เพิ่มสติในการใช้งาน internet ในที่ทำงานทำยังไง

ใช้ internet ทำให้คนเราโง่อย่างงั้นหรือ?
น้องผมเค้าบอกผมมาว่า “อ่านทความนึงเค้าว่า .. คนที่ใช้ internet ทำให้ความฉลาดด้อยลงไป..” ผมฟังแล้วก็ ฟังหูไว้หูน่ะครับเพราะว่าผมไม่คิดว่าตัวผมเองที่ใช้งาน internet มากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก ตามสัดส่วนของ internet speed ที่มากขึ้น และอุปกรณ์ที่อยู่รอบตัวผมมากขึ้นทุกวัน แต่ก็ไม่ได้คิดซะทีเดียวว่า มันทำให้ผมโง่ลงตามเวลา


Chat ทำให้ฉลาดน้อยลงกว่าที่ควรจะเป็น ?

บังเอิญว่าผมก็ไม่ได้รับ link ของบทความแต่อย่างใด แต่ถ้าหากว่าให้ผมมองในมุมของผมเองแล้วนั้น “การใช้งาน internet จะทำให้คนมีจิตที่ติดกันมากขึ้น” ที่ว่าจิตติดกันมากขึ้นมันมีเหตุผลมาตั้งแต่สมัยที่ Thaipoint ดังเพราะเป็นระบบ chat แรกๆตอนที่ผมอยู่ ม.2 แล้วล่ะครับ ต่อมาผมก็ utilize การ chat เรื่อยมาครับ


จิตติดกันมากขึ้นหมายถึง .. อะไร ?

ตรงประเด็นง่ายๆ คือ คนคิดถึงกันได้มากขึ้นครับ เพราะ internet ้เป็นประเภทหนึ่งของการสื่อสารเท่านั้นเอง การสื่อสารด้วย text เสียง เนื้อความ email และอื่นๆอีกมากมายที่ใช้อยู่ครับ ยกตัวอย่างชัดๆกันเลยดีกว่า คุณคงแปลกใจว่า ทำไม BB หรือเจ้าแบรคเบอร์รี่มันถึงได้ขายดีเป็นพิเศษเมื่อเทียบกับ mobile phone ต๊อกต๋อยเหมือนๆกัน ผมต้องบอกว่ามือถือพวกนี้มัน low tech เมื่อเทียบกับ smart phone เอามากๆน่ะครับ เรียกว่ามันไม่ได้ฉลาดอะไรแต่ มันฉลาดที่ทำให้คนมีจิตคนต่อติดถึงกันได้มากขึ้นจาก promotion ที่จำเป็๋นต้องใช้ครับ เพราะ BB นั้นขายได้เพราะ การ online ในระบบ chat ของ BB เองที่แยกจะระบบอื่นโดยเด็ดขาด เราคุยกันได้มากขึ้นกว่าเก่าแบบที่ไม่เคยทำได้มาก่อน คือ เมื่อคุณรถติดไฟแดง คุณก็พิมพ์ text ไว้ (เหมือนกับ SMS แต่ว่ามันยาวได้ไม่อั้นเท่านั้นเอง) แล้วอีกฝ่ายปลายทางก็ไม่จำเป็นต้องอ่านเดี๋ยวนั้น เค้าอาจจะนั่งอึอยู่ในห้องน้ำ หรือปฏิบัติกิจอะไรอยู๋ก็ได้ แค่มี time delay นิดหน่อยในการตอบเท่านั้นเองครับ
มีคนบอกผมว่า พอใช้ BB ต่อเน็ตแล้ว online msn ตลอดแล้วแอดผมไว้ ก็จะออกอาการราวกับว่า ไปไหนมาไหนก็เหมือนผมไปด้วยเลย อย่างงั้น (เพราะว่าผมก็ทำงานหน้าคอมและก็ online เยอะน่ะครับ) ซึ่งผมก็ว่า เป็นไปได้ที่จะรู้สึกอย่างงั้นครับ เพราะมันเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้จิตเชื่อมต่อกันนั่นเอง
ย้อนกลับมาประเด็น การ chat เป็นรูปแบบหนึ่งของการใช้งาน internet และแน่นอนว่ามันก็เป็นแค่การสื่อสาร ซึ่งก็ไม่ได้ทำให้คนโง่ลงแต่อย่างใด งั้นไปดูประเด็นอื่นต่อว่าใช้งาน internet แล้วโง่ลงได้ด้วยประเด็นอะไรมั้ย ?


Google ทำให้โง่ลงอย่างงั้นหรือ ?

ประโยคแรกๆเวลามีคนถามอะไรแล้วผมไม่รู้คือ “ไม่รู้.. ถามกูเกิ้ลดู..” ทำให้คนเราฉลาดน้อยลงหรือไม่ ถ้าหากว่าองคิดกันดีๆแล้ว Google ทำให้คนฉลาดมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก เพราะต้องการรู้อะไรก็จะสามารถที่จะรู้ได้ทันควัน ถ้าหากว่ามี iPhone ต่อเน็ตตลอดแล้วไซร้อยากรู้อะไรก็จะรู้ได้ทั้งหมด ยิ่งกว่ามีสาระนุกรมติดตัวหลายเท่าตัวนัก แล้วอย่างงั้นแปลว่า ผมจะอ่านหนังสือน้อยลง หรือ สนใจเรื่องประวัติศาสตร์น้อยลงหรือ ไม่หรอกครับ เพราะคนที่สนใจเรื่องอะไรแล้ว ก็จะ Google ในสิ่งเหล่านั้นเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆได้มากขึ้นกว่าการไม่มี Google เป็นอันมาก เอางี้น่ะครับถ้าหากว่าผมไม่ได้สนใจประวัติศาสตร์อะไรอยู่แล้ว ผมก็ไม่ได้อ่านเรื่องเกี่ยวกับพวกนั้นอยู่ดี ไม่ว่าจะมี Google หรือไม่มี Google ก็ตามทีครับ ถ้าเปิดเจอบนทีวีก็จะเปลี่ยนช่องเอาเวลาไปทำอย่างอื่นดีกว่ามั้ย คืดอย่างงั้นจริงๆน่ะครับ เรื่องอะไรที่ไม่สน เราก็จะไม่เอามาใส่ใจแม้แต่น้อย
ผมชอบคิดเสมอว่า เราไม่จำเป็นต้องรู้ไปหมด เพราะมันเป็นไปไม่ได้โลกเรามี information มากเกินกว่าที่เราจำเป็นต้องรู้มากนัก คุณมีสิทธิในการเลือกรับข้อมูลได้ และ Google ก็ไม่ได้ทำให้คณอ่านน้อยลงแต่อย่างใด เพียงแต่มันเปิดให้คุณอ่านข้อมูลที่เชื่อได้น้อยลง ด้วยแหล่งข้อมูลที่ไม่เป็นทางการได้มากขึ้น ศึกษาเรื่องราวต่างๆได้ผ่านทุกแง่มุมกว่าเก่ามากนัก ฟันธงเลยครับว่า Google ไม่ได้ทำให้คนใช้งาน Google ฉลดน้อยลงแต่ประการใด


Blog Feed ทำให้สมาธิ (แหล่งที่ทำให้เกิดปัญญาตามวิถีพุทธ) น้อยลงมั้ย ?

คนอ่าน Blog พิมพ์ Blog อย่างผมก็รับ Feed มากกว่าปกติมากนัก แต่เวลาที่เอามาอ่านเป็น surplus time หรือเป็นพวกส่วนเกินที่คุณไม่สามารถทำอย่างอื่นได้ด้วยครับ เช่น อ่าน Feed ใน iPhone ตามเดินทาง รอคิว หรือแม้กระทั่งเดินเล่นช้าๆ เพื่อเป็นการออกกำลังกาย แน่นอนว่าอ่านเยอะขึ้น มันเป็นการทำให้รู้รอบ รู้กว้างกว่าเดิม และเป็นเหตุทำให้ฉลาดขึ้นได้นั้นเองครับ
แต่ประเด็นที่มีการตีโจทย์คือ เนื่องจาก Blog content ส่วนมาก แต่ละเรื่องจะมีเนื้อหาที่ไม่ยาวมากนัก ไม่เหมือนกับหนังสือ ประเด็นนี้มีความจริงเพียงครึ่งเดียวเท่านั้นครับ เพราะ หนังสือก็คือ การเอาความคิดมาเรียบเรียงเข้าเรื่อง เข้าเล่มและจัดระเบียบ หมวดหมู่ให้กับมันเท่านั้นเอง (ยกเว้นพวก fiction หรือเรื่องแต่งทั้งหลายแหล่นะครับซึ่งผมไม่อ่านครับ ไม่ใช่แนว) หรือ มองให้สุดขอบกว่านั้นได้ไม่ยาก หนังสือก็เหมือนกับการเอาเนื้อ Blog มาพิมพ์เรียบเรียงต่อกันไป หรือทางกลับกัน หนังสือสามารถแยกเป็น blog content ได้ถ้าอยากจะทำครับ
ผมเห็นหนังสือหลายเล่มที่แต่งโดย Blogger หรือ writer ที่พิมพ์ Blog ออกมาด้วยทั้งหมดเป็นพวกนักคิดแทบทั้งสิ้น ซึ่งไม่ว่าสื่อนั้นจะออกมาเป็นรูปแบบ Blog ผ่าน Feed ที่มีเนื้อหาสั้น (แต่จะไม่สั้นเลยถ้าเอามาต่อเรียบเรียงรวมกัน) หรือเป็นหนังสือออกมาเพื่อจะได้เงินเป็นกอบเป็นกำ (สำหรับฝรั่ง) ขอให้แค่อ่านได้มากที่ขึ้นบนเวลาที่คุณไม่เคยอ่านได้มาก่อนเท่านั้นก็จะเป็นการเพิ่มพลังฉลาด เพิ่มทักษะการคิดเรื่องราวที่ซับซ้อนได้มากขึ้นแล้ว เพราะงั้นแล้ว FEED ไม่ได้ทำให้คุณฉลาดน้อยลงแต่ประการใด
ส่วนเรื่องของสมาธินั้น มีเหตุว่า เนื่องจากเนื้อหา Feed สั้นทำให้คนอ่านเกิดสมาธิได้น้อยลงไป และความอดทนในการอ่านลดน้อยลงไป ไม่สามารถที่จะอ่านเนือความยาวๆได้เหมือนแต่ก่อน ก่อนที่จะมีระบบ Rss Feed อันนี้ก็เป็นความเห็นน่ะครับว่า ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกันสักเท่าไหร่ ผมก็ยังอ่านหนังสือได้ด้วยสมาธิที่จะหลับจะหลับเหมือนเดิม (อ่านก่อนนอน) แล้วก็ไม่ได้รู้สึกวอกแวกแต่อย่างใด อันนี้ถ้าหากว่าจะพิสูจน์ได้ต้องออกแบการทดสอบอย่างจริงจังว่า สมาธิที่สั้นลงจะนิยามว่าอย่างไร และ ทดสอบได้อย่างไรกันครับ


Twitter และ Facebook เป็นตัวก่อกวนสมาธิในการทำงานมั้ย ?

อันนี้ผมว่ามันเป็นทางเลือกมากกว่า แล้วแต่คน เพราะถ้าหากว่าเค้ารับ Twitter หรือเปิด Facebook ตอนทำงาน หรือ ตอนที่สมองกำลังแล่นอยู่ หรือ มีสมาธิกับอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างงั้นก็เป็นการทำลายสมาธิตัวเองอย่างไม่น่าให้อภัยอยู่แล้วล่ะคับ แต่ก็อีก คนเราเมื่อคิดอะไรบางเรื่องอยู่ เราก็จะคิดได้แค่เรื่องเดียว ณ เวลาหนึ่งๆได้เท่านั้น ไม่สามารถที่จะคิดสองอย่างสองอารมณ์ได้ในเวลาเดียวกันแต่อย่างใด เน้นก็หมายถึงว่า เมื่อมีคน Twitter มาแล้วเราอยู่ในสมาธิกับงานใดอย่างหนึ่ง เราอาจจะเลือกปิด Twitter ไว้แต่แรกอยู๋แล้วก็ได้ หรือถ้าหากว่าเปิดไว้เราก็อาจจะต้อง ..มองข้ามมันไปไม่ได้ใส่ใจอะไรครับ เท่านั้นก็จะทำให้พวำทวีต มาทำอะไรเราได้น้อยลงไปอีกน่ะครับ


การจด Note ไว้ในมือถือและ Evernote ทำให้เราจำอะไรน้อยลงอย่างงั้นหรือ ?

ผมคิดว่ามันไมได้ทำให้เราโง่หรือว่าใช้สมองน้อยลงหรอกครับ สมองเรามันแบ่งออกเป็นส่วนของความจำระยะยาว และ ความจำระยะสั้นอยู่แล้ว ซึ่งข้อมูลอะไรที่มันจำสั้นๆ แบบไม่จำเป็น มันก็จะหายไปอยู่ดีนั้นแปลว่า ถ้าหากว่าเราจดเอาไว้แทนจะทำให้ความจำ หรือข้อมูลนั้นอยู่กับเราแม้ว่าเราจะลืมไปแล้วก็ตามครับ เรียกว่า เป็นการจัดการข้อมูลได้ฉลาดกว่าครับ แต่ก็อีกการจดใน Evernote แนะนำว่าต้องพิมพ์ tag หรือ keyword ที่เราคิดว่าถ้าหากว่าเราจะกลับมาหาเราจะค้นหาด้วยคำว่าอะไร เพราะ ลักษณะการจดใน Evernote จะไม่ได้มีการตั้งเป็น folder ไปเรื่อยๆไม่มีวันจบ เพราะเรื่องราวใดๆ มันจะเยอะมาก มากขนาดที่ว่าเราไม่สามารถที่จะใช้ระบบการตั้งชื่อ Folder เพื่อแยกเรื่องได้ทั้งหมดเพื่อให้ครอบคลุมการใช้ข้อมูล แต่ระบบการพิมพ์ tag หรือพิมพ์เนื้อหาหรือคำที่เราคิดว่าถ้าหากว่าเป็นเราจะมาค้นหา เราก็จะมาค้นหาด้วยคำนี้ จะทำให้เราเจอเนื้อความหรือ Note ที่เราจดได้อย่างไม่มีปัญหาอะไรครับ
เอาล่ะครับบนมาเสียตั้งมากมายโดยรวมแล้ว ผมมองว่าการใช้งาน internet และ Tools ใดๆที่มี เราต้องรูจักเลือกที่จะใช้และเข้าใจที่จะใช้มันได้อย่าง make sense กับตัวเราเองให้มาก ผมไม่สามารถบอกได้ทั้งหมดหรอกว่า คุณควรจะใช้มันอย่างไร เพราะมันก็แล้วแต่ Life Style ที่แตกต่างกันออกไป และความสามารถในการคิดใช้งาน (utilize) อุปกรณ์เหล่านี้ครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *