นี่อาจจะเป็นคำถามง่ายๆที่ทุกคนน่าจะต้องรู้อยู่แล้ว แต่ก็จะมีคนส่วนหนึ่ง ไม่ได้สนใจอะไรทั้งนั้นว่า การมาสายของตัวเอง ทั้งในเรื่องการเข้างาน หรือ การเข้าร่วมกิจกรรมอะไรบางอย่าง การกระทำแบบนั้นจะส่งผลอะไรต่อตัวเขาได้บ้าง ไม่มากก็น้อย คนที่มีพฤติกรรมมาสายตลอดนั้นก็จะยังคงสภาพแบบนั้นเสมอมาและไม่มีวันที่จะพัฒนาให้ดีกว่านั้นได้อีกแล้ว เพราะ อาจจะเป็นว่า เขาไม่รู้ว่าผลลัพธ์นั้นมันก่อให้เกิดอะไรต่อมิอะไรมากมายตามมา วันนี้ เราลองมาเล่ากันเสียหน่อยว่า การมาเข้างานสายนั้นจะก่อให้เกิดผลอะไรตามมาบ้าง ?
เจ้านายมองไม่ดีและมีผลต่อการประเมินโบนัส
โบนัสเป็นเรื่องที่เป็น subjective หรือบอกไม่ได้แน่นอนว่าเหตุผลอะไรทำให้ได้โบนัสเท่าไหร่ โดยการกำหนดนั้นอาจจะมองจากภาพรวมพฤติกรรมหรือรายได้ของบริษัทประกอบกัน โดยไม่ได้มีหลักฐานหรือวิธีการที่แน่ชัด เพราะ ถือเป็นเงินพิเศษที่บริษัทหรือหัวหน้างานจะบอกให้กับบริษัทเพื่อจ่ายเงินพิเศษเป็นกำลังใจ หรือรางวัลพิเศษให้กับบุคคลนั้นๆ นั่นก็แปลว่า แม้ว่า การมาสายจะไม่ได้มีผลโดยตรง แต่แน่นอนว่า โบนัสนั้นเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอนแต่แรกอยู่แล้ว ทำให้การมาสายของตัวเรานั้นอาจจะมีผลต่อการประเมินพิจารณาการออกโบนัสให้ได้ไม่มากก็น้อย แต่ที่แน่ๆ คือ ถ้าหากว่าเรามาสายประจำก็จะโดนมองว่าเป็นเรื่องไม่ดี เป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมสำหรับการทำงาน และ ไม่ได้เป็นมืออาชีพเท่าไหร่นัก ทั้งนี้ สำหรับงานที่ไม่ได้เน้นเรื่องเวลาอาจจะสำคัญน้อยกว่างานที่เน้นเวลา แต่แม้นว่า งานของเราจะไม่ได้จำเป็นต้องเข้างานตรงเวลาก็ตาม การมาให้ตรงเวลาก็มีผลต่อจิตวิทยา การบริหารงานของระดับบริหารอยู่ดี
ได้รับความร่วมมือจากเพื่อนร่วมงานน้อยลงได้
ไม่ใช่ว่าการมาสายจะมีผลต่อระดับหัวหน้างานหรือระดับบริหารเท่านั้น คนที่อยู่ระดับการทำงานเดียวกัน ก็ย่อมเห็นพฤติกรรมที่ไม่ดีนั้นด้วย และ ยังผลให้หากว่าเราต้องการความร่วมมืออะไรก็สุดแล้วแต่ ก็จะได้ผลของความร่วมมือนั้นน้อยลงไปได้ด้วยเช่นเดียวกัน คนอื่นเขามาทำงานกันทันเวลาตรงต่อเวลา ทำให้มีการแบ่งพวกแบ่งพรรค เกิดปัญหาในที่ทำงานได้ง่ายมากกว่า และ คนที่มาสายประจำจะโดนมองเป็นตัวถ่วงและเป็นคนที่ทำให้ทีมนั้นดูแย่กันไปด้วย โดยไม่จำเป็น
การมาสายสามารถทำให้โดนไล่ออกได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
เพราะ โดยปกติแล้ว การเข้าทำงานนั้นนายจ้างจะมีกำหนดนโยบายเรื่องของเวลาทำงานเอาไว้อย่างแน่นอน และเป็นไปตามที่นายจ้างต้องการกำหนดเอาไว้ละเอียดและแน่ชัด ดังนั้นแล้ว หากลูกจ้างนั้นตกลงเซ็นสัญญาจ้างแล้วปรากฏว่ามิได้เข้ามาทำงานตามเวลาที่กำหนดเอาไว้ ทำให้ก่อให้เกิดความเสียหายได้ หรือแม้ว่าไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ ก็จะเป็นการเปิดโอกาสให้นายจ้างเอาเอกสารสัญญาจ้างมากำหนดเพื่อให้พนักงานออกได้ตามกฏเกณฑ์ที่กรมแรงงานกำหนดเอาไว้ โดยอ้างอิงจากสัญญาจ้างได้อย่างช่วยไม่ได้ เพราะฉะนั้นแล้ว หากไม่จำเป็นจริงๆ ควรให้เลิกเสี่ยงมาสายกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง เพราะ มันเป็นการเปิดโอกาสที่จะทำให้เราโดนไล่ออกได้ง่ายๆ หากนายจ้างมีประสงค์ต้องการให้ออกอยู่เป็นทุนเดิมแล้วจะทำอะไรไม่ได้ทั้งนั้นเพราะ หลักฐานการบันทึกเวลาเข้าออกงานนั้นขัดต่อสัญญาจ้าง