rackmanagerpro.com

ประมวลพฤติกรรมการซื้อของ online คนไทยที่(ไม่)เหมือนกับชาวโลกประเทศอื่น

ecommerce 

e-commerce เปลี่ยนพฤติกรรมการขายและซื้อแบบไทยจากโลกจริงกันอยู่หลายประเด็นมากทีเดียว และพฤติกรรมการซื้อและขายของคนไทยก็มีเอกลักษณ์จากคนประเทศนอกอีกต่างหาก ถ้าหากว่ารู้อย่างงี้ก็ทำไปตั้งนานแล้ว แต่ผมเองก็ไม่ได้ถึงกึ๋นคนไทยสักเท่าไหร่หรอกครับ ต้องให้คนอื่นเค้ามาบอก และ ก็ต้องเจอกับตัวเองถึงจะรู้น่ะครับเรื่องแบบนี้ แยกเป็นประเด็นๆได้ต่อไปนี้น่ะครับ

คนไทยไม่ใช้ระบบ shopping cart : อันนี้วัดได้จากการซื้อสินค้าผ่านหน้าร้าน online ที่ผม set up เอาไว้การซื้อการขายเกิดขึ้น โดยคนซื้อไม่ได้เข้าไปกดปุ่มๆ ที่ซับซ้อน (สำหรับเค้าเหล่านั้น) ซึ่งตัวผมเองมีมุมมองว่า เป็นเรื่องจำเป็นน่ะครับ ที่จะต้องกรอกข้อมูลแล้วเลือกซื้อสินค้าจากระบบที่ทางเว็ปไซท์มี ซึ่งผมก็คิดของผมไปคนเดียวน่ะหละ คนอื่นเค้าไม่ได้คิดแบบผมน่ะครับ

คนไทยใช้โทรศัพท์คุยกันเพื่อความอุ่นใจ : เพราะประเทศเราการขายของยังคงต้องการความอุ่นใจว่าสินค้าเหล่านั้นมีผู้ขายอยู่จริง หรือ มีตัวตนอยู่จริง ต้องการการต่อรอง เหมือนกับได้คุยกันปกติ การโทรศัพท์ หรือลงเบอร์มือถือเอาไว้ที่หน้าแรกของร้านค้ากลับกลายเป็นเรื่องจำเป็น มันไม่เหมือนกับประเทศนอก ตรงนี้น่ะครับ คือ ต่างประเทศเช่น US ถ้าหากว่าโทรไปยังเบอร์ที่อยู่นอกเขตตัวเองจะโดนการ เรียกเก็บเงินสำหรับการโทรครั้งนั้นๆได้ครับ ถ้าหากว่าคุณเป็นผู้ขายก็ต้องมี online chat หรือ เป็น Live chat เอาไว้คุยได้ทันที หรือไม่ก็ต้องเสียเงินเอาเบอร์ TOLL FREE มาน่ะครับ ซึ่งเป็นความแตกต่างอย่างแรงกับคนไทยมาก เพราะประเทศเราเป็นประเทศที่การโทรศัพท์ติดต่อกันด้วยมือถือถูกที่สุดในโลกแล้ว (คนรับบางประเทศต้องเสียเงินอีกน่ะครับไม่อยากจะบอก) เพราะฉะนั้นการโทรเพื่อถามราคา หรือ เพื่อพิจารณาว่ามีตัวตนจริงเป็นเรื่องที่คนไทยจะทำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ครับผม

ความดูดีของหน้าร้านไม่ได้เป็นเรื่องสำคัญนัก : เนื่องจากพฤติกรรมสองข้อที่กล่าวเอาไว้แล้วว่า shopping cart ก็ไม่มีคนใช้ โทรศัพท์คุยกันดีกว่ามั้ยง่ายดี แล้วก็รู้อีกว่ามีคัวตนเว็ปไซท์กันอยู่จริงแล้ว หน้าตาของเว็ปไซท์ ไม่ต้องแตกต่างอะไรกับคนอื่นมากนักก็ได้ เพราะยังไง้ยังไงก็ต้องได้คุยกันดูก่อนอยู่ดี แค่ว่าเอาสินค้าไปแสดงให้เห็นก็พอแล้ว คุณจะใช้เว็ปไซท์สำเร็จรูปที่เหมือนๆกับคนอื่น ก็ไม่ได้ว่าอะไร เหมือนว่าโลกนี้มีแต่เว็ปสำเร็จรูปกันทั้งหมดน่ะหละ เป็นเรื่องปกติธรรมดาที่คนเค้าทำๆกัน

คนขายไม่ update สตีอกสินค้า : ไม่ใช่เพราะว่า back office ของระบบสำเร็จรูปไม่มีให้ update แต่เป็นเพราะคนซื้อต่างหาก มีการติดต่อสั่งซื้อผ่านวิธีการอื่นๆ เช่น การโทรศัพท์ เข้าไปแล้วก็สั่งซื้อเอาสินค้าออก คนที่จัดส่งสินค้าก็ไม่ได้เป็นคนทำระบบหลังร้าน อาจจะเป็นแค่ลูกจ้างเพื่อให้จัดการเรื่องสต้อกแล้วส่งของเท่านั้น หน้าร้าน online เลยทำหน้าที่เหมือนเป็นแค่ catalogue เฉยๆ จำนวนหรือปริมาณของพร้อมขายก็จะไม่มีความแน่นอนถูกต้องแต่อย่างใด อันนี้จะเป็นทั้งเหตุและผล ทำให้คนซื้อต้องโทรมา check สินค้าก่อนทุกครั้งว่า สินค้าที่เค้าสนใจมันมีหรือไม่ (ถ้าหากว่าใช้ shopping cart ไปแล้วก็เสียเวลาเปล่า เพราะว่าของอาจจะมีหรือไม่ก็ไม่รู้) พฤติกรรมการซื้อ เลยถูก form ตัวขึ้นมาว่าต้องโทรคุยกันครับ

สินค้าที่วางขายหน้าร้านเป็นแค่ภ

คำค้นหาของคุณที่มาเจอหน้าเว็ปนี้:

Exit mobile version