เรื่องดีๆเกี่ยวกับ Yahoo รู้รอบประเทศไทย

หลังจากที่ได้แวะเวียนไปที่ Yahoo รู้รอบได้สักพัก (มันก็ตั้งแต่วันแรกที่เว็ปเิปิดเลยน่ะครับ) ผมก็ถามๆตอบๆอยู่ในนั้นอยู่บ้างไม่มากมายอะไรนัก แต่่ว่าส่วนตัวแล้ว ผมเห็นว่ามันเป็นทางออกหนึ่งสำหรับการสร้างเนื้อหาที่แตกต่างออกไปจากการแสดงความเห็นรูปแบบเก่าๆไม่ว่าจะเป็น webboard หรือ รูปแบบใหม่ๆ ที่เรียกว่า Blog แล้วมันก็แตกต่างออกไปจาก search engine อีกด้วย เรียกได้ว่าการถามตอบมันอีกกระบวนการหนึ่งที่ทำให้โลก online มี content ที่มากขึ้นอีกส่วนหนึ่ง (แม้ส่วนตัวแล้วผมคิดว่าอาจจะรองๆลงมาจาก Blogging อยู่บ้าง)
โดยรวมแล้วไม่ว่า การพิมพ์เนื้อความขึ้นไปเพื่อให้เก็บเอาไว้ในโลก online ไม่ว่าด้วยวิธีใดก็ตามทำให้ชาวโลกมีข้อมูลที่ค้นหา (ผ่าน search engine ) ได้มากขึ้นร้อยเท่าพันทวี การสร้างเว็ปไซท์จะทำได้ง่ายขึ้น ราวกับไม่ต้องมีความรู้อะไรนอกจากเปิดหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ต่ออินเตอร์เน็ตและใช้ mouse กับ keyboard เป็น อย่างน้อยที่สุด Google หรือ search engine ยี่ห้อใดๆ จะเป็นตัวเปิดหน้าต่างให้คนๆนั้นค้นหา หาความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่สนใจได้อย่างไม่จำกัด คนเราจะเีรียนรู้เรื่้องที่เราสนใจได้ง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อน(ยุคที่มีแต่ห้องสมุด)ได้มากมายก่ายกองนัก ผนวกกับความรู้ทางด้านภาษาของผู้รับสื่อก็จะทำให้ยิ่งเปิดรับความคิดความอ่านหรือความรู้ได้ด้วยก็แค่เหตุผลการภาษาเท่านั้น
ย้อนกลับมาที่ Yahoo รู้รอบกัน สัปดาห์ที่ผ่านมาผมเห็นของรางวัลแล้วอยากจะได้(เจ้ารางวัลนี่ก็คือ แผ่นจุกที่เอาไว้ติดรถโดยมีโลโก้ของเว็ป Yahoo รู้รอบครับ) พออยากได้ก็ติดตามดูว่าจะทำยังไงถึงจะได้ ผมได้คำตอบกลับมาเกือบจะทันทีว่า แค่เขียนเนื้อความครึ่งกระดาษาเอสี่ เขียนเกี่ยวกับความรู้สึกว่า รู้สึกอย่างไรกับ Yahoo รู้รอบบ้าง ? เท่านั้น ผมก็พิมพ์ไปในทันควันแล้วก็ส่งทาง email ไปครับ สัปดาห์ต่อมาซึ่งผมก็ไม่อยู่เพราะติดเรื่องต้องไปดูเครื่องจักรที่งาน ITMA Asia เครื่องจักรที่ เซี่ยงไฮ้ ทำให้ขาดการออนไลน์ไปประมาณ 1 สัปดาห์แล้วมารู้อีกว่า ทาง Yahoo ก็เอาเนื้อความผมปะขึ้นบล็อคไปซะแล้ว ก็รู้สึกดีนะครับที่เนื้อความเราได้เอาไปปะไว้ ให้คนอื่นได้อ่าน ให้คนอื่นได้รู้ความคิดความรู้ที่ดีต่อ community ดีๆแห่งนี้ ผมก็เลยขอเอามาปะไว้ที่นี่ด้วยแล้วกันนะครับ

To : คุณปิงปอง
From :Rackmanager

rackmanager

ความรู้สึกที่มีต่อ Yahoo! รู้รอบ ถามผมผมก็ตอบครับ ^_^

ครั้งแรกสุดผมเล่น version ฝรั่ง ก็ต้องถามและตอบเป็นภาษาฝรั่งครับ แล้วมันก็ถามอะไรที่เฉพาะคนท้องถิ่นไทยอย่างเราๆ มาถามๆ กันครับ วันแรกที่เห็นว่า มันมีปุ่มประเทศไทยให้กดด้วยแปลกใจมากแล้วก็ไม่คิดว่าจะมีให้ใช้ครับ (ตอนแรกคิดแบบนั้นจริงๆ) พอได้ใช้ก็ดีใจครับ เพราะว่าเราถามอะไรได้มากกว่าที่เราเคยถามกับ version ฝรั่ง

ผมว่าผมก็เป็นคนแรกๆที่ได้ใช้งานตั้งแต่ยังไม่ค่อยมีคนสักเท่าไหร่ จนตอนนี้ผมจำหน้าคนใหม่ๆ ไม่ได้สักเท่าไหร่ แต่ก็จะมีหน้าเดิมๆ ที่คอยตอบคำถามในหมวดเดิมๆ อยู่เช่นเคย (ผมมักจะถามเรื่องคอมๆ น่ะครับ) ทำให้รู้สึกได้ถึงความอบอุ่นที่ได้รับคำตอบจากคนที่เค้าไม่จำเป็นต้องบอก หรือตอบเราก็ได้ มันเป็นความรู้สึกที่แปลกมากจริงๆ ที่ว่าคนที่เค้ารู้ในเรื่องนั้นๆก็พยายามที่จะบอกข้อมูลกับเราให้ดีที่สุด เท่าที่เค้าเหล่านั้นจะทำได้ มันจะเริ่มรู้สึกได้ถึงความเป็นสังคมเพื่อความแบ่งปันทางปัญญาอย่างแท้จริง ครับ

คนอื่นๆ ที่ผมเห็นเป็นแค่ Avatar แต่ว่าผมจำชื่อแล้วก็รูปภาพประจำตัวของแต่ละคนได้ชัดเจน รู้สึกขอบคุณทุกครั้งที่มีคนมาตอบ ด้วยระยะเวลาอันสั้น (บางครั้งสั้นแค่ว่า วางปุ๊บรอสองนาทีก็มีคนตอบแล้ว) การถามตอบแบบนี้ผมจะถามข้อมูลที่ค้นหาไม่ได้ หรือว่าผมค้นหาแล้วไม่เจอ ไม่ได้ดั่งใจก็เลยต้องถาม

นอกจากตัวผมแล้ว คนทีดีใจที่ได้รับคำตอบไม่ได้มีแค่ผมคนเดียวนะครับ คำถามบางคำถามผมฟังจากคนอื่น อย่างเช่นพ่อผม ที่เค้าไม่ได้เล่น internet ผมก็เอาถามให้เค้าอย่างเรื่อง ที่ผมถามไว้ว่า เอ.. ร้านสุกี้แคนตั้นย้ายไปที่ไหน? ผมเองก็หาข้อมูลมานานแล้ว แต่ว่าค้นหาก็ไม่ได้เจอข้อมูลว่ามันย้ายไปที่ไหน หาเบอร์จากหน้าเหลือง(online version) แล้วโทรไปหาเบอร์ร้านก็ไม่มีคนรับ สุดท้ายแล้วผมก็ลองถามที่นี่ล่ะครับ

แล้วผมก็โทรไปบอกพ่อผมว่า .. ป่าป๊า .. ผมน่ะครับรู้แล้วว่ามันอยู่ที่ไหน แล้วผมก็บอกว่ามันเป็นคำตอบจากคนที่มาปะคำตอบเอาไว้ในคำถามที่ผมตั้ง วันนั้นพ่อผมก็ได้กินร้านโปรดของเค้า ผมว่าเค้าคงดีใจอยู่เหมือนกันว่า ในที่สุดก็หากินทีเดิมๆ ได้จนพบ (มันจะอะไรกะเรื่องกินขนาดนี้เนาะ แต่ว่าบ้านผม serious เรื่องกินน่ะครับ) พอได้กินก็มีสุขดี ได้กินสุกี้กันถ้วนหน้า พร้อมหน้ากับร้านอาหารเดิมที่อยู่ที่ใหม่ ที่คิดว่าจะไม่ได้ไปกินแล้ว … มัน happy นะครับ ความสุขเห็นเล็กๆแบบนี้ ก็ต้องบอกตรงๆก็เพราะ

“ได้คำตอบมาจากที่นี่เองหละครับ th.answers.yahoo.com ”

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *