rackmanagerpro.com

เรื่องต้องรู้ในการเลือกหน้ากากผ้าสำหรับสถานการณ์โควิด19

เลือกหน้ากากผ้าอย่างไร ให้ป้องกันได้จริงๆ

เพิ่งจะได้เจอหน้าเว็ปที่บอกว่าทำไมเราถึงเลือกผ้าที่เอามาทำหน้ากากผ้า และ เหตุผลว่าทำไมผ้าบางประเภทไม่เหมาะกับการทำหน้ากากผ้า โดยการวัดและการทดสอบนั้น กระทำโดยกรมวิทยาศาสตร์บริการ เพื่ออธิบาย หรือ แนะนำเลือกใช้หน้ากากผ้าให้เหมาะกับสถานการณ์โรคระบาดโควิดในปีนี้ 

ข้อสรุปของการทดสอบนั้นระบุว่า ถ้าหากว่า คุณอยากจะทำหน้ากากผ้าเพื่อใช้เองหรือเพื่อจำหน่ายควรจะเป็นหน้ากากผ้าที่ทำจากผ้ามัสลิน 

หัวข้อสำหรับการทดสอบผ้าเพื่อเอามาทำหน้ากากผ้าสองชั้น

ด้วยเหตุผลหลักในการทดสอบมีเพียง 2 ประเด็นคือ 1. ความสามารถในการกรองและกันละอองน้ำได้ 2. ความสามารถในการกักอนุภาคของเส้นใยผ้า

ข้อสรุปการทดสอบเปรียบเทียบผ้าชนิดต่างๆเพื่อคัดเลือกผ้าที่เหมาะสมเอามาทำหน้ากากผ้าสองชั้น

ผ้าที่เอามาทำหน้ากากผ้า .. แล้วทำไมต้องแคร์เรื่องการซึมผ่านได้ของน้ำกันด้วยล่ะ ?

เหตุผลง่ายๆที่คนทั่วไปไม่รู้ก็คือ หน้ากากผ้าโดยปกติแล้วจะมีการซึมของน้ำเข้าไปที่หน้ากากได้ โดยน้ำที่ซึมนั้นก็คือ น้ำลายและน้ำเสมหะ จากการไอจามจากคนอื่นๆที่อาจจะไม่ได้ตั้งใจแพร่เชื้อ เค้าอาจจะเผลอไอจามใกล้เราหรืออยู่ต่อหน้าเรา โดยที่เราไม่สามารถเลี่ยง droplet ของน้ำลายอะไรพวกนี้ได้เลย ! แล้ว น้ำลายพวกนี้ มันฝอยกระจายในอากาศไม่เกิน 3 ฟุต เราเดินเข้าพื้นที่เมื่อไหร่ หน้ากากผ้าธรรมดาเหล่านั้นก็จะซึมน้ำเข้าไปที่หน้ากากผ้า และ มันก็ซึมเข้าไปด้านในและสัมผัสกับปากหรือจมูกในที่สุด และ การใส่หน้ากากครั้งนั้นก็จะเป็นการสูญเปล่าไปซะอย่างงั้น

สังเกตได้จากตารางด้านบนก็พบว่า ผ้าฝ้ายมัสลิน จะเหมาะกับการเอานำมาทำหน้ากากผ้ามากที่สุดด้วยเหตุผลว่า มีประสิทธิภาพในการต้ายการซึมผ่านของละอองน้ำได้ดีกว่าผ้าประเภทอื่นๆ แม้แค่หน้ากากอนามัยเท่านั้นเอง (หน้ากากอนามัยมันมีสารกันน้ำเคลือบมาเลยนี่หน่าขี้โกงกว่าผ้าอื่นๆเยอะมาก)

นอกจากนี้ ผ้ามัสลินที่โดนแนะนำมาให้เป็นผ้าที่ทำหน้ากากผ้าก็เพราะ มันสามารถทนต่อการซักผ้าซ้ำๆครั้งได้เป็น 100 ครั้ง โดยโครงสร้างผ้าเหมือนเดิมและมีสภาพที่ไม่เป็นขุยออกมา (ไม่เกิน pilling) มากเท่าไหร่นัก ทำให้ประชาชนสามารถประหยัดเงินที่จะต้องไปซื้อหาหน้ากากผ้าใหม่มาใส่ได้อีก ใช้แล้วใช้อีกจนกว่าจะตายกันไปข้างนึงก็ว่าได้ ผ้าอะไรจะแข็งแรงแบบนั้นกันเนี่ยะ +

รู้หรือเปล่าว่าหน้ากากอนามัยจะมีความสามารถในการกันน้ำได้อยู่แล้ว !

นี่คืออีกเรื่องที่เราก็ไม่เคยรู้เหมือนกันว่า หน้ากากอนามัยนั้นได้รับการออกแบบมาให้ด้านนอกนั้นกันน้ำได้ และ ด้านในซึมน้ำได้ สำหรับเนื่องการกันน้ำได้จากด้านนอกของหน้ากากก็เพื่อป้องกันละอองเสมหะ น้ำลาย เมือกมูกอื่นๆ กระจายจากคนไข้เข้ามาที่หน้าคุณหมอผู้สวมใส่หน้ากากอนามัยนั่นเอง แต่นี่คือเรื่องที่คนทั่วไปไม่ได้รู้หรอกว่า มันอย่างงั้นได้ด้วย

ลองดูคลิปการทดสอบหน้ากากอนามัยกันดูหน่อยว่า มันกันน้ำได้จริงๆ โดยการทดสอบส่วนมากก็คือเอาด้านนอกของหน้ากากอนามัยเอามารองน้ำที่หัวก้อกตามบ้านนั่นน่ะแหละ และ ก็ดูว่าน้ำมันซึมผ่านได้หรือเปล่า ?

เราทำสร้างลิงค์เพื่อไปที่เนื้อหาที่บอกว่า หน้ากากอนามัย มันรองน้ำได้จริงๆ

Youtube VDO ด้านบนนั้นเป็นวีดีโอที่ได้รับการออกแบบการทดสอบในเรื่องอื่นๆด้วย โดยเน้นการออกแบบเพื่อทดสอบความสามารถในการกรอฝุ่นละเอียดไม่ว่าจะเป็น 1 ไมครอน หรือ 0.3 ไมครอน โดยการซ้อนผ้าสองหรือสามชั้นเพื่อพิสูจน์ให้เห็นกับตาได้ด้วยว่า ฝุ่นที่มีขนาดแน่นอนสามารถทะลุเข้าผ่านหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยแต่ละแบบได้หรือไม่ และ ได้ผลลัพธ์เป็นอย่างไร ถ้าหากว่า คุณอยากจะลองกับหน้ากากผ้าที่คุณมีก็แนะนำลองทำคลิปตามนี้ได้เช่นเดียวกัน

การทดสอบการกันน้ำของหน้ากากผ้าเรื่องการกันซึมน้ำ

เราสามารถทดสอบการกันน้ำของหน้ากากผ้าที่ทำจากผ้าแต่ละชนิดได้ด้วยตัวเองทำง่ายๆ คือการฉีด foggy หรือหัวพ่นสเปรย์เข้าไปที่ด้านนอกของหน้ากากผ้า หากพบว่า ผ้าประเภทนั้นมีความสามารถในการสะท้อนน้ำ หรือต้ายการซึมของน้ำได้เราจะเห็นคาตากันเลยว่า ไม่มีน้ำซึมเข้าไปที่เนื้อผ้าให้เห็น หรือ เราจะเห็นเป็นละอองน้ำเกาะภายนอกของเนื้อผ้าด้านนอกของหน้ากากผ้านั้นเท่านั้น

นอกจากนี้ หากหน้ากากผ้าได้รับการออกแบบที่ดี ด้านในของหน้ากากผ้า “จะซึมน้ำ” ได้ดี แตกต่างจากด้านนอกของหน้ากากผ้าซึ่งเราอยากจะให้กันน้ำหรือกันซึมน้ำได้

เหตุผลที่เราอยากจะให้ด้านในของหน้ากากผ้านั้นซึมน้ำได้ดีก็เพราะ หากเราไอจาม เราจะโดนหน้ากากผ้าซึมสารคัดหลั่งจากการไอจามนั้นเข้าที่เนื้อผ้าด้านในแทน แทนที่จะพ่นละอองออกจากทางอื่นๆฝุ้งๆไปเรื่อยๆ อย่าลืมนะว่า การใช้หน้ากากผ้านั้น มีวัตถุประสงค์สองประเด็น คือ การกันเราแพร่เชื้อให้คนอื่นจากการไอจาม และ การกันไม่ให้คนอื่นมาแพร่เชื้อหาเราได้หากเขาไม่ใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอะไรเอาไว้

เราใช้ผ้าอะไรก็ได้แล้วเคลือบสารสะท้อนน้ำเอาได้หรือเปล่า ?

จริงๆแล้วเราสามารถใช้ผ้าประเภทใดๆก็ได้ที่ใช้กันอยู่ โดยเราสามารถเพ่ิมสารสะท้อนน้ำที่ด้านนอกของหน้ากากผ้าได้ด้วยตัวเองเช่นเดียวกัน เช่น เสปรย์พ่นหน้ากากผ้าของคณะเภสัชจุฬาก็มีการใช้สารเทฟลอนแบบปลอดภัยต่อการใช้งานพ่นเพื่อทำให้ด้านนอกของหน้ากากผ้ามีความสามารถในการสะท้อนน้ำได้จริงๆแล้ว

หรือคุณอาจจะสารสะท้อนน้ำ สำหรับผ้า ที่ได้รับการออกแบบความเข้มข้นจำเพาะ เพื่อให้คนปกติแม่บ้านหรือพ่อบ้าน ที่อยู่ที่บ้านไม่ได้นักเคมี เอามาฉีดพ่นหน้ากากผ้าได้ด้วยตัวเอง น้ำยากพวกนี้ อาจจะเรียกกันในท้องตลาดว่า “สเปรย์ฉีดหน้ากากผ้า” โดยเฉพาะ

ที่บอกว่าน้ำยาพวกนี้มันสามารถเอามาฉีดพ่นเองที่บ้านได้ก็เพราะ มันใช้หลักการที่ง่ายๆ ในการทำให้มันติดกับหน้ากากผ้าด้านนอก กล่าวคือ วิธีใช้สเปรย์ฉีดหน้ากากผ้า นั้นทำได้ง่ายๆ เพียงฉีดพ่นไปบนหน้ากากผ้าที่สะอาด (ผ่านการซักมาแล้วและแห้ง) ที่ด้านนอกประมาณให้มีีความชื้นของเคมีน้ำยาประมาณหนึ่ง หากอ่านคู่มือจะบอกว่าประมาณ 15 กด เป็นต้น เมื่อฉีดแล้วก็เอาหน้ากากผ้าชิ้นนั้นไปรีดด้วยความร้อนได้ทันที ด้วยเครื่องเตารีดปกตินั่นน่ะแหละ อาจจะปรับความร้อนให้มากเสียหน่อย ซึ่งอ่านจากปฏิกิริยาเคมีและ เราพบว่า เขาต้องการความร้อนที่ 140-160’c แค่ไม่เกินประมาณ 30-60 วินาทีเท่านั้นเอง ตาม Youtube VDO ด้านล่างที่ลองทำกับหน้ากากผ้าที่บ้านที่มีอยู่แล้ว

สรเปย์พ่นหน้ากากผ้า HYDROVA สาธิตและทดสอบการฉีดพ่นเพื่อให้ติดกับหน้ากากผ้าที่มีอยู่แล้ว ทำเองได้ที่บ้าน

สเปรย์พ่นหน้ากากผ้า พวกนี้นั้นจริงๆแล้วเป็นสารเคมีที่ไม่เป็นอันตรายเพื่อทำการผสมละลายส่วนมาแล้ว (สำเร็จรูป) และ มีการใช้งานกับอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มอยู่แล้วเป็นปกติรวมถึงการใช้กับหน้ากากอนามัยอีกด้วย โดยหากคุณต้องการรายละเอียดความลึกและความปลอดภัยทางเคมีแล้ว ยังมีเรื่องให้อ่านอีกแต่ไม่ต้องรู้ก็ได้กดที่นี่

รู้หรือเปล่าว่าหน้ากากอนามัยใดๆอย่าเอาแอลกอฮอล์ไปฉีดมัน !

ถ้าหากว่าคุณคิดว่าอยากจะเอาหน้ากากอนามัยกลับมาใช้ซ้ำนั้นโดยการฉีดแอลกอฮอล์เพื่อฆ่าเชื้อ ถือได้ว่าเป็นความคิดที่ผิดพลาดมาก ๆ เพราะ มันจะทำให้ความสามารถในการกันน้ำได้ของหน้ากากอนามัยเสียไปเลย เพราะสารกันน้ำพวกนั้นมันกลัวแอลกอฮอล์ มันจะทำให้สารกันน้ำ (สารสะท้อนน้ำ) มันละลายไปไม่เกาะกับหน้ากากอนามัยอีก และ ยังผลคือ หน้ากากอนามัยนั้นถือได้ว่าเสื่อมประสิทธิภาพในการกันน้ำ หรือการสะท้อนน้ำแล้วนั่นเอง

ทั้งนี้ ได้มีอาจารย์ภาคสุขลักษณะอนามัย ได้มีการทำคลิปออกมาประกาศให้โลกได้รู้กันแล้ว่าอย่าคิดแม้แต่จะทำ เพราะ มันทำให้น้ำรั่วได้สุดๆเลยก็ว่าได้ตาม Youtube นี้

วีดีโอคสาธิตการพ่นแอลกอฮอล์ไปที่หน้ากากอนามัย ! ไม่แนะนำให้ทำอย่างแรง

ถ้าเลือกได้อย่าเลือกหน้ากากผ้าที่มีการเย็บเป็นตะเข็บกลางหน้ากากผ้านั้น

เราน่าจะเห็นหน้ากากผ้าเยอะแบบและเยอะทรงเอามากๆในตลาดที่ผู้ออกแบบหรือคนผลิตเพื่อจำหน่ายไม่ได้คิดหรอกว่า มันเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้กับคนสวมใส่หรือเปล่า เช่น หน้ากากผ้าประเภทหนึ่งที่ เราแนะนำให้เลี่ยง และ กรมวิทยาศาสตร์บริการก็แนะนำเช่นเดียวกันว่า อย่าไปใช้มันได้ก็น่าจะดี ถ้าหากว่า คุณยังมีทางเลือกที่ดีกว่านั่นก็คือ หน้ากากผ้าที่มีการเย็บแบบมีรอยเย็บตรงกลาง

ทำไมน่ะหรือ ? เหตุผลตรงไปตรงมาเหมือนกับกรณีแรกนั่นเอง คือ ด้านนอกนั้นเราไม่อยากให้มีน้ำลายละอองจากภายนอกไหลผ่านเข้ามาได้ แต่หากว่า หน้ากากผ้านั้นดันมีตะเข็บเย็บให้เราเห็น แปลว่า น้ำกากผ้านั้นยินดีต้อนรับน้ำมูกน้ำลายละอองต่างๆเพื่อซึมเข้ามาผ่านช่องตะเข็บตรงกลางหน้ากากผ้าได้ยังไงอย่างงั้น ซึ่งเราไม่อยากจะใส่หน้ากากผ้าที่ไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันเหล่านี้หากเลือกได้

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้เป็นหน้ากากสี่เหลี่ยมแบบมีจีบเพื่อที่จะสามารถเข้ากับหน้าได้ดี และ ไม่มีการเย็บจะเข็บกลางหน้ากากเหมือนกับภาพขวา

เรื่องทั้งหมดนี่พิมพ์สรุปเอาไว้เพื่อเป็นบทความสำหรับเผยแพร่ให้กับคนทั่วไป และ เป็นเรื่องส่วนตัวแล้วคิดว่าคนอื่นๆน่าจะไม่รู้กันหรือรู้ไม่ครอบคลุมทั้งหมดนี้ การเลือกหน้ากากผ้านั้นจะต้ออาศัยความเข้าใจเพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสในการป้องกันโรคติดต่อจากคนอื่นๆได้ หากคุณคิดว่าบทความนี้ประโยชน์ฝากแชร์ให้กับเพื่อนๆของคุณด้วย เพื่อให้เขาเหล่านั้นปลอดภัยอยู่รอดจากสถานการณ์โควิดสิบเก้านี้ไปได้ด้วยดี

Exit mobile version