rackmanagerpro.com

เข้าฟังสัมนาเกี่ยวกับทิศทางรถไฟฟ้า EV ในประเทศไทยจากหลายหน่วยงาน Nov. 2016

เนื้อหาจากการประชุมเกี่ยวกับโอกาสในการใช้รถไฟฟ้า EV ณ ปี 2016 เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ปรากฏว่ามีคนหลายคนจะหาโอกาสเพื่อเข้าตลาดนี้ และ ยังดูเหมือนว่าฝุ่นตลบอยู่ มีทั้งคนที่ประกอบรถในไทยอยู่แล้ว หรือ คนที่คิดว่าจะนำชิ้นส่วนเข้ามาในไทย

มาตราการของรัฐโดย มอก. จะมีการกำหนดว่า หัวต่อแบบใดจะใช้กับ EV ของไทย เพื่อไม่ให้มั่วมาก สำสำหรับเรื่องหัวที่ แต่ละประเทศก็มีการกำหนดรูปแบบหัวออกมาเป็นของตัวเองกันหมด ญี่ปุ่น บ้างยุโรปบ้าง หรือแม้กระทั่งจีนบ้าง ?

ที่ ปตท. เริ่มทำปั้มที่มีหัวต่อไฟฟ้าแบบนี้แล้วประมาณ 20 แห่ง เพื่อให้เป็นต้นแบบเท่านั้น ไม่คิดว่าจะมีรถไฟฟ้าเข้าไปใช้บริการกันเท่าไหร่ เพราะประเด็นคือ มันจอดรถนานเท่านั้น การอยู่ปั้มไม่น่าจะใช้ทางออกนัก แต่น่าจะเป็นพื้นที่ประเภทอื่นที่จะเหมาะกับการจอดรถเพื่อ charge ไฟฟ้าเสียมากกว่า คาดว่าปั้มน่าจะพลาดโอกาสนี้ หากมีการใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น

ญี่ปุ่นมีการใช้รถไฟฟ้าและออกแบบรถไฟฟ้ามานานมากแล้ว แต่ก็ไม่ได้ถึง 1% ของรถทั้งหมดแต่อย่างใด มีแบรนด์ที่ฉลาดๆ คิดว่ารถไฟฟ้าน่าจะเป็นเครื่องปั่นไฟฟ้าเข้าบ้านได้อีกต่างหาก เรียกว่า มีความเป็นไปได้ในการใช้งานสำหรับบ้านที่ห่างไกลออกไป

การออกแบบรถอนาคตจะมองว่า จะมี Platform เดียว เหมือนกับ Andriod phone ไม่ได้แข่งกันเรื่องเครื่องแต่อย่างใดนัก อาการเดียวกับมือถือ คือ โครงเหมือนกันแต่ว่าแต่งกันที่ software เพื่อการขับเคลื่อนและความฉลาดในมิติอื่นๆ กำลังบอกว่า คนในสายเดิม น่าจะโดน software dev. แย่งงานกันได้ไม่ยาก หากว่ามีคนพัฒนาเพื่อให้เกิดการพัฒนาได้ dev. อิสระได้

ทุกคนเห็นเหมือนกันว่า “รถตอนนี้ก้าวแรกน่าจะเป็นแบบผสมคือ EV และน้ำมัน แต่ว่าต่างกันที่สัดส่วนเสียมากกว่า” ว่าจะใช้น้ำมันวิ่งหลักหรือว่าจะใช้ไฟฟ้าวิ่งเป็นหลัก เพราะอะไร ? ยังมองกันว่า EV ระยะวิ่งน้อยกว่าจะใช้งานเพื่อเดินทางได้ครอบคลุมงาน ถ้าหากว่าจะเดินทาง เพื่อความประหยัดนั้น คือ พวกที่เดินทางมาก แน่นอนว่าเดิมทางมากและไกล ทำให้เกิดความประหยัดที่คุ้มค่าได้ แต่ว่าตอนนี้ระยะทางเหมือนว่าจะไม่เหมาะนักสำหรับ EV ไฟฟ้าแบบเต็มๆ คนจะมองว่า น่าจะเหมือนกับรถ City car เสียมากกว่า แต่ว่าถ้าหากว่ามองเป็น city car รถมันวิ่งไม่มากนัก และ จะ care อะไรกับการประหยัด (หรือว่าใครจะแคร์สิ่งแวดล้อมอย่างงั้นหรือ ก็เปล่า !?)

มีนักออกแบบกราฟฟิกรถยนต์คนหนึ่งประเภทว่า อยากจะสร้างสินค้าที่เป็น niche ออกมาเพื่อหวังกำไรโดยการสร้างสินค้าประเภทที่ออกแบบมาเป็น custom made พิเศษ โดยจะมีอัตราการคืนทุนที่เร็ว ถ้าหากว่าขายได้ แต่ปัญหาของคนนี้เข้าใจว่า น่าจะติดที่ “จะขายยังไง?” เสียมากกว่า ก่อนที่จะหาผู้ลงทุนได้

มีคนไทยไม่น้อยรายที่มีความสามารถในการ “ประกอบการ” เพื่อให้เกิดเรื่องลักษณะที่เรียกว่า ก้ำกึ่งได้ คือ คนเหล่านี้เป็นคนที่เป็นช่างไฟฟ้า หรือเครื่องกล โดยสามารถ “ดัดแปลง” จากรถทั่วไปได้หรือว่าสร้างประกอบใหม่ก็ยังได้ เพื่อให้เป็นรถไฟฟ้าเต็มรูปแบบได้ด้วยราคาที่เหมาะสม

ดูเหมือนว่าจะมีการกำหนดเพื่อให้ส่งเสริมการผลิตอุปกรณ์สำคัญหกประการ (อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้) ให้มีการผลิตรถไฟฟ้าหรือชิ้นส่วนรถไฟฟ้าในประเทศไทย โดยจะกำหนดให้ประโยชน์ทางภาษีโดยภาครัฐนั่นเอง การทำแบบนี้ ทำให้เจ้าหน้าที่รัฐต้องศึกษาให้มากว่า จะเลือกส่วนไหนจะเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อเรียกคนจีน (หรือคนต่างชาติอื่นๆ) เพื่อให้เกิดการลงทุนในประเทศไทย

มองแล้วถ้าหากว่าราคารถไม่ได้ประหยัด ก็จะไม่มีโอกาสเกิดรถ EV เป็นแน่แท้ แต่ว่าโอกาสที่จะก่อให้เกิดรถช่วงที่ประหยัดกว่ารถทั่วไป และใช้การได้อย่าง make sense นั้นก็มีความเป็นไปได้อยู่เหมือนกัน เมื่อไหร่ ก็เมื่อนั้น จะทำให้มีสินค้าเพื่อแทรกตลาดออกมาได้ เช่น รถเล็กหลักแสน เป็นต้น

ปัญหาคือตอนนี้ภาพยังมองว่า รถไฟฟ้า คือ ของหรูหรา สำหรับแบรนด์หรูอยู่ เพราะ การออกแบบรถ และ รถแบบผสมรูปแบบพลังงาน มีความเกินในเรื่องต้นทุนอยู่

คุณสามารถ download file นำเสนอในงาน EV Nov 2016 ที่แพ็คเอาไว้เป็น rar ได้ที่นี่

Exit mobile version