเอาไปเจียวก็จะพุ่งไปเป็น สองร้อยกว่าแคลลอรี่ได้ไม่ยากนัก

ดังนั้นแล้วข้อแนะนำของผมเอง ก็คือ ถ้าหากว่าอยากจะกินไข่ ก็ให้ทำอะไรกับมันให้น้อยที่สุด และเลือกวิธีการ Process ไข่ ให้ออกมาเป็นลักษณะของการต้มเท่านั้นหากเลือกได้และเหมาะกับอาหารมื้อนั้นก็ควรจะทำ และเลือกรื่นรมณ์กับการทานไข่ดาวและเจียวได้แล้ว มันเป็นการเพิ่มพลังงานกับการกินไข่แบบไม่จำเป็นเลยก็ว่าได้

ผมอยากจะบอกวิธีการทำไข่ต้มที่แตกต่างออกไปสำหรับคนที่ทานไข่ออกแนวกึ่งดิบกึ่งสุกได้ จะมี options ในการ process ไข่เพื่อเอาไว้กินกับข้าวหรือเป็นกับพลังงานไม่มากนักได้อีกสองแบบก็คือ  การทำไข่แบบ Half-boiled egg หรือไข่แดงมะตูม และ การทำไข่ให้เป็นออนเซ็น วิธีการเป็นอย่างไรนั้นอ่านต่อด้านล่างครับ

วิธีการทำไข่มะตูมด้วยหม้อปกติ

ลักษณะผลลัพธ์ที่ต้องการก็คือ ไข่จะผ่านการต้มแล้วไข่แดงไม่สุกออกจะเหลวอยู่กลางๆหน่อยๆ ส่วนไข่ขาวสุกเป็นรูปไข่ได้ วิธีการทำคือ ให้ตั้งไฟให้เดือดด้วยไฟแรงก็ได้ แต่เมื่อเดือดแล้วให้ปรับไฟเป็นไฟกลาง หรืออ่อนก็สุดแต่แล้ว(ไม่ได้มีมาตราฐานอะไรเพราะแต่ละบ้านไฟแรงไฟอ่อนปรับได้ไม่เหมือนกัน) แล้วจึงเอาไข่ที่ Room Temperature ต้มในน้ำเดือดด้วยไฟกลางนั้นเป็นระยะเวลา 6 นาที แนะนำว่า ให้ลองกันเอาเองถ้าหากว่าไข่แดงที่ได้เหมือนว่าจะสุกน้อยไปหน่อยก็แค่ปรับระยะเวลาจาก 6 เป็น 7 นาทีแทนก็จะทำให้ไข่สุกขึ้นได้แล้ว ที่กำหนดระยะเวลาไว้ประมาณนี้เพราะ ส่วนมากแล้ว หากน้ำเดือดแล้วใช้ไฟกลางต้มไข่จะกินเวลาประมาณ 12-14 นาที แต่นี่เราต้องการไข่ที่มีระดับความสุกของไข่แดงแบบกลางๆ คือให้มันเหลวเป็นยางมะตูม ก็แค่ตัดส่วนเวลาจาก 12 มาเป็น 6 นาทีเท่านั้นเอง

เมื่อเวลาผ่านไป  6 นาทีให้เอาไข่ออกจากหม้อต้มแล้วเอาไป shock น้ำแข็งแช่เย็นทันที เพื่อเป็นการหยุดความร้อนทันที ไม่ต้องการให้ไข่สุกไปมากกว่านี้แล้ว แค่นี้เราก็ได้ไข่มะตูมสมใจอยากแล้วล่ะครับ

วิธีการทำไข่ออนเซ็นด้วยหม้อปกติ

ไข่ประเภทนี้คนที่ไม่ได้ทานข้าวหน้าเนื้อจะไม่รู้จัก แต่ถ้าหากว่าคุณเป็นคนที่กินอาหารญี่ปุ่นเป็นประจำก็น่าจะรู้จักกันบ้าน ลักษณะของไข่ออนเซ็นคือ ไข่ขาวเหลวแต่ว่ามีสีขาวข้นกึ่งสุก (ไม่ได้ใสๆเหมือนกับไข่ขาวดิบ) และไข่แดงก็เป็นก้อนสวยแต่ด้านในก็ไม่ได้สุกเมื่อเอาตะเกียบปักเจาะไข่แดงเข้าไป เนื้อไข่แดงเหลวก็จะไหลทะลักออกมาได้ นิยมเอาไข่ออนเซ็นไปราดข้าวสวยร้อนๆกินกับอาหารประเภทเนื้อสัตว์  (ง่ายๆก็คือ มันเอาไว้ราด on top ของข้าวหน้าเนื้อนั่นเอง)

วิธีการทำไข่ออนเซ็น ไม่ได้ยากเย็นอะไรแต่มันก็มี Trick ที่ไม่เคยคิดว่าจะต้องทำอย่างงั้นก็คือ การใส่แป้งมันเข้าไปด้วย ขั้นตอนการทำไข่ออนเซ็นมีดังต่อไปนี้

1. เอาน้ำ 1 ลิตรตั้งไฟให้เดือด (สำหรับการทำไข่ 1-2 ฟองใช้น้ำ 1 liter แต่ถ้าหากว่าคุณจะทำมากกว่านี้ก็ต้มน้ำเยอะขึ้นไปกว่านี้อีกนิดหน่อยตามส่วนแล้วกัน) ระหว่างนี้ที่รอให้น้ำเดือดก็เอาแป้งมันผสมกับน้ำด้วยสัดส่วน แป้ง 1 ช้อนโต้ะ กับน้ำ 1 ช้อนโต้ะกวนให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียวเหมือนกับจะทำราดหน้ายังไงอย่างงั้นน่ะหละ

2. เมื่อน้ำเดือดให้ปิดไฟแล้ว เอาแป้งมันที่ละลายน้ำเอาไว้แล้วเทใส่ในหม้อน้ำเดือดนั้นกวนน้ำให้แป้งละลายทั่วทุกอนูของน้ำที่อยู่ในหม้อ และใส่ไข่ (room temperature) ลงไปในหม้อ ปิดฝาหม้อ แล้วยกทั้งหม้อออกจากเตาได้เลย รอประมาณ 8 นาทีเต็ม

3. เมื่อเวลาผ่านไปแล้ว 8 นาที ให้เอาไข่ออกมาจากหม้อแล้วแช่ในน้ำเย็นทันที แค่นี้ก็จะได้ไข่ออนเซ็นแล้วล่ะครับ

การกินไข่ทั้งสองแบบที่ผมว่านี้ อย่างที่บอกไป ไข่แดงนั้นไม่สุก หรือกึ่งสุกเท่านั้นเพราะงั้นแล้วไข่ที่คุณจะเอามาทำอะไรประมาณนี้คุณก็ต้องแน่ใจเสียหน่อย่วาเป็นไข่สดใหม่เพิ่งซื้อมาหรือยังไม่ใกล้วันหมดอายุและเลือกเอาแบบมี Brand ก็ได้เพื่อให้มั่นใจว่ากินเข้าไปแล้วจะไม่ท้องเสียครับ ยังไงสำหรับเรื่องไข่ๆวันนี้กะว่าจะพิมพ์สั้นๆ แต่มันก็ออกมายาวเหมือนเดิมครับ ถ้าหากว่าผมมีเมนูไข่อะไรเด็ดๆอีก็จะมา update เอาไว้ที่หน้าเว็ปแห่งนี้ครับผม

วิธีการทำไข่ลวกและไข่ออนเซ็นด้วยเครื่องซูวี ที่โรงแรมและร้านอาหารใช้กัน

เครื่องซูวี ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ลับอย่างหนึ่งที่คนไทยเราไม่ค่อยรู้จักหรืือใช้งานกันสักเท่าไหร่ แต่ในปีที่ผ่านๆมามีรายการอาหารชื่อว่า Master Chef Thailand นั้นเอาเชฟระดับโรงแรม และ ระดับมืออาชีพที่เป็นแบบ Chef Table หรือเชฟครัวโรงแรมหรูๆมาประลองแข่งกันทำอาหาร และ แน่นอนว่า เชฟพวกนี้ เขาก็งัดเอากระบวนการ Sous Vide มาโชว์กันให้คนไทยอย่างเราๆทั่วไปบ้านๆได้เห็นกััน และนี่ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือลับหากคุณคิดว่าจะทำไข่ลวกกันบ่อยๆ และ มันเอาไว้ทำอาหารให้สุกได้ในระดับอุณหภูมิต่ำตามที่กำหนดเพื่อกำหนดระดับความสุกได้อย่างแม่นยำเหมือนเดิมทุกครั้ง ทำให้มันสามารถถูกใช้กับ ไข่ลวก ไข่ออนเซ็น สเต็กเนื้อ หรือเนื้อสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะปลา ที่เราไม่ได้ต้องการให้มันสุกมากเกินไปนักและไม่ต้องการให้เนื้อมันร่วนเละ เหมาะกับคนรักสุขภาพแบบสุดๆเลยก็ว่าได้

สำหรับบทความนี้เราเน้นการทำไข่ลวกสำหรับโจ้ก หรือไข่ออนเซ็นกันดังนั้นแล้ว ลองมาดูกันหน่อยว่า สำหรับการใช้เครื่องซูวีสำหรับไข่ออนเซ็นแบบย่อๆ นั้นทำได้อย่างไรกัน

  1. ตั้งน้ำในหม้อให้เอาเครื่องซูวีหนีบเข้ากับหม้อ
  2. กำหนดความร้อนเครื่องซูวีไว้ที่ 63 องศาเซลเซียส และระยะเวลา 45 นาที
  3. เมื่อเสร็จก็ได้ไข่ลวกสวยๆหรือไข่ออนเซ็นกันได้ทันที (จบ..ง่ายมากเลย)

สำหรับคนที่ต้องดูวิธีการทำไข่ลวกและไข่ออนเซ็นด้วยเครื่องซูวีแบบเต็มๆอ่านได้บทความนี้

คำค้นหาของคุณที่มาเจอหน้าเว็ปนี้:

คำค้นหาของคุณที่มาเจอหน้าเว็ปนี้:

Exit mobile version