จะจ่ายเงินทั้งทีเอาอะไรมาคิด ? หลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินและหลุมพรางการคิดที่ไร้เหตุผลตอนจ่ายเงิน

การใช้เงินนั้นจะแยกส่วนจากการลงทุนออกไป เพราะ เงินส่วนที่เราสามารถสร้างรายได้เพิ่มได้จาก การใช้จ่ายนั้น เรามันจะเรียกมันว่า การลงทุน อยู่เป็นนิจ แม้ว่าจะเป็นการจ่ายเงินออกไปก็ตาม แต่สำหรับบทความนี้มิได้เล่าเรื่องการใช้จ่ายเพื่อลงทุนแต่เป็นการใช้เพื่อการบร่ิโภคอุปโภคปกติ 

ทำการเทียบราคาและทางเลือกในท้องตลาดเสียก่อนทั้งออนไลน์และ offline (ถ้ามี)

การซื้อหาสินค้านั้นถือได้ว่าเป็นการตัดสินใจอย่างหนึ่งสำหรับชีวิตคนทั่วไป เราเลือกและซื้อด้วยเหตุผลต่างๆมากมายและทางเลือกเหล่านั้นจะอยู่ในทางเลือกที่เราสามารถหาได้ ณ เวลาหนึ่งๆเท่านั้น นั่นหมายความว่า เราจะไม่สามารถจัดสินใจเลือกซื้อสินค้าใดๆที่นอกเหนือไปจากทางเลือกที่เรารับรู้ได้นั่นเอง ฟังแล้วอาจจะแปลกใจว่าทำไมต้องมาบอกความจริงที่มันเป็นความจริงแน่แท้แบบนี้กันล่ะ ? หากคุณลองนึกดีๆนั่นก็แปลว่า เราควรมองหาทางเลือกให้ได้มากที่สุดเอาไว้ก่อน และ ถ้าหากว่าหน่วงเวลาได้เพื่อให้เรามีเวลาเพื่อหาข้อมูลเทียบทางเลือกได้นั่นจะทำให้โอกาสที่เราได้ options ที่ดีขึ้นนั้นย่อมทำได้เช่นเดียวกัน 

คุณอาจคิดไม่ออกว่ากิจกรรมหนึ่งของแผนกจัดซื้อในองค์กรนั้นทำหน้าที่ที่ประหยัดให้กับองค์กรได้มากหากทีมงานจัดซื้อขยันและวิเคราะห์ทางเลือกต่างๆสำหรับการสั่งซื้่อสินค้าให้กับพนักงานคนอื่นที่ร้องขอเข้ามา งานหนึ่งที่จัดซื้อจะทำคือ การค้นหาทางเลือกตามนโยบายเช่นขั้นต่ำถูกกำหนดว่าจะต้องมีผู้เสนอราคาเข้ามาสามรายได้อย่างน้อย หรือ หากไม่สามารถเทียบสินค้าหรือบริการได้โดยตรงก็ต้องหาสินค้าหรือบริการทางเลือกและเปรียบเทียบเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อบริษัทมากที่สุด 

เราใช้หลักการแบบเดียวกับการจัดซื้อขององค์กรเหล่านี้ได้เช่นเดียวกัน แต่คนที่ต้องการสินค้าหรือบริการนั้นและคนที่ทำการหาข้อมูลประเมิน ค้นหาทางเลือกนั้นเป็นคนเดียวกันหมดเท่านั้นเอง การหาทางเลือกนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญและทำให้เกิดการประหยัดได้มากกว่าการต่อราคาโดยตรง

คนส่วนมากจะไม่เทียบราคาเมื่อได้รับข้อเสนอหรือโปรโมชั่นเพราะนักการตลาดจะเทียบราคารหลอกเอาไว้ให้แล้ว เช่น ปกติราคา 3900 บาท ลดเหลือ 2900 บาท แปลว่า เขาเทียบให้เราแล้วว่าแต่เดิมมันราคาสูงกว่านี้ตอนนี้มันได้รับการลดราคาแล้วด้วยเหตุผลที่ไร้สาระ เช่น ครบรอบอายุร้านค้า ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับยอดขายหรือกำไรคาดหวังที่เขาจะได้ เพียงแต่มันฟังดูเป็นเหตุเป็นผลเพื่อให้เราในฐานคนซื้อรู้สึกว่า มีเหตุผลตอนที่เรากำลังจะซื้อนั่นเอง (ทั้งๆที่มันไม่ได้เห็นเหตุผลอะไรกันเลยก็ตามที)

ไม่แนะนำให้เอารายจ่ายไปเทียบกับรายได้หรือกิจกรรมตามแหล่งที่มาของรายได้ 

เราจะเจอกรณีแบบนี้เยอะมากๆที่เจอคนถังแตกแม้นว่าเค้าจะได้รางวัลที่หนึ่งมาก็ตาม หรือ เคยเป็นเซเลปทางกีฬาหรือทางการบันเทิงก็สุดแล้วแต่ เพราะคนเหล่านี้ เขาจะคิดว่า ถ้าหากว่าเขาจะซื้ออะไร เขาก็จะมองว่าแค่ทำอันนั้นอันนี้เท่านั้นก็จะได้รายได้ทดแทนการจ่ายเหล่านั้นแล้ว ! แน่นอนว่าการคิดแบบนี้เป็น “ปกป้องความรู้สีกผิด” สำหรับการซื้อของเกินจำเป็นได้ดีมากที่สุดแล้ว และ มันเป็นจิตวิทยาเพื่อหลอกตัวเองที่คนเมืองทั้ง Freelance และ พนักงานประจำใช้กันทุกครั้งที่ต้องการสิ่งของหรือบริการใดๆ เราจะมองว่าค่าสินค้านั้นเหมอืนกับเป็นการทำงานกี่วันทำการ โดยจะเอารายได้ต่อวันทำงานมาหาร และ ดูว่าเหมือนกับเป็นการทำงานกี่วันกันแน่ ? แล้วเราก็เทียบระหว่างแรงงานของเราและสิ่งที่เราจะได้จากการชำระเงินซื้อในครั้งนั้นๆ โดยไม่ได้มองส่วนอื่นๆเลย เช่น เราเหลือเงินเก็บหรือไม่ต่อเดือนเท่าไหร่เป็นต้น 

แน่นอนว่าถ้าหากว่าเราใช้หลักการแบบนี้ เราสามารถคิดซ้ำแบบนี้ให้กับสินค้าทุกอย่างไปเรื่อยๆ อย่างไม่จำกัด ทั้งพัดลม โทรศัพท์มือถือ ตู้เย็น เป็นต้น โดยหลักการนี้มักจะถูกใช้กับสินค้าที่ไม่ได้มีการผ่อนเป็นหลักเพราะมันเป็นการคิดเทียบที่ตรงไปตรงมาได้ง่าย แต่สำหรับสินค้าที่มีการผ่อนคนปกติที่คิดอยากจะเสียเงิน จะมีหลักการอื่นที่จะอธิบายในด้านล่างต่อไป 

ปัญหาคือ ถ้าหากว่าเราใช้ตรรกะการคิดแบบนี้กับสินค้าและบริการที่เราอยากจะได้ทั้งหมด มันจะไม่มี limit ใดๆเลยแม้แต่น้อยเพราะ สังเกตได้ว่า มันไม่ได้มี ลิมิตบน upper limit ใดๆในการปฏิเสธว่ามันจะควรได้รับการพิจารณาเลย นี้คือปัญหาที่หนึ่งที่เป็นรูแหว่งของการคิดด้วยเหตุผลที่ไร้เหตุผลนี้

การคิดเทียบกับระยะเวลาในการสร้างรายได้หรือเทียกับกิจกรรมที่สร้างรายได้ จะทำให้เกิดภาพลวงตาว่าเราสามารถหรือมีทรัพยากรเหลือพอหรือเงินสามารถหาสร้างใหม่ได้เรื่อยๆอย่างไร้ความกังวลราวกับว่ามันไม่มีความน่าจะเป็นอื่นใดที่จะไม่ทำให้เราไม่ได้รายได้นั้น (เหตุการณ์เช่นการเกิด COVID ทำให้ต้องไล่คนออก กิจการอยู่ไม่รอดปิดตัวไปเป็นต้น) เหตุการณ์เหล่านี้เป็นเหตุการณ์ที่คนปกติจะไม่สามารถประเมินโอกาสการเกิดขึ้นได้ และ ไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ทำให้ประเมินไปเลยว่า มันจะไม่เกิดขึ้น และ นั้นส่งผลให้ตรรกะการคิดของเราคือ “เราจะมีรายได้แบบที่เคยเป็นตลอดกาล!” ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่มีเหตุผลเอาเสียเลย ! และการคิดแบบบนี้ทำให้คนที่มีรายได้สูงถังแตกมานักต่อนักแล้ว และ เป็นเหตุที่ทำให้คนเราสร้างรายจ่ายมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีรายได้มากขึ้นได้ทุกเมื่ออย่างเป็นธรรมชาติและไม่รู้ตัวเลยก็ว่าได้

อย่างงั้นคุณอาจจะคิดว่าแล้วเราจะสร้างรายได้มากๆเพื่อให้เรารู้สึกผิดน้อยลองตอนซื้อสินค้าได้ยังไงกันล่ะ หรือทำให้เราสามารถใช้จ่ายเงินโดยไม่ต้องคิดเยอะ มันผิดด้วยเหรอ ? ใช่แล้วล่ะครับว่ามันไม่ได้ผิดอะไรหรอกแต่นั่นเป็นแนวคิดของคนที่ได้เงินมาเพื่อใช้จ่ายเป็นหลัก เรียกได้ว่าเป็นคนที่กิจกรรมส่วนใหญ่ของชีวิตมองว่าเมื่อมีเงินต้องใช้เงิน คุณอาจจะงงว่าคนที่รายได้แบบไร้ขีดจำกัดเขาก็เลือกใช้สิ่งของโดยการเทียบมูลค่าทางตรงของสินค้าหรือบริการต่างหาก ไม่ได้คิดที่จะเทียบกับวิธีการได้มาซึ่งรายได้เหมือนกับนักแสดงดาราหรือนักกีฬาที่ล้มละลายที่เคยเป็นข่าวที่คุณก็น่าจะได้ยินบ่อยๆว่าแต่ก่อนมีเงินใช้มากมายแต่กลับต้องตกอับในภายหลัง หรือ คนที่ถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลแต่กลับไร้หนทางทำมาหากินต่อไป เป็นต้น

จะซื้อสินค้า 0% 10 เดือนได้หรือเปล่า? เราเอาอะไรมาคิดว่าเราสามารถซื้อมันได้จริงๆ?

ผ่อนจ่ายเพื่อซื้อสินค้าแม่เหล็กดูดเงินออกจากกระเป๋าเงิน

การเทียบจากอัตราการจ่ายเงินจากการแบ่งจ่าย เช่น เราจะเทียบว่า ถ้าหากาว่าต้องการ  iPhone 30,000 บาทและมีโปรโมชั่นเพื่อทำให้คนขายขายได้สะดวกมากกว่าเดิม คือ การออกแบบการเรียกเก็บเงินเป็นแบบ 0% 10 เดือน แปลว่าพนักงานประจำที่มีรายได้ต่อเดือนก็จะใช้ตรรกะความคิดพื้นฐานที่สุดคือ การเอา 30,000 บาท (ที่เป็นราคาสินค้าที่อยากจะได้) หารด้วย 10 จะเท่ากับ 3,000 บาทต่อเดือน

การคิดแบบนี้ถือได้ว่าเป็นสุดยอดของตรรกะวิบัติการใช้จ่ายเงินซื้อสินค้าหรือบริการใดๆ เพราะ มันเป็นการบังคับตัวเองที่จะตัดสินใจเพียงครั้งเดียวแต่กลับต้องจ่ายมากเท่ากับ 10 ครั้ง โดยเก้าครั้งที่เหลือ ไม่มีโอกาสได้ปฏิเสธการจ่ายอีกต่อไปแล้ว ! 

วิธีการคิดที่เหมาะสมหากจะเอา 10 เดือนไปหารคือ ให้เรามองก่อนว่าเราเหลือเงินเก็บในเดือนหนึ่งๆนั้นมากกว่าเงินที่จะต้องจ่ายในแต่ละเดือนนั้นหรือไม่ เช่น กรณีตัวอย่างคือ 3,000 THB/เดือน นั้นต้องกลับมามองว่าเราเหลือเงินจากการใช้จ่ายปกติที่เราใช้อยู่แล้วในรายการอื่นๆมากกว่า 3,000 THB ในเดือนหนึ่งๆต่อเนื่องกันมากกว่า 10 เดือนหรือไม่ (ลองมองย้อนหลังดู) ถ้าหากว่าใช่ และ เหลือมากกว่า 3,000 THB.- แล้วล่ะก็แปลว่า คุณอาจจะจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการนั้นๆได้

ดูว่ามูลค่าสินค้ามือสองนั้นเหลือเท่าไหร่และให้มองว่าค่าใช้ที่เกิดขึ้นเท่าไหร่ ? 

มูลค่าสินค้านั้นจะเหลือเท่าไหร่หากเราขายต่อเป็นเงินกลับมา

ความคุ้มค่าของสินค้าหรือบริการ (สำหรับกรณีนี้มักจะเป็นสินค้ามากกว่าเพราะบริการเมื่อซื้อมาแล้ว ไม่สามารถเหลือมูลค่าเพื่อส่งต่อไปให้คนอื่นได้ หรือแปลง่ายๆว่า ขายต่อไม่ได้) ส่วนหนึ่งที่เราน่าจะต้องเก็บมาคิดก็คือ การคงเหลือมูลค่าตัวเงินในสินค้านั้นๆ เมื่อผ่านการใช้งานหรือเวลาผ่านไป หากคุณไม่เคยรู้มาก่อนว่าสินค้าใดๆสามารถขายต่อได้นั้นทำให้คุณพลาดที่จะซื้อสิ่งที่คุณอยากจะได้ด้วยเช่นเดียวกัน และ เราก็จะเลือกสินค้าที่มูลค่าเสื่อมด้อยมากเมื่อเทียบกับเงินที่จ่ายไปได้ ถ้าหากว่ามันเสื่อมราคามากเกินกว่าที่เราจะรับได้ก็จะปฏิเสธการซื้อสินค้านั้นๆ หรือกลับทางกันถ้าหากว่าเรามองว่า มูลค่าขายต่อคงเหลือนั้นเหลือเยอะ และ เราดูว่าผลต่างแล้วรับได้ ก็เราก็จะมีแนวโน้มจะซื้อสินค้านั้นๆได้เช่นเดียวกัน 

เหตุผลในเรื่องมูลค่าที่เปลี่ยนแปลงตามเวลาและการใช้งานนั้นบางคนทำเป็นธุรกิจกันเลยด้วยซ้ำไป แต่สำหรับบทความนี้เราจะไม่ได้เล่าในประเด็นดังกล่าว แต่เน้นที่การเลือกเพื่อซื้อสินค้ามาใช้งานเป็นหลัก อย่างไรก็ดี ถ้าหากว่า คุณเจอสินค้าใดๆที่คุณอยากได้แล้วมีเงินเย็นเหลืออยู่และเห็นว่ามูลค่าเพิ่มตามการเวลา คุณอาจจะเลือกซื้อสินค้าดังกล่าวเป็นแหล่งพักมูลค่าเงินไว้กับทรัพย์หรือสินค้านั้นๆได้ 

ในทางกลับกัน หากคุณจะเลือกซื้อสินค้าที่เสื่อมค่า ตัวอย่างเช่น เสื้อผ้าคุณอาจจะเลือกซื้อสินค้ามือหนึ่งแล้วดูว่าเมื่อขายได้จะขายด้วยราคาเท่าใด แปลว่าผลต่างระหว่างเงินที่คุณซื้อ และ เงินที่คุณได้รับเมื่อขายนั้นคือ เงินที่คุณใช้ไปกับการใช้งานของสินค้านั้นๆ ลองดูว่ามันคุ้มหรือเปล่า ? 

ตัวอย่างเช่นหากคุณซื้อหนังสือที่เป็นเล่มๆมาราคา 329 บาท และ นำไปจำหน่ายขายต่อเป็นสินค้าหนังสือมือสองใช้แบบรักษาอย่างดีเหมือนมือหนึ่ง คุณสามารถประกาศขายต่อมันได้ในราคา 229 บาทก็ได้ (ส่งฟรี) แปลว่าคุณเสียเงินเพื่อให้ได้อ่านหนังสือเท่ากับ 100 บาทพร้อมค่าส่งสินค้าเท่านั้นเอง เป็นต้น

ทำการ delay การซื้อออกไปสัก 1-2 สัปดาห์เพื่อประเมินว่าเราต้องการมันอยู่มั้ย?

เทคนิคนี้ได้รับการแนะนำจากเว็ปแฮ็คชีวิตที่ได้รับการยอมรับว่ามันเป็นการลดค่าใช้จ่ายเกินความจำเป็นได้จริงแบบเห็นผลทันตาเลยก็ว่าได้ เพราะ เนื่องจากมันเป็นการ effect ของการตลาดโดยกำจัดออกไปทั้งหมด โดยเฉพาะเรื่องของส่วนลดและค่าเสียโอกาสในใจที่เมื่อเราได้รับสื่อทางการตลาดแล้วรู้สีึกว่า เราต้องซื้อเดี๋ยวนี้ และ ตอนนี้เท่านั้น! เทคนิคการตลาดปกติจะกำหนดให้บทความหรือสื่อโฆษณาสื่อสารว่า เวลาจำกัด หรือเพียงห้าสิบสายแรกเท่านั้น อะไรทำนองนี้ ซึ่งมันจะไปกระตุ้นต่อมความต้องการประเภทอารมณ์เพื่อใช้แทนตรรกะในการตัดสินใจได้ทันที การคิดไวทำไว จะทำให้ม๊โอกาสซื้อมากกว่าการคิดแบบค่อยๆคิดอย่างเป็นหลักเป็นฐานเป็นอย่างมาก ดังนั้นแล้ว การ counter สวนจิตวิทยาทางการตลาดนี้เลยก็คือการตั้งกฏเอาไว้ว่า ถ้าหากว่าอยากจะซื้อให้รอไปก่อนอีกสัปดาห์หน้าค่อยกลับมาดูว่าเรายังอยากจะได้อีกหรือเปล่าแทนนั่นเอง 

สำหรับนักช้อปออนไลน์นั้น วิธีการหน่วงเวลานั้นทำได้ง่ายๆ โดยการ เอาของที่อยากจะซื้อใส่เข้าไปที่ cart (ตะกร้า) แล้วทิ้งเอาไว้อย่างงั้นแล้วเราก็จำว่าเราใส่สิ่งนั้นเข้าไปในตะกร้าวันไหน แล้วสัปดาห์หน้าก็ค่อยกลับมาดูว่าเรายังอยากจะซื้ออีกหรือเปล่า ง่ายๆแค่นี้เอง! 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *