ผมสังเกตว่าหลังจากที่มีจังหวะหนึ่งที่ Google จะเข้าซื้อกิจการของ Groupon เมื่อประมาณเดือนก่อนที่ผ่านมา ทำให้เหมือนว่าทุกคนรู้จักเว็ปประเภทขาย coupon มากขึ้น และแล้วเว็ป copy cat ทำเป็น local โผล่อออกมามากมายโดยเฉพาะเว็ปไทยๆ ทำให้เราได้เห็นว่ามีคนร้านค้าร้านอาหารอะไรที่ดูน่าอร่อยโผล่ออกมาพร้อมกับ “ข้อเสนอสุดพิเศษ” ในด้านราคาแบบวิเศษสุดๆ ไม่สามารถอดใจไว้ได้ ผมก็มานั่งคิดสักพักว่า มันมีเหตุผลอะไรที่ทำให้เหมือนกับว่า เราอยากจะซื้อ coupon ส่วนลดพวกนี้มากนัก และอะไรบ้างที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าที่เป็นแค่คูปองส่วนลดแบบกันแน่ ?
แสดงเวลา หรือการจำกัดเวลา
การแสดงเวลาที่จำกัดก็เพื่อทำให้เกิดสภาวะความขาดแคลน (ทางเวลา) เพื่อให้คนที่จะซื้อเกิดการตัดสินใจซื้อที่รวดเร็วถ้าหากว่าไม่ได้ซื้อตอนนี้จะไม่มีให้ซื้ออีกต่อไป เพราะงั้นถ้าหากว่าตอนนี้คิดว่าคุ้มค่าก็ต้องซื้อเอาไว้ก่อนเป็นดีแน่แท้ครับ ต้องนับกันเป็นวินาทีให้เห็นเลยก็ยิ่งทำให้รู้สึกว่ามันกำลังจะหมดไปให้ตายสิ ไม่ซื้อไม่ได้แล้วน่ะครับแบบนี้
แสดงจำนวนคนที่ซื้อไป (social proof)
ถ้าหากว่า Deal นั้นๆมีคนซื้อไปเยอะแยะแล้วแสดงว่าต้องเป็น Deal ที่ดีแน่นอน แบบไม่ต้องคิดมาก ไม่ต้องมานั่งตัดสินใจเองว่า มันดีไม่ดีคุ้มไม่คุ้มเพราะคนอื่นได้ คิดและตัดสินใจเลือกซื้อไปแล้ว แล้วก็มีการแสดงตัวเลขคนซื้อไปแล้วด้วยว่ามีคนซื้อไปแล้วทั้งหมดกี่คน หรือ กี่ coupon ยิ่งซื้อมาก แสดงว่ายิ่งไม่ต้องคิดมากซื้อเลยครับ คนเราเป็นสัตว์สังคม ทำให้เราจะคิดแบบนี้กับทุกๆเรื่องครับ ยิ่งเกี่ยวกับการตัดสินใจซื้อสินค้าที่มองไม่เห็นก่อนด้วยแล้วยิ่งต้องพึงพาคนอื่นเยอะกว่าปกติมากครับ
แสดงให้เห็นว่าแผ่นคูปองมีอยู่อย่างจำกัด
เพื่อให้ effect ของความขาดแคลนนั้นส่งผลได้รุนแรงมากขึ้นกว่าเก่าไม่ได้เป็นแค่บีบด้วยเวลา แต่เป็นการบีบด้วยปริมาณอีกต่างหาก เอาหลอดพลังกับ limit ของ coupon มาแสดงให้ดูให้เห็นๆว่ามันจะหมดเอาได้ถ้าหากว่าคุณไม่ได้ซื้อมันซะตอนนี้
เอาคอมเม้นท์มาแสดงไว้ด้านท้าย
อันนี้เป็นเรื่องเดียวกับ social proof แต่เป็นอีกมิติหนึ่งเท่านั้น เนื่องจาก comment เป็นใครก็ได้เป็นเขียน หรือ คนที่สร้าง Deal เลือกใคร comment ใดๆก็ได้ที่จะเอามาแสดงดังนั้นก็ต้องเลือกให้ comment นั้นดีที่สุด และเขียนแบบบ้านๆ เอาไว้ก่อน เมื่อมี comment ที่ดีแน้วโน้มคือ มีคนการันตี (คนไหนก็ไม่รู้) มาแล้วว่ามันดีจริง สินค้าหรือบริการของ Deal นั้นๆดีจริงๆ ยังไงซะ เห็น comment นี้แล้ว ถ้าหากว่าซื้อ Deal ไปจะไม่ทำให้คุณผิดหวังอย่างแน่นอน
แสดงราคาเต็ม retail price และ แสดงตัวเปอร์เซนต์ส่วนลด
เพื่อทำให้เหมือนว่ามันลดราคาแบบจะๆ จะต้องมีแสดงตัวเลข percent ส่วนลดตัวใหญ่ๆ หรือไม่ก็แดงๆ เพื่อให้เห็นเป็น percent ว่ามันลดไปมากน้อยเท่าไหร่ แล้ว มันลดมาจากราคาไหนกันแน่ ? เพื่อให้ดูน่าตื่นเต้นกับ Deal ลดราคานั้น ยังไงซะ เหมือนกับป้าย sales ยังไงมันก็ใช้ได้ในการดังดูดความสนใจและสายตาวันยันค่ำอยู่ดีน่ะครับ
รู้หรือไม่ว่าการซื้อคูปองจะเกิดต้นทุนจมทางความคิด
มันเหมือนกับว่าเป็นการวางเงินมัดจำ ถ้าหากว่าคุณไม่ได้ใช้ coupon ทั้งๆที่คุณได้ดำเนินการมาเพื่อให้ได้มันมาแล้วด้วยความเหนื่อยยาก (กดปุ่มโอนเงินซื้อ) คุณก็ต้องการที่จะใช้มัน หรือ โดนสภาวการณ์บังคับเพื่อที่จะใช้มันอยู่ดี อาการแบบนี้จะเห็นได้ชัดกับพวกขาย coupon โรงแรมครับ แม้ว่าคุณจะไม่ได้ไปไหนมาไหนต่างจังหวัดสักเท่าไหร่ แต่ว่าถ้าหากว่าคุณได้ซื้อ coupon ที่พักมาแล้ว แล้วมันจะหมดเขต สำหรับกรณีที่แย่ที่สุด คือ คุณก็ต้องใช้มันกับโรงแรมแถวกทมนี่น่ะหละ ประมาณว่าบ้านตัวเองก็มี ยังต้องลำบากไปนอนเล่นที่โรงแรมอีก แม้ว่าค่าห้องคืนนั้นจะถูกก็ตาม แต่คุณก็จริงๆแล้วไม่ได้มีความจำเป็นต้องใช้มันแต่แรกอยู่แล้วสักกะหน่อยหนึ่งนี่ครับ ..
แท้ที่จริงแล้ว การซื้อคูปองหรือ การซื้อความเป็นสมาชิกเพื่อให้ได้ส่วนลดนั้น คนที่ซื้อไม่ได้จะมีแต่ความคุ้มค่าอย่างเดียวหรอกครับ เพราะ แท้ที่จริงแล้ว เราเอาเงินสดไปวางไว้ก่อนและ การใช้ coupon นั้นจะมีเงื่อนไข เพิ่มเติมขึ้นมา เช่น มีการกำหนดวันที่จะใช้งานคูปองนั้น จำกัดการใช้งานต่อครั้ง และ ที่ผมเห็นว่าไม่ไหวสุดๆก็คือ การต้องเพิ่มเงิน ! ถ้าหากว่าจะใช้ coupon นั้นครับ
สำหรับกรณีการเพิ่มเงินมักจะเจอกับพวก coupon ประเภทร้านอาหารแล้วมีเป็นแบบ Buffet ครับ คือ ถ้าหากว่าเค้าขาย coupon 200 บาท แล้วเราเอาเงินสดเข้าซื้อด้วยเงิน 100 บาท เค้าก็จะแสดงว่ามันเป็นการลด 50% (เหมือนเยอะเลยครับ) แต่แท้ที่จริงแล้ว ถ้าหากว่าคุณจะใช้มันคุณต้องไปจ่ายเงินหน้าร้านต่อหัวเพิ่มอีก 250 บาท ถ้าหากว่าปกติแล้วคุณไปกินอาหารแบบบุฟเฟ่ต์ร้านนี้ได้ด้วยเงิน 450 บาทเน็ทแล้วล่ะก็ แปลว่า กรณีนี้คุณจ่ายเงินไปทั้งสิ้น 350 บาท หรือเป็นการลดแค่ 100 บาทเท่านั้น (คิดเป็น % คือ 22.22%) ก็ลองคิดน่ะครับว่าถ้าหากว่า เนื้อความที่แสดง promotion นั้นบอกว่า “ซื้อ coupon ลดราคาบุฟเฟ่ต์ 100 บาท จากราคา 450 บาทเหลือเพียง 350 บาท ลด 22% ) เพียง 100 บาทเท่านั้น” … ถ้าหากว่าพิมพ์ออกมาเป็นแบบนี้มันฟังดูเหมือนกับว่าจ่ายเงินไป 100 บาท เพื่อได้คูปองเพื่อลดราคาอาหารลงไป 100 บาท ฟังดูแบบนี้แล้วเริ่มงงๆว่า แอ้ะ มันลดยังไง?
มองราคาแบบตรงไปตรงมาแล้วเราจะรู้ว่าเรากำลังจะซื้ออะไรกันแน่ แล้วมันคุ้มค่าแค่ไหน ?
สิ่งที่ผมอยากจะแนะนำเพื่อให้คุณไม่ต้องเสียเงินซื้อ coupon พวกนี้ก็คือ ให้คุณเอาราคาเต็มออกจากหน้าเว็ปทำเหมือนว่ามองไม่เห็น แล้วไม่เอามาพิจารณาว่ามันลดไปมากน้อยแค่ไหนกัน จริงๆแล้วการที่จะไม่มองมัน หรือ จะหลีกหนี effect จากราคาเต็มที่แสดงนั้นกระทำได้ยากหน่อย เพราะมีงานวิจัยฝรั่งซ้ำแล้วซ้ำเล่าบอกว่ายังไงซะตัวเลขที่แสดงจะมีผลต่อการประเมินมูลค่าราคาของสินค้าอยู่ดีไม่ว่าคุณจะรับรู้มันด้วยสติหรือไม่ก็ตามที อย่างน้อยที่สุด เอาแบบนี้แล้วกันคือ ให้มองแค่ราคาสุดท้ายที่คุณจะซื้อนั้น เมื่อเทียบกับของที่คุณจะได้มันดูมีมูลค่าสมเหตุสมผลกับคุณหรือไม่ โดยเทียบกับสินค้าใกล้เคียงกันจ้าวอื่นๆครับ เช่น ถ้าหากว่ามี Deal โรงแรมภูเก็ตเป็นห้องพัก แล้วคิดแล้วคุณต้องจ่ายเงินไป 2500 บาทต่อการได้ห้องพัก 1 คืน (อย่างมีเงื่อนไข!) ถ้าหากว่าคุณไปดูห้องพักอื่นๆแล้วราคา 2500 บาทมันก็ได้ของหรือห้องดีพอๆกัน แถมไม่มีเงื่อนไขอีกก็คงไม่ต้องบอกน่ะครับว่า คุณจะซื้อ Deal นั้นหรือไม่ครับ เพียงแค่ว่าคุณจะทำการเปรียบเทียบหรือไม่มากกว่า เพราะ พวกเว็ป coupon พวกนี้เอาเรืองราวสารพัดที่ผมเล่าไปแล้วข้างต้นมาเป็นปัจจัยทางจิตวิทยาให้คุณเกิดความอยากที่จะซื้อ โดยไม่ทำการเปีรยบเทียบ หรือ คิดวิเคราะห์ในมุมอื่นๆ คุณกลับจะรู้สึกแต่ความคุ้มค่า เมื่อได้ซื้อ coupon เหล่านั้นครับ
คำค้นหาของคุณที่มาเจอหน้าเว็ปนี้:
- DEAL COUPON
- coupon deal
- ซื้อ deal
- ขาย deal
- ขาย coupon
- web deal