ถ้าหากว่าคุณทำงานเป็นรูปแบบบริษัททั้งเป็นเจ้าของบริษัทและพนักงานบริษัท ตอนนี้ พนักงานสามารถขอใช้สิทธิ์เพื่อเข้าฉีดวัคซีนโควิดสิบเก้าได้ผ่าน โครงการจองคิวผ่านระบบ e-service หรือ ที่เรียกเล่นๆกันว่า ม.33 โดยคนที่จะดำเนินการแจ้งกับรัฐคือ เจ้าหน้าที่ HR ของบริษัท หรือเจ้าของบริษัท หรือ ใครก็สุดแล้วแต่ที่มีอำนาจในการเข้าถึงระบบหลังบ้านของ e-service ของประกันสังคมได้
หลักการของการจองฉีดวัคซีนผ่าน ม.33 มีประโยชน์ในเรืื่อง ความเร็วมากกว่าประชาชนคนปกติ
ตอนนี้เน่ื่องจากวัคซีนยังคงขาดแคลนและทยอยเข้าประเทศมาเรื่อยๆ โดยรัฐมีแนวคิดว่า จะต้องฉีดตามลำดับความสำคัญดังต่อไปนี้ คือ 1. กลุ่มแพทย์และบุคคลสาธารณสุขทั้งหมด (และคนที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสาธารณสุข) 2. กลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มคน 7 โรคเสี่ยงที่ีเมื่อติดแล้วมีโอกาสโคม่าสูง(หรือเสียชีวิต) 3. กลุ่มคนทำงานบริการตามนโยบายของรัฐเช่น ภาคธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร 4. กลุ่มคนที่อยู่ในระบบประกันสังคมทำงานโรงงานสำนักงานและบริษัทห้างร้านที่อยู่ในระบบ 4. ประชาชนทั่วไปและคนที่ไม่ได้จ่ายเงินประกันสังคม หรือเป็นพวกทำงานนอกระบบทั้งหมด
สำหรับโครงการรับการฉีดวัคซีนจองผ่านโครงการ ม.33 นั้นคือบุคคลที่จะได้โอกาสฉีดเร็วกว่ากลุ่มคนทั่วไปแต่ไม่ได้เร็วเท่าแพทย์และกลุ่มเสี่ยง อย่างไรก็ดีการที่ได้ฉีดไวขึ้นนั้นถือได้ว่าเป็นเรื่องดีกว่า และ บริษัทผู้ว่าจ้างนายจ้างนั้นพึงประสานงานสรุปยอดความต้องการฉีดกันเองในองค์กรมาให้เรียบร้อยแล้วสมัครเข้าโครงการนี้เสีย เพื่อประโยชน์ของพนักงานที่ต้องการได้รับการฉีด เพราะ หากเขาลองผ่านระบบหมอพร้อมปกติแล้วเป็นคนกลุ่มคนที่ไม่ได้เป็นโรคเสี่ยงก็เรียกได้ว่า โดนเทกันไปเรื่อยๆทุกรอบกว่าจะได้ฉีด
เจ้าหน้าที่บุคคลเข้าไประบบหลังบ้านของ e-service ประกันสังคมแล้วดำเนินการเพิ่มรายชื่อพนักงานที่ฉีดและไม่ฉีดแยกกันไปตามวีดีโอคลิปต่อไปนี้
หน้าเว็บของ e-service ประกันสังคมนั้นจะต้องเข้าไปยังส่วนของผู้ประกอบการ เพราะ กิจกรรมการกรอกข้อมูลนี้เป็นหน้าที่ของสถานประกอบการ หรือผู้ว่าจ้างเท่านั้น ตัวพนักงานเอง จะไม่สามารถเข้าไปดำเนินการให้กับสถานประกอบการได้ เพราะต้องมีใช้รหัสผ่านประจำบริษัทเพื่อเข้าไประบบหลังบ้าน เข้าหน้าเว็บ e-service สถานประกอบการกดที่นี่
เมื่อกรอกข้อมูลเสร็จแล้วให้ค้นหาอีกครั้ง เราจะพบสถานะว่า เราได้ทำการกรอกข้อมูลแล้ว โดยวิธีการบันทึกคือ “K” แสดงไว้ ถือว่าเป็นอันเสร็จเรียบร้อย
หมายเหตุ : เราสามารถเพิ่มข้อมูลเข้าไปเป็นชุดๆได้ไม่จำเป็นต้องทำครั้งเดียวทั้งหมดทุกคน แค่เพียงว่า พนักงานกลุ่มไหนบอกว่า เราก็ค่อยเพิ่มเข้าไปทีหลังได้ ทั้งคนที่ระบุว่าฉีดและไม่ฉีด โดยรายการจะแสดงแยกบรรทัดกันในแต่ละการส่งรายชื่อแต่ละรอบ
สิ่งที่จะต้องบอกพนักงานต่อไปก็คือให้แจ้งพนักงานที่เลือกฉีดวัคซีนผ่าน ม.33 ว่าจะมีเจ้าหน้าที่ของรพ.หรือทางประกันสังคมจะโทรแจ้งวันเวลาหรือตกลงนัดหมายผ่านทางเบอร์โทรศัพท์ที่ได้กรอกเข้าไปอีกครั้ง ซึ่งการนัดหมายนั้นทางเจ้าหน้าที่บุคคลนั้นจะไม่ได้เป็นรู้เห็นกำหนดการณ์นัดหมายดังกล่าวแต่อย่างใด เป็นเรื่องความเหมาะสมของเวลาของแต่บุคคลไป
ถ้าหากว่าคุณลองสังเกตดีตอนที่เรากรอก เราจะเลือกกรอกจำนวนพนักงานในระบบประกันสังคมทั้งบริษัท แล้วก็ระบุว่า คนไหนฉีด และ คนไหนจะ “ไม่ฉีด” ซึ่งการระบุไปว่า ไม่ฉีดจะทำให้เขามั่นใจได้ว่า จะไม่เกิดการซ้อนทับกันของระบบการจองต่างๆ ส่วนตัวแล้วเคยเข้าไปที่สถานที่ฉีดของแอพหม้อพร้อม แล้วพบว่า น้องชายนั้นได้เลือกการฉีดแบบ ม.33 เอาไว้ก็ทำให้ไม่ได้รับการติดต่อจากทีมงานรพ.ของหมอพร้อม แล้วก็ต้องเข้าไปรับการฉีดของ ม.33 ตามหมายกำหนด ทั้งนี้ เรื่องที่พิมพ์เล่ามานี้เป็นเพียงข้อสังเกตเท่านั้น เพราะ สิทธิ์ของการระบุว่า ใครจะได้ใช้โครงการใดนั้นถือว่าเป็นสิทธิ์โดยสมบูรณ์ของรัฐ เพราะ เขาต่างหากเป็นคนจัดการวางแผนฉีด และกำหนดว่าใครน่าจะได้รับการฉีดผ่านโครงการใดเป็นสำคัญ
ทำไมถึงมีพนักงานระบุว่าไม่ฉีดได้ด้วยอย่างงั้นหรือ ?
ใช่แหละ ! ในมุมมองของผู้ว่าจ้างหรือนายจ้างที่อยากจะให้พนักงานทั้งหมดนั้นได้รับการฉีดวัคซีนแน่นอนและติดตามรู้ได้ว่าใครได้ฉีดแล้วหรือไม่อย่างไร ต้องบอกเอาไว้ก่อนว่า สำหรับการใช้สิทธิ์การจองผ่านโครงการจองวัคซีนสำหรับผู้ประกันตนนั้น ก็ไม่น่าจะมีคนมาบอกได้อยู่ดีว่า พนักงานคนนั้นๆได้ไปฉีดแล้วหรือไม่ มีแต่ตัวพนักงานเองนั้นแหละ ที่รู้อยู่แก่ใจว่า วันที่จองนัดฉีดนั้น เขาได้ไปฉีดหรือไม่อย่างไร ถ้าหากว่าอยากรู้จริงๆ ให้เก็บภาพหลักฐานใบรอ 30 นาทีหลังฉีดมาแสดงเห็นหลักฐานเสียมากกว่า ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลผ่านทางอื่นได้เลย หรืออีกกรณีก็คือสามารถดูข้อมูลประวัติการรับการฉีดวัคซีนในแอพพร้อมก็ได้อีกทางหนึ่งเช่นเดียวกัน (เฉพาะคนที่เปิดบัญชีหมอพร้อมเอาไว้เท่านั้น และ แน่นอนว่า เยอะคนที่ไม่ได้เปิดบัญชีหมอพร้อมอยู่ดี) ดังนั้นการถ่ายภาพสำเนาหลังฐานการรอดูอาการ 30 นาทีหลังฉีดถือว่าน่าจะเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้ที่สุดในระดับหนึ่งแล้ว
พนักงานนั้นอาจจะเลือกที่ไม่รับการจองฉีดวัคซีนโควิดผ่านโครงการ ม.33 นี้ได้ และเหตุผลนั้นก็เหมาะสมแล้ว ตัวอย่างเช่น พนักงานเข้าข่ายกลุ่มเสี่ยง 7 โรคฮิตที่ได้รับการฉีดไปก่อนหน้าแแล้ว หรือกำลังจะได้รับการฉีดในเวลาอันสั้น (คาดว่าจะต้องสั้นกว่าเข้าคิวฉีดของม.33เสียอีก) หรือ เขาจองคิวหมอพร้อมแล้วไปก่อนหน้านานแล้ว และ ได้วันกำหนดคิวเอาไว้แล้วในระยะเวลาอันสั้นนี้ (ถ้าหากว่าไกลๆแนะนำให้พนักงานเหล่านั้นเลือกมาโครงการม.33 จะดีกว่า) หรือ กรณีที่แย่ที่เป็นพนักงานคนนั้นเป็นพวกกลัววัคซีนหรือพวกต่อต้านวัคซีน ซึ่งคนที่เป็นคนกลุ่มนี้นั้นน้อยเอามากๆ เพราะ บ้านเมืองเราไม่มีพวกทฤษฎีสมคบคิดระบาดสื่อสารกันในประเทศมากเท่าใดนัก และ ทุกคนก็เห็นแล้วว่า คนที่ไม่ได้ฉีดนั้นติดแล้วมีีอาการรุนแรงมากเพียงใด ไม่คุ้มเสี่ยงที่จะไม่ฉีดเลยแม้แต่น้อย นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดอีกกรณีก็คือ พนักงานคนนั้นได้เลือกเสียเงินเพื่อจองโมเดินน่าแล้ว (ซึ่งสำหรับข้อมูลตอนนี้ เดือน 7 ปี 2564 ยังคาดการณ์ไม่ได้ว่า วัคซีนเหล่านั้นจะเข้ามาให้ฉีดในอีกกี่เดือนกันแน่ หากดีที่สุดก็จะเป็นเดือนสิบหรือห้างออกไปจากนี้อีก 2-3 เดือน) ซึ่งก็มีการศึกษามาแล้วส่วนหนึ่งว่า หากว่า เราเลือกฉีด mRNA เป็นเข็มที่สอง หรือเข็มที่สามก็ตามถือว่าได้ผลดีมากๆ เช่นเดียวกัน
โดยรวมแล้ว เจ้าหน้าที่ HR เจ้าของกิจการนั้น หากว่าอยากให้สถานที่ทำงานของท่านปลอดภัย และ มันจะปลอดภัยกับพนักงานคนอื่นๆด้วยแล้วไซร้ ควรจะอ้างอิงเหตุผลต่างๆที่มีตอนนี้ และ อย่างน้อยที่สุดให้พนักงานทุกคนได้รับวัคซีนในห้วงเวลานี้อย่างน้อยก็ หนึ่งเข็มสำหรับ AZ หรือ สองเข็มสำหรับ Sinvac เพื่อที่จะได้เกิดภูมิและมีทางเลือกในภายหลังเมื่อ vaccine ประเภท mRNA เข้ามาดาษดื่นในไทยประมาณ Q4 ของปีนี้ พนักงานเขาจะเลือกว่าเขาจะ Booths ด้วยวัคซีนใดได้ด้วยตัวของเขาเองอีกครั้งหนึ่ง
ทั้งนี้หากคุณเป็นพนักงานและต้องการให้บริษัทดำเนินการสมัครให้ เราแนะนำให้คุณแชร์เนื้อความนี้ และ Youtube VDO ด้านบนนี้ไปยังเจ้าหน้าที่บุคคล เพื่อให้เขาดำเนินการให้แทน เพราะ ตัวคุณเองในฐานะพนักงานเองแล้วนั้น จะไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเองแต่อย่างใด
เอาล่ะ ! ตาคุณแล้ว เริ่มเข้าไปสมัครจองฉีดวัคซีนโควิดโครงการ ม.33 สำหรับผู้ประกันตนได้เลยผ่านทางหน้าเว็บสำนักงานประกันสังคม โครงการ ม.33 ได้แล้วที่ปุ่มด้านล่างนี้