rackmanagerpro.com

ภาคผลิตง่ายกว่างานขายเป็นไหนๆ เมื่อรู้แบบนี้แล้วจะทำยังไงให้เกิด โอกาสขายกันล่ะ ?

shapoo-sample 
เมื่อวานนี้ผมได้มีโอกาสเข้าไปที่โรงงานผลิตสินค้าประเภทเครื่องสำอางแห่งหนึ่ง (ไกลจากบ้านผมประมาณ 1 ชั่วโมงเดินทางครับ) แล้วโรงงานนี้ผมเคยได้เข้าไปดูกระบวนการผลิตมาแล้วอีกต่างหาก โรงงานแห่งนี้จัดได้ว่าเป็นโรงงานที่ผลิตเครื่องสำอางให้กับ Brand (หรือใครก็ตามที่ว่าจ้าง) โดยไม่ได้ทำการตลาดสินค้านั้นให้แต่อย่างใด ศัพท์ที่ใช้เรียกโรงงานประเภทนี้ ก็จะเรียกว่า OEM ครับ ซึ่งโรงงานผู้ผลิตเยอะโรงมากในไทยก็จะเป็นโรงงานแบบนี้ครับ ไม่มีการ Design สินค้าเพื่อทำสินค้าตรงไปยังผู้บริโภคเอง แม้ว่าจะเป็นสินค้าที่ผลิตเพื่อขายยัง Consumer โดยตรงก็ตามที

เมื่อตอนที่เดินโรงงาน ผมก็เห็นว่าแท้ที่จริงแล้วโรงงานที่ทำเครื่องสำอางจะใช้คนงานใน Line การผลิตค่อนข้างมาก แม้ว่าจะมีเครื่องจักรบ้าง ก็ทำได้แค่ในส่วนของการกวน ผสม ต้มให้ความร้อน ใส่เคมี เหมือนกับเป็นกระบวนการเพื่อทำให้ได้สารเคมีรวม (เครื่องสำอาง) ในรูปแบบต่างๆกัน แล้วก็เข้าสู่กระบวนการเอาสารเคมีนั้นอัดเข้าไปในหลอดหรือกล่อง อย่างไรก็ดี สุดท้ายตอนที่ทำการ packing ก็จะให้คนทำอยู่ดี เพราะ การ packing จะมีรูปร่างของกล่องที่จะใส่ไม่แน่นอนขนาดไม่แน่นอนแล้วก็ label ต่างๆไม่แน่นอนแล้วแต่ Brand จะมีการกำหนดมาว่าจะให้ใส่อะไรในกล่องบ้าง หรือว่าจะให้จัดกล่องติดสติ๊กเกอร์ออกมาที่ไหนอย่างไร แล้วจะ pack ใส่กล่องแบบโหลหน้าตาแบบไหน เนื่องจาก Movement ที่ซับซ้อนก็ไม่มีเครื่องที่จะทำได้โดยตรงแต่ประการใด เพราะในทางกลับกัน การใช้เครื่องจักรนั้นเป็นการลงทุนเพื่อทำงานอะไรที่ซ้ำซากและมีกระบวนการที่แน่นอน ถึงจะคุ้มค่าต่อการลงทุนติดตั้งเครื่องจักรเพื่อทำงานแทนคน

โดยรวมแล้วถ้าหากว่าเห็นกระบวนการ และเห็นเครื่องและการ packing สินค้าเพื่อใส่กล่องและส่งไปยัง Distribution Channel ของคนอื่นแล้ว ก็จะเห็นได้ว่า ถ้าหากว่าคุณอยากทำเครื่องสำอางเมื่อไหร่ เรื่องการผลิตไม่ได้ยากแม้แต่น้อย มีผู้รับจ้างที่จะทำได้อยู่แล้ว โดยสิ่งที่จะต้องเตรียมไปก็คือ concept ของสินค้าหรือเครื่องสำอางนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็น ตัวอย่าง หรือกลิ่นที่อยากจะได้ อาจจะใช้วิธีการเล่าก็ได้ โดยทีมงานพวกนี้จะมีแผนกที่รับ requirement ลูกค้าและ support เพื่อให้เกิดจากว่าจ้างให้ได้นั่นเอง ถ้าหากว่าคุณอยากจะได้กลิ่นแบบไหนก็จะมีตัวอย่างกลิ่นให้ดู อยากได้เนื้อครีมแบบไหนก็จะมีเอาตัวอย่างมาให้นวดจับ สัมผัสดูในทุกอย่างทุกมิติจริงๆ เพราะงั้นถ้าหากว่าคุณไปตัวเปล่าๆ เลยก็ยังทำให้ทีมงานพัฒนาสินค้าพวกนี้ สร้างตัวอย่างเพื่อเสนอคุณได้อยู่ดีครับ แค่เล่าให้ทีมงานพวกนี้ฟังว่าอยากจะได้สินค้าเครื่องสำอางแบบไหน หน้าตาเป็นอย่างไร อยากจะให้รสสัมผัส(ผ่านหู จมูก สัมผัส) เป็นอย่างไรเท่านั้นก็เพียงพอแล้ว ที่ทีมพัฒนาสินค้าจะทำตัวอย่างสินค้าออกมาให้ดูเพื่อกำหนดสูตรเป็นสูตรเฉพาะของ เครื่องสำอางของคุณ

อย่างไรก็ดี คุณจะต้องมี packaging หรือติดต่อกับโรงทำ package เอาไว้แล้ว แล้วก็เอา package มาให้เค้าเพื่อให้ pack สินค้าพวกนี้เข้ากล่องให้คุณ เค้าก็จะจัดการเอาเคมีผสมกวนตี ใส่หลอดที่คุณเตรียมมาทำออกมาเป็นหลอดเครื่องสำอางประเภทใดๆก็ตามที่คุณอยากจะได้

ฟังดูแบบนี้เหมือนว่าภาคการผลิตไม่ได้เป็นปัญหา แม้แต่น้อย ถ้าหากว่าคุณรู้ว่าใครคือผู้รับจ้างผลิตยิ่งถ้าหากว่าคุณรุ้อีกว่า ผู้รับจ้างผลิตนั้นทำให้ Brand ชั้นนำอะไรบ้างมาแล้ว ยิ่งเป็นการเพิ่มความมั่นใจเข้าไปอีกว่า สินค้าของคุณที่คุณสั่งผลิตนั้น ต้องทำออกมาได้มาตราฐานอย่างแน่นอน (แต่ว่าคุณภาพก็แล้วแต่ว่าคุณเลือกระดับราคาต้นทุนเป็นอย่างไรมากกว่า) ปัญหาไม่ได้อยู่ที่การผลิต แต่กลับโยกไปอยู่ว่า การสั่งผลิตแต่ละครั้งนั้นก็จะมีปริมาณขั้นต่ำเพื่อเป็นการกั้น ผู้ใช้งานทั่วไป กับผู้ผลิตเพื่อขายออกจากกัน แต่แท้ที่จริงแล้วเรื่องนี้ ขั้นต่ำจะติดไปที่เรื่องของการ packing เสียมากกว่าเพราะว่า การสั่ง packaging นั้นจะมีปริมาณมากแล้วแต่รูปแบบอุปกรณ์ในการ pack ของคุณว่าจะเป็นแบบไหน (ผมยังไม่ได้ศึกษามากหรอกนะครับ) แต่สำหรับกระบวนการกวนผสมสร้างเคมีออกมานั้นคิดว่า ขั้นต่ำก็น่าจะมีเหมือนกันแต่น่าน้อยกว่าปริมาณของหลอด packing ที่เราสั่งครับ ทำให้อย่างไรก็ดี การสั่งก็จะเป็นจำนวนอยู่ระดับหนึ่งอยู่ดี ทำให้คิดต่อไปได้ว่า ถ้าหากว่าคุณมีของใดๆที่เป็นไปตาม concept ของคุณแล้ว คุณจะเอาเครื่องสำอางแบบนี้แบบนั้นที่คุณได้ความ concept มาแล้วไปขายใคร อะไรที่ไหน อย่างไรกันล่ะครับ !?

ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าหากว่าคุณสั่งผลิตแชมพูแบบที่คุณอยากได้ แปะ Brand ของคุณเข้าไปแล้ว สั่งผลิตออกมาสัก 2000 ขวด .. เมื่อคุณได้ของมาแล้ว ก็เอามาเก็บเอาไว้ที่บ้านอย่างงั้นหรือ ? ดูเหมือนว่าการเอาของทีมีไปขาย หรือถ้าหากว่าคุณไม่มีของ คุณจะทำให้เกิดความโอกาสขายได้อย่างไรแล้วค่อยมาสั่งผลิตก็ยังได้ ซึ่งแนะนำว่าน่าจะต้องคิดแบบหลังคือ "การสร้างโอกาสขาย แล้วจึงทำการสั่งผลิต" เพราะแบบหลังสิ่งที่เราต้องมีก็แค่ sample เพื่อนำเสนอเท่านั้น

มองรวมๆแล้วไม่ว่าจะเป็นการสร้าง flow ของสินค้าจากการสร้างความต้องการ จัดหาสินค้าด้วยการสั่งผลิต การนำพาสินค้ากระจายไปยังคนที่ต้องการนั้น แบบ Traditional way แนวคิดแบบดั้งเดิมน่าจะมีอยู่แบบเดียวก็คืออย่างที่ผมว่าไป คือ "การสร้างโอกาสขายด้วย sample หรือ stock บางส่วน แล้วนำเสนอ หรือถ้าหากว่าไม่พอหรือมีจำนวนก็สั่งผลิต" ผมว่า ผมลองคิดต่อดีกว่าถ้าหากว่าเป็นแบบนี้อะไรเป็นประเด็นที่เราต้องคิดต่อไปบ้าง ?

รูปแบบการ”สร้างโอกาสขาย” ด้วย SAMPLE หรือ STOCK

สร้างตัวอย่างเพื่อให้เพียงพอให้ลูกค้าหรือหน้าร้านเอาไปทดสอบขาย : ถ้าหากว่าเราจะสั่งผลิตไม่ว่าเป็นสินค้าประเภทใดๆก็ตามเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงให้น้อยทีสุดเท่าที่จะทำได้ก็คือ การผลิตสินค้านั้นๆออกมาเพือ่เอาไปทดสอบขายให้น้อยเข้าไว้ ยิ่งน้อยยิ่งดี โดยคำว่าน้อยก็จะมี limit ของมันคือ มันจะต้องน้อยเท่าที่การทดสอบนั้นจะทำได้

เข้าไปติดต่อเพื่อนำเสนอสินค้าไปยังร้านค้า Distribution Channel เดิมที่เห็นอยู่แล้ว : โดยขั้นตอนนี้จะต้องใช้ saleforce ด้วยคนทีสร้างขึ้นมา ขั้นนี้ถ้าหากว่าคุณไม่ได้จ้างคนอื่น คุณก็ต้องพอจะมีใจกล้าหน้าด้านพอควรเพราะเป็นงานขายโดยตรงแล้ว หรือว่าคุณก็ต้องมี connection เพื่ออย่างน้อยก็เข้าไปนำเสนอสินค้าได้อยู่ดี หรือในทางกลับกันถ้าหากว่า คุณมีอำนาจเงินอยู่บ้าง คุณสามารถที่จะซื้อคนที่เคยทำงานอยู่ในหมวดนั้นๆ เพื่อเอา Connection เดิมของคนๆนั้นเพื่อให้เกิด "โอกาสขาย" (เพื่อนำเสนอสินค้า) ต่อไปได้เช่นเดียวกัน โดยประเด็นนี้สรุปเท่าที่ผมคิดออก ก็จะเป็นว่า

1. Direct Sales : คุณเข้าไปติดต่อร้านค้าได้เองเพราะว่าคุณใจกล้าเป็น sales ที่ดี
2. Your Personal Connection : คุณเข้าไปติดต่อเอง เพราะ คุณก็อยู่ในวงการนี้อยู่แล้ว และมี connection เดิมๆอยู่แล้ว ทำให้คุณรู้ว่าสินค้านั้นๆจะเอาไปเสนอขายกับใครได้
3. Relatives and Friends of Friends’ Connection : คุณมีเพื่อน คนรู้จักที่มีช่องทางการขายอยู่แล้วเอาสินค้าเข้าไปเสนอเพื่อให้ทดสอบขายได้ ลองคิดดูว่ามีเพื่อนที่คุณรู้จักทีมีหน้าร้าน ร้านค้า หรือ product Distribution อื่นๆอะไรบ้างหรือไม่ (ตอนนี้ล่ะที่คุณจะเริ่มหาประโยชน์จากเพื่อนฝูงได้บ้างไม่มากก็น้อยหลังจากที่คบหากันมานานครับ)
4. Experienced Sales’ Connection : คุณอาจจะ "จ้าง" คนอื่นเพื่อมาทำหน้าที่ 1,2,3 ข้างต้นแทนตัวคุณได้ โดยถ้าหากว่าจะให้ดีที่สุด หาคนที่มีประสบการณ์ขายสินค้าอยู่แล้ว เช่น เค้าจะพอรู้จักคนที่เคยซื้อสินค้าประเภทนั้นๆอยู่แล้ว จากประสบการณ์การทำงานขายสินค้าในหมวดเดียวกันหรือใกล้เคียงกับสินค้าที่คุณจะขาย อย่างน้อยก็เพื่อเสนอสินค้าที่เป็น sample ที่เราสร้างมาใหม่ เพื่อเปิดตลาดได้ กับคนที่มีหน้าร้านหรือช่องทางการขายอยู่แล้ว
5. Create your own Distribution Channel : สร้างช่องทางการขายหรือกระจายสินค้าด้วยตัวคุณเอง ! แบบนี้โหดสักหน่อย เพราะถ้าหากว่าคุณไม่ได้เก่ง marketing จริงๆแล้ว เก่งพอที่จะสร้างตลาด หรือเจาะตลาดสินค้าใดๆก็ได้ (เพราะอยู่ๆคุณก็ทำเครื่องสำอาง หรือว่าอยู่ๆคุณก็ทำสินค้าอิเล็คทรอนิกส์) ถ้าหากว่าทำได้แน่นอนว่าคุณจะเอาสินค้าใดมาขายก็ได้ หรือจะจ้างใครมาผลิตสินค้านั้นๆให้คุณก็ได้เช่นเดียวกัน สร้างหน้าร้านเอง เพื่อทดสอบ หรือสร้างหาทางขายสินค้านั้นๆในรูปแบบที่ตัวเองทำเองจริงๆไม่ได้เป็นแบบใช้ Channel 1,2,3,4 ที่ผมได้กล่าวไปเบื้องต้น

ลักษณะการเปิดตลาด และสร้างโอกาสขาย เมื่อเรามีสินค้าตัวอย่าง หรือสินค้า stock ไว้ในปริมาณที่เพียงพอต่อการนำเสนอ และทดสอบขาย ทั้ง5 แบบที่ผมพิมพ์เอาไว้ด้านบนนี้ ไม่ได้มีอะไรใหม่เลยแม้แต่น้อย .. แต่ว่า ตอนที่เมื่อคืนมานั่งคิดนั้นดันคิดไม่ออก ต้องมาพิมพ์เอาตอนเช้าแบบนี้ แล้วก็พิมพ์เอาไว้ที่ blog ผมถึงจะเห็นทำออกมาเป็น list อย่างที่เห็นนี่ได้ครับ มันอาจจะดูไม่ได้มีอะไรแปลกใหม่อะไร เพราะมันก็เป็นแค่แนวคิดปกติที่ ผมเห็นว่ามันต้อง works และใครๆก็ทำกันแบบนี้ มาตั้งแต่ไหนแต่ไรในทุกๆกาลสมัย และในทุก product อยู่แล้วนั่นเองครับ

สำหรับ Pharse ทดสอบเพื่อสำเสนอสินค้าและเป็นการสร้าง"โอกาสขาย" ผมน่าจะเลือกแบบ 2 ,3 หรือ 4 น่าจะดีกว่าเพราะว่า ผมเองก็ไม่ได้มีความรู้สึกว่าเป็นคนขายของที่ดีสักเท่าไหร่ อย่างดีทีสุดผมก็จะขายเพื่อนๆด้วยกันนี่น่ะหละ เป็นสิ่งที่พอจะทำได้ หรือที่ผมทำได้แน่นอนคือการว่าจ้างคนที่มีประสบการณ์ในหมวดสายงานของนั้นๆเข้ามา โดยหาคนผ่านทาง website สมัครงานต่างๆนานา ก็แอบมีต้นทุนเพื่อการ Listing ความต้องกาารคนเข้าไปยัง website เหล่านั้นนิดหน่อยเท่านั้นเอง แต่สำหรับคนที่เก๋าเกมส์และชอบเสี่ยงกว่าผมมากๆ และต้องการความท้าทายในขีวิต การเลือก options 5 สร้างช่องทางขายเองนั้นก็ไม่ได้แย่อะไรเพราะเป็นการฝึกประสบการณ์ไปในตัว ไม่แน่น่ะครับ ว่าคุณอาจจะเก่งในการสร้างช่องทางขายเองก็ได้ครับ

เอาเป็นตอนนี้การผลิตใดๆมองว่าง่ายเหลือล้ำ หรือจะได้ของอะไรก็เอามาจาก Alibaba ก็ง่ายอยู่ดี (ถ้าหากว่าคุณคุย English OK นะครับแล้วก็มีรู้เรื่องนำเข้าส่งออกหรือติดต่อเพื่อให้เกิดการนำเข้าส่งออกได้) แต่เมื่อได้ของมาก็เอาไปเสนอเป็นตัวอย่างและ KeyPoint ที่สำคัญก็คือ การ "สร้างโอกาสขาย!" เท่านั้นที่คุณต้องการ !

คำค้นหาของคุณที่มาเจอหน้าเว็ปนี้:

Exit mobile version