รีวิวประสบการณ์การเลือกผู้ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์สำหรับใช้ไฟเองตอนกลางวัน

ผลประกอบการผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ติดตั้งขนาด 5 KW

วันนี้ว่างๆอยากจะมาพิมพ์เก็บประสบการณ์เกี่ยวกับการเลือก ผู้ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ โดยประสบกาณ์ในการคัดเลือกจริงๆแล้วถือได้ว่าได้เป็นรอบที่สองแล้ว เพราะ แต่ก่อนแรกๆภาครัฐก็มีสำเสนอผ่านสื่อว่าติดตั้งโซล่าเซลล์แล้วดีอย่างงั้นอย่างงี้ และ ประกาศออกมาว่ารับไฟฟ้าคืนทั้งหมด ซึ่งทำให้คนที่มีบ้านส่วนตัวก็เริ่มสนใจหาข้อมูลนับแต่นั้นมา แต่ ถ้าหากถามว่าทำไมไม่เลือกซื้อหรือติดตั้ง ณ เมื่อตอนนั้น ประมาณเจ็ดปีก่อน ก็เพราะว่า ณ เวลานั้นแผงและกำลังไฟฟ้าที่ได้นั้นน้อยไปเกินกว่าจะรับได้ และ นั่นก็ยังผลทำให้ระยะเวลาคืนทุนนั้นกินเวลานานกว่า 7 ปีด้วยเช่นเดียวกัน (แปลว่า จริงๆ ถ้าหากว่าติดตั้งตั้งแต่ตอนนั้นไม่คิดมาก เราก็ได้คืนทุนทั้งหมดแล้วเช่นเดียวกัน)

แต่สำหรับวันนี้ การประเมินระยะเวลาคืนทุนนั้นพบว่า เวลาส่วนมากจะกินเวลาคืนทุนจะไม่เกินกว่า 4 ปีโดยประมาณ (อาจจะมีบวกลบก็สุดแล้วแต่พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้า) ทำให้นี่เป็นโอกาสที่ดีอีกครั้งสำหรับปี 2021 นี้ที่เราจะเริ่มหันกลับมาและตัดสินใจเพื่อลงทุน ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้านตัวเองได้อีกครั้งหนึ่ง

ประกอบกับล่าสุดทั้งการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคประกาศรับซื้อไฟฟ้าคืนอีกด้วย โดยเป็นโครงการประมาณว่า ถ้าหากว่าคุณติดตั้งโซล่าเซลล์ที่บ้านแล้วพบว่า กลางวัน วันนั้นๆ ไม่ได้ใช้ไฟได้หมด เหลือก็สามารถไหลไฟฟ้าเหล่านั้นกลับไปที่มิเตอร์ของการไฟฟ้าที่ติดตั้งเพิ่มเข้าไปอีกตัวหนึ่ง (เพื่อใช้สำหรับวัดปริมาณกระแสไฟฟ้าไหลคืนกลับระบบจ่ายไฟของการไฟฟ้า) ได้ด้วยและ เราจะได้อัตราค่าตอบแทน จากการที่เราผลิตไฟฟ้าเหลือใช้และจำหน่ายคืนให้กับการไฟฟ้าเท่ากับ 2.20 บาทต่อหน่วยไฟฟ้า ได้อีกด้วย ซึ่งแน่นอนว่าโครงการอะไรแบบนี้ไม่ได้มีบ่อยๆสักเท่าไหร่ และ ถือได้ว่า นี่ก็จะเป็นตัวเร่งการตัดสินใจให้กับคนทางบ้านอีกครั้งด้วยเหตุผลที่ตรงไปตรงมาคือ คนส่วนมากหากว่าทำงานเป็นสำนักงานปกติ เราจะไม่ได้อยู่บ้าน และ เราเดินทางไปที่สำนักงานเพื่อไปทำงาน ทำให้บ้าน นั้นไม่ได้มีคนใช้งานไฟฟ้าสักเท่าไหร่ การที่เราจะติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้เองทั้งหมดในเวลากลางวัน มันก็อาจจะไม่คุ้มค่าเท่าไหร่นัก หร่ือ ถ้าหากว่า มันคุ้ม มันก็จะกินระยะเวลาคืนทุนนานเกินกว่าจะรับได้เช่น 7-10 ปีเป็นต้น

การที่การไฟฟ้าประกาศรับซื้อไฟฟ้าอีกครั้งนี้จากบ้านเรือนที่ผลิตไฟฟ้าด้วยโซล่าเซลล์แบบนี้ ทำให้คนสามารถตัดสินใจลงทุนได้ง่ายกว่า และ หนึ่งในนั้นก็คือ ตัวกระผมเองที่พิมพ์บทความนี้เช่นเดียวกัน

ยาวไปเลือกอ่านกันได้จากรายการนี้

คิดอย่างไรถึงลงทุนติดตั้งโซล่าเซลล์ที่บ้านของตัวเอง?

ตัวอย่างการคำนวณด้วย Google Sheet ว่าเราติดตั้งแผงโซล่าเซลล์แล้วก่อให้เกิดความคุ้มทุนมากน้อยเพียงใด

ด้วยแรงผลักดันเชิงความคุ้มทุนนั้น เราจะพบได้ว่าหากเราติดตั้งและใช้ไฟฟ้าเองบางส่วนและเอาไฟฟ้าส่วนที่ไม่ได้ใช้ไฟไปจำหน่ายขายคืนต่อให้กับระบบของการไฟฟ้า ทำให้ปกติแล้ว เราสามารถสร้างอัตราการคืนทุนได้ประมาณ 4 ปีตามที่คาดหวังเอาไว้ได้ไม่ยากนัก นอกจากนี้ ณ ปี 2021 นี้เราจะพบได้ว่า เราจะเริ่มเห็นโอกาสการใช้ไฟฟ้าเพื่อเป็นแหล่งพลังงานของ “รถยนต์” เข้ามาประกอบอีกด้วย กล่าวอีกนัยหนึ่งแล้ว โดยรวมเราจะเริ่มคิดว่าอีกไม่เกินกว่า 5 ปีข้างหน้านี้ หรือ หากเราจะเปลี่ยนหรือซื้อรถเพิ่มคันต่อไป รถคันนั้นๆจะเริ่มเป็นรถที่ใช้ไฟฟ้า 100% 

การที่เรามีโอกาสในรถที่ใช้จากไฟฟ้า หากเป็นไฟฟ้าส่วนที่เราสร้างได้เองก็ก่อให้เกิดความประหยัดได้มากไปอีก หรือ อีกความหมายคือ เราสามารถคาดหวังว่า เราจะได้วิ่งรถด้วยพลังงานสะอาดที่เราไม่ได้เสียเงินซื้อจากการไฟฟ้าที่ใช้พลังงานถ่านหินเป็นหลักได้อีกด้วย เรียกได้ว่า ประหยัดซ้อนประหยัดกันเลยก็ว่าได้ ส่วนตัวแล้ว รู้สึกเอาเองว่า มันจะดีแค่ไหนว่า เราขับรถที่ไร้ซื้อการเสียเงินให้กับผู้ผลิตไฟฟ้าหรือแหล่งพลังงานอื่นใดภายนอก ไม่ได้จ่ายเงินใดๆ เป็นการได้พลังงานเหล่านั้นบางส่วนหรือทั้งหมดมาฟรีๆจากแสงอาทิตย์กันเองที่บ้านของตัวเอง 

สำหรับรถไฟฟ้านั้นในปี 2021 จะเริ่มการเกิดเปิดตัวออกมารเยอะรุ่นเอามากๆ โดยจะมีีแบทสำหรับรถไฟฟ้าขนาดกว่า 30-50 Kwh แล้วแต่ว่าแบรนด์อะไรและรถเป็นการออกแบบให้รถมีขนาดใหญ่กว้างหนักแค่ไหน ซึ่งโดยประมาณแล้ว มันจะขับกันได้ 300 Km+ หรือถ้าหากว่าอยากจะให้เหมือนรถน้ำมันกันเลยก็ต้องเป็นระยะขับมากกว่า 400 Km+ กันเลยก็จะเริ่มเห็นกันได้ในปีนี้ คุณอาจจะต้องจินตนาการได้ว่า รถไฟฟ้านั้นคุณจะดูดไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ในเวลากลางวันถึงจะประหยัดคุ้มค่าที่สุด

ส่วนตัวแล้วนั้น การประเมินเพื่อซื้อสินค้าประหยัดพลังงานใดๆ เรามักจะเลือกว่า ระยะเวลาคืนทุนในโครงการ (หรือลงทุนรูปแบบใดๆก็ตาม) ระยะเวลาคืนทุนมันจะต้องน้อยกว่า 4 ปีถึงจะตัดสินใจเกือบทันทีว่าเหมาะสมที่จะลงทุน แต่สำหรับบ้านเรือนแล้ว อุปกรณ์เพื่อการประหยัดพลังงานไม่ได้มีเยอะแยะ หรือ มีให้เลือกทำเป็นโครงการให้กับตัวบ้านเราเองมากมายอะไรนัก อย่างมากก็มีแค่ระบบน้ำอุ่นต่อเชื่อมระบบกับระบบความร้อนของแอร์ เป็นต้น หรือ การเลือกเปลี่ยนวัสดุเพื่อประหยัดพลังงานอื่นๆ แต่ ณ เวลานี้ ไม่มีอะไรที่ก่อให้เกิดความคุ้มค่าได้ดีเท่ากับการติดตั้งโซล่าเซลล์ได้อีกแล้ว เพราะ ถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ถ้าหากว่ามันจะเปลี่ยนก็ไม่ได้ดีไปกว่านี้สักเท่าไหร่แล้ว เว้นแต่ว่า จะมี “อะไรก็ตามที่เกินกว่าความคาดหมายอออกมา” อีกระลอกจากอีลอนมัส

การที่ระยะเวลาคืนทุนมันลดลงมาได้จาก 7 ปีเหลือแค่ 4 ปีเท่านั้นก็เป็นเพราะ ประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์มันดีขึ้น แต่ก่อนแผงหนึ่งจะมีกำลังผลิตไฟฟ้าได้เท่ากับ 300 Watt เท่านั้น แต่สำหรับปีนี้แผงรุ่นใหม่ก็จะผลิตได้เท่ากับ 450 Watt ต่อแผงได้ไม่ยากเย็นนัก แน่นอนว่า แผงใหม่ก็แพงกว่าแผงเก่าบ้าง แต่มันก็เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าส่วนเพิ่มของราคาแผงไปมากทีเดียวเช่นเดียวกัน ทำให้เกิดความคุ้มค่าเป็นตัวเงินได้มากกว่าในท้ายที่สุด

ประเด็นที่สองก็คือ ส่วนของ inverter สำหรับบ้านเรือน ราคาสำหรับกำลังการผลิตไฟฟ้าไม่เกิน 10 KWatt นั้นจะพบได้ว่า มันราคาประหยัดแล้วเอามาก และ เป็นราคาทีี่ลดลงมามากเมื่อเทียบกับเมื่อ 7 ปีก่อนเช่นเดียวกัน

ทั้งสองส่วนนี้ทำให้ต้นทุนการลงทุนสำหรับระบบผลิตแสงโซล่าเซลล์ด้วยการติดตั้งที่หลังคาบ้านนั้นเกิดความคุ้มค่าและ คำนวณระยะเวลาคืนทุนประมาณ 4 ปีได้เป็นผลลัพธ์สุดท้าย

การไฟฟ้าสามารถรับซื้อไฟคืนกลับได้ด้วยแล้วดียังไงทำไมต้องรีบเข้าโครงการด้วย?

แต่เดิมแล้วการไฟฟ้ามีโครงการรับไฟฟ้าคืนจากบ้านอยู่โครงการหนึ่งเมื่อประมาณเจ็ดปีก่อนนั้น โดยลักษณะโครงการคือ ให้ติดตั้งแล้วจำหน่ายไฟฟ้าคืนทั้งหมดกลับเข้าระบบจ่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้า และ แย่ไปกว่านั้นคือ คุณจะไม่ได้มีโอกาสาเอาไฟฟ้าที่สร้างออกจากโซล่าเซลล์เอามาใช้เองๆได้เลย เพราะงั้นแล้ว มันเป็นเรื่องเชิงเศรษฐศาสตร์และการลงทุนล้วนๆเลยก็ว่าได้ ไม่ได้ทำให้เกิดการประหยัดสิ่งแวดล้อมต่อการใช้ไฟฟ้าในบ้านเลย ! แต่นั่น ทั้งหมดคือเรื่องเก่า แต่สำหรับโครงการการรับซื้อไฟฟ้าคืนงวดประจำปี 2021 นี้ที่เพิ่งเปิดตัวจะเป็นหลักการคือ สามารถใช้ไฟฟ้าเองได้ก่อน แล้วเหลือเท่าไหร่ใช้ไม่หมดก็จะไหลไฟฟ้าเหล่านั้นคืนเข้าสุ๋ระบบของการไฟฟ้าได้ โดยจะได้เงินที่ขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าคือ 2.20 THB/Unit ซึ่งมันคืออัตราที่เขาขายไฟฟ้าที่อัตราต่ำสุดให้กับผู้บริโภคที่ใช้ไฟฟ้าน้อยๆนั่นเอง โดยเขาระรับซื้อคืนทั้งหมด 10 ปีเท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดอีกด้วยว่า ถ้าหากว่าอยากจะติดตั้งสำหรับบ้านเพื่อขายไฟคืนได้ด้วย จะกำหนดว่าจะไม่สามารถติดตั้งเกินกว่า 10 KWatt ได้ ซึ่งนั่นก็มากพอแล้วสำหรับบ้านเรือนปกติสำหรับพักอาศัย ถ้าหากว่าติดมากกว่านั้นจะไม่สามารถเข้าโครงการขายไฟฟ้าคืนได้

เมื่อเกิดโครงการประเภทนี้แล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นคือ มันจะทำให้เกิดการการันตีว่ายังไง การที่เราติดตั้งโซล่าเซลล์เข้าไปที่หลังคาบ้านแล้ว หากไม่ได้ใช้เองเลยก็เกิดระยะเวลาคืนทุนได้อย่างแน่นอน คือ ไม่เกิน 10 ปีที่อัตราการการจ่ายเงินคืนทีว่า 2.20 THB/unit ถ้าหากว่า คุณเล่นไม่ใช้ไฟฟ้าเองเลยยังไงสิ่งที่คุณลงทุนไปจะได้กลับมาเป็นเงินครบถ้วนทั้งหมดด้วยระยะเวลาประมาณไม่เกินกว่า 120 เดือนในทุกระดับขนาดการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ อย่างไรก็ดี คุณแน่ใจได้เลยว่า อย่างน้อยคุณจะใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวันอยู่แล้วทำให้ระยะเวลาคืนทุนจะดีกว่า 120 เดือนอย่างแน่นอน

โดยรวมแล้ว ระยะเวลาคืนทุนของโครงการบ้านที่ติดตั้งโซล่าเซลล์ถ้าหากว่า คุณใช้ไฟฟ้าที่ได้จากแผงโซล่าเซลล์ทั้งหมดโดยไม่เหลือจ่ายไฟฟ้าคืนให้กับการไฟฟ้าเลยก็คือ ประมาณ 4 ปี+ และ ถ้าหากว่า คุณไม่ใช้ไฟฟ้าในเวลากลางวันเลย ระยะเวลาคืนทุนคือ 10 ปีลงมา เพราะงั้นแปลว่า ถ้าหากว่าคุณคิดตั้งโซล่าเซลล์ตามบ้านแล้วเอาตัวเองเข้าโครงการขายไฟฟ้าคืนให้กับการไฟฟ้าในปี 2021 นี้แล้วไซร้ ระยะเวลาคืนทุนจะอยู่ในช่วง 4-10 ปีอย่างแน่นอนนั่นเอง !

อะไรเป็นตัวกำหนดว่าเราควรเลือกผลิตไฟฟ้าปริมาณเท่าใดบนหลังคาบ้านของเรา ?

สำหรับการเสนอขายแผงโซล่าเซลล์ในตลาดตอนนี้คือเป็นแพ็คที่ประมาณขนาดของกำลังไฟฟ้าสูงสุดที่จะแผงโซล่าเซลล์ทั้งหมดรวมกันจะสร้างได้ เช่น 3KW , 5KW , 10KW เป็นต้น โดยมากแล้วบ้านที่ค่าไฟฟ้าประมาณ 4,000-6,000 บาทต่อเดือนมักจะมีถูกแนะนำให้ติดตั้งที่ 5 KW ถ้าหากว่าน้อยกว่านั้นก็จะโดนเสนอขาย 3KW และ หากมากกว่านั้นก็จะโดนเสนอขาย 10 KW เป็นหลัก เป็นกฏการเสนอขายแบบง่ายๆสำหรับคนที่จำหน่ายแผงโซล่าเซลล์พร้อมบริการติดตั้งเกือบทุกรายไป 

ขนาดของพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการติดตั้งโซล่าเซลล์ เป็นตัวกำหนดขนาดสูงสุดที่เราสามารถติดตั้งได้ แต่ปริมาณที่เราใช้ก็จะเป็นเหมาะสมกับปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้ด้วยเช่นเดียวกัน อย่างว่า ตอนนี้ เราสามารถเลือกแผงโซล่าเซลล์ที่มีความสามารถในการผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้นต่อพื้นที่ติดตั้ง (หลังคาเรามีขนาดคงเดิมไม่ว่าจะเป็น 7 ปีที่แล้วหรือตอนนี้ก็ตาม) ดังนั้นแล้วแต่ก่อนอาจจะมองได้ว่า ถ้าหากว่าติดตั้งไป เราก็ไม่เหลือไฟฟ้าให้กับการขายก็ได้ แต่ไม่เหมือนกับตอนนี้ ที่ประสิทธิภาพแผงมันเยอะมากกว่าเดิมกว่า 30% ทำให้เราอาจจะต้องมองว่า เรามีเครื่องใช้ไฟฟ้าอะไรเท่าไหร่ เหมาะกับการผลิตไฟฟ้าใช้เองปริมาณเท่าใด แต่สำหรับคนที่เข้าร่วมโครงการขายไฟฟ้าคืน อาจจะใช้ตรรกะที่ว่า เราติดตั้งแผงให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้บนพื้นที่หลังคาที่เหมาต่อการรับแสงเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ เพราะ ถ้าหากว่า เราใช้ไฟฟ้าไม่หมด เราก็จำหน่ายไฟฟ้าด้วยราคาต้นทุนให้กับการไฟฟ้าไปได้ด้วยเช่นเดียวกัน (ตอนนี้กำหนดไว้ที่ 2.20 THB/unit)

ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวันของบ้านหลังที่คุณคิดอยากจะติดตั้ง

power consumption of one house that using the solar cell roof top
ภาพแสดงกราฟการผลิตไฟฟ้า การใช้ไฟฟ้า และ การจ่ายไฟฟ้าคืนให้กับการไฟฟ้า (กดที่ภาพเพื่อดูรูปใหญ่)

แน่นอนว่า คุณเองจะไม่รู้หรอกว่าในเวลากลางวันทั้งวันธรรมดา และวันเสาร์อาทิตย์นั้น คุณใช้ไฟฟ้าจำเพาะช่วงเวลากลางวันมากน้อยเพียงใด แต่ถ้าหากว่าคุณเริ่มคิดว่าอยากจะติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อใช้ไฟฟ้าเองในเวลากลางวันแล้วล่ะก็ แนะนำให้เริ่มสังเกตตัวเองว่าเราใช้เครื่องใช้ไฟฟ้ามากน้อยแค่ไหนกัน โดยปกติแล้ว ให้เราสังเกตจำเพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีีกำลังไฟฟ้าสูงเป็นหลัก นั่นคือ “แอร์ หรือ เครื่องปรับอากาศ” เช่น เครื่องปรับอากาศ 24000 BTU จะกินไฟฟ้าประมาณ 2.4 KW เมื่อเครื่องปรับอากาศทำงาน , เครื่องปรับอากาศขนาด 12000 BTU จะกินไฟฟ้าประมาณ 1.2 KW เป็นต้น คิดง่ายๆแบบนี้กันเลยก็ได้ เพราะฉะนั้นหากคุณเปิดแอร์กลางวันขนาด 24000 BTU ทั้งหมด 2 ตัวแปลว่าไฟฟ้าทั้งหมดที่คุณใช้จะประมาณ 5 KW พอดีหรือน้อยกว่านั้นเล็กน้อย (หากว่าแอร์ของคุณเป็นระบบ invertor) สำหรับกรณีนี้ คุณจะใช้ไฟฟ้าที่เกิดจากแดดทั้งหมดได้เลยเมื่อคุณติดตั้งแผงขนาด 5 KW หรือกล่าวได้อีกแบบ คือ คุณจะใช้ไฟฟ้าเกินกว่าที่แผงจะผลิตได้อย่างแน่นอนตลอดเวลากลางวัน (หากเปิดแอร์ในช่วงเวลาทำงานของสำนักงานปกติ) 

ภาพตัวอย่างกราฟการใช้ไฟฟ้าด้านบนนี้ คือ ลักษณะของการผลิตไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ที่ติดตั้งขนาด 4.86 kW (แผงโซล่าเซลล์ขนาด 405 Watt ต่อแผ่น ทั้งหมด 12 แผ่น) ในวันที่มีแดดกลางๆไม่เข้มมากจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากสุดก็ประมาณ 3.5 kW เท่านั้นเอง แต่จากการติดตั้งกว่าสัปดาห์ เราพบได้ว่าวันที่ผลิตแสงได้ดีสูงสุดแตะไปที่ 3.8 kW เท่านั้น คุณจะสังเกตพบได้ว่า “คุณติดตั้งแผง 4.8 kW แต่กลับผลิตได้สูงสุดเท่ากับ 3.8 kW เท่านั้น” ซึ่งนี่คือสิ่งที่คุณจะต้องทราบเอาไว้ก่อนว่า สเป็กของแผงนั้นคือ ความสามารถในการผลิตได้สูงสุดในสภาพแดดเข้มในความร้อนของอากาศน้อยๆ” และนั้นทำให้คุณต้องคาดการณ์ว่า ถ้าหากว่าติดตั้งแผงใหม่แล้วแดดเป็นแดดปกติก็เดากันได้เลยว่า คุณจะได้กำลังไฟฟ้าที่ได้รับผ่านการผลิตจากแผงโซล่าเซลล์เหล่านั้นประมาณ 80% เพียงเท่านั้น อีกเหตุผลคือ การมุมของแผงที่รับแดดนั้นไม่ได้เป็นมุมที่ดีที่สุด คือ ประมาณ 13 องศาจากแนวระนาบ การที่มุมของแผงไม่ได้เป็นมุมที่ทำให้ประสิทธิภาพแผงดีที่สุดก็เพราะ “หลังคามุมมันเป็นแบบนี้มาตั้งแต่ต้นแล้วหลังคาไม่ได้เป็นแนวราบทำให้ยังไงก็ต้องใช้มุมของหลังคาเท่านั้นในการติด” 

ลองมาคิดตัวเลขกันบ้าง! เราพบได้ว่า เราผลิตไฟฟ้าแล้วได้ใช้เองทั้งหมด 18.64 หน่วย และ สามารถส่งไฟฟ้าไปขายการไฟฟ้าได้ทั้งหมด 4.29 หน่วย (ขายได้เป็นเงินเท่ากับ 4.29 x 2.20 = 9.438 บาทเท่านั้น) และนอกนั้นก็ยังคงใช้ไฟฟ้าและต้องเสียเงินให้กับการไฟฟ้าทั้งหมด 30.88 หน่วยด้วย แปลว่า จริงๆสำหรับกราฟที่แสดงวันเดียวนี้ เราใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 18.64 + 30.88 = 49.52 หน่วย ดังนั้นสรุป คือ เราใช้ไฟฟ้าจากแผงโซล่าคิดเป็นเปอร์เซนต์เท่ากับ 18.64/49.52 =  37.64%ของการไฟฟ้าทั้งหมดของวันนี้ 

แย่ไปกว่านั้นคือ! สภาพของการผลิตไฟฟ้าจากหลังคานั้น จะเห็นได้ว่า มันผลิตไฟฟ้ามันจะค่อยๆเพิ่มขึ้นตั้งแต่มีแดดเช้าประมาณ 7 โมงเช้า และเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆจนกระทั่งประมาณบ่ายโมงก็จะเป็นการผลิตไฟฟ้าได้มากสุดในวันหนึ่งๆ และ ก็จะค่อยๆน้อยลงไปเรื่อยจนกระทั่งแดดหายไปในเวลาเย็น ได้กราฟการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในลักษณะของระฆังคว่ำ และ การผลิตไฟฟ้าแบบนี้แล้วคุณจะต้องใช้ไฟฟ้าเองแปลว่า การใช้ไฟฟ้าของคุณ (ดูจากกราฟสีแดง) มันจะต้องโดยกราฟสีฟ้าครอบกินพื้นที่ทั้งหมด ถึงจะทำให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุดๆ 

ทิศของหลังคาบ้านที่เหมาะสมกับการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์​

ตัวอย่างการติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคา โดยด้านหน้าหันไปทิศใต้ และแผงอีกชุดหันไปทางตะวันตก

บ้านที่เราสร้างมาแต่แรกนั้นไม่ได้มีการคิดเอาไว้ล่วงหน้าหรอกว่าอยากจะออกแบบเผื่อเอาไว้สำหรับการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์​ แต่เมื่อคุณมาคิดอยากจะติดเอาตอนนี้ ทิศทางและมุมรับแสงของหลังคานั้นถือได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญประการหนึ่งที่สุด เพื่อให้ประสิทธิภาพการคั้นพลังงานไฟฟ้าออกจากแดดได้ โดยทิศของหลังคาที่รับแดดที่เหมาะสมจะเป็น ทิศใต้ และ ทิศตะวันตก ตามลำดับ นอกนั้นหากคุณมีหลังคาทิศตะวันออกก็ถือว่ายังจะพอได้ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าได้โอเคอยู่แต่ไม่ได้ดีเหมือนกับการติดตั้งในทิศใต้ เรียกได้ว่า มีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าให้ได้คล้ายกับทิศตะวันออก 

บางคนอาจจะสงสัยว่า ทิศตะวันตกก็น่าจะต้องดีที่สุดซิ เพราะมันรับแดดได้ร้อนแรงสุดๆ แต่นั่นเป็นความที่ผิด ที่คนปกติมักจะคิดกัน เพราะอาจจะคิดเอาเองว่า ถ้าหากว่ายิ่งร้อนก็น่าจะยิ่งดี เพราะ มันเป็นพลังงานของแดดนี่หน่า แต่ความเป็นจริงนั้นไซร้ ไม่เหมือนกับที่คิดเสียเท่าไหร่ เพราะ ความร้อนที่มากเกินจำเป็น (เหมือนความร้อนในประเทศไทย) จะทำให้แผงมีอุณหภูมิสะสมที่มากเกินไป และ มันเป็นเหตุทำให้ประสิทธิภาพในการแปลงแดดออกมาให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรงด้วยแผ่นแผงโซล่าเซลล์​นั้นทำได้ด้อยลงมาได้ และ มันก็จะด้อยกว่าการที่แผงโซล่าเซลล์​อยู่ในสภาพเย็นอากาศที่เย็นๆ ดังนั้นแล้ว การออกแบบติดตั้งแผงมักจะมีการยกให้ด้านหลังของแผงเหมือนจะมีความสามารถในการระบายอากาศร้อนออกได้ ทั้งนี้อุณหภูมิที่แผงโซล่าเซลล์​ทำงานได้ดีคือช่วง 15-35 ‘c 

อีกปัจจัยที่คุณอาจจะนำมาคิดด้วยก็คือ คุณใช้ไฟฟ้าที่บ้าน ตอนบ่ายมากกว่าหรือตอนเช้ามากกว่ากัน ? และนั่นก็จะเป็นตัวบอกเช่นเดียวกันว่าน่าจะเลือกติดตั้งแผงหันไปทางทิศใดระหว่างตะวันออกและตะวันตกโดยคุณใช้พื้นที่ของด้านใต้ไปทั้งหมดแล้ว 

มุมของหลังคาบ้านในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์มีผลต่อประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า

มุมที่ดีที่สุดคือ การหันหน้าแผงโซล่าเซลล์ทำมุม 15 องศากับระนาบพื้นหันไปที่ทิศใต้ แต่ถ้าหากว่าหลังคาคุณมันมีมุมที่ชันกว่านั้นก็ต้องยอมรับว่าประสิทธิภาพการผลิตจะได้น้อยกว่าที่แผงโซล่าได้รับการออกแบบเอาไว้ ส่วนมาก แล้วหลังคาที่ติดตั้งได้มุมที่ดีที่สุด คือ หลังคาประเภทแบนราบเป็นแนวระนาบแล้วหันไปทิศใต้ แต่ถ้าหากว่าบ้านอื่นๆที่เป็นบ้านเดี่ยวไม่ได้คิดเรื่องมุมอะไรพวกนี้เอาไว้แต่ต้นแต่เป็นการออกแบบเพื่อการะบายความร้อนของบ้านเป็นหลัก และ เรื่องของความสวยงามของบ้านเป็นหลักด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นแล้ว หากคุณเป็นบ้านประเภทที่หลังคาทำมุมมากๆ คุณจะเสียประสิทธิภาพไปอย่างน้อยก็ 15% จากความสามารถในการผลิตแผงสูงสุดลงมา ซึ่งคุณต้องยอมรับประเด็นเหล่านี้ หรือนำไปคำนวณด้วยระหว่างการออกว่า คุณจะติดตั้งแผงโซล่าขนาดเท่าใด

สเป็กแผงโซล่าเซลล์ต้องดูอะไรกันบ้าง?

หากพูดแบบง่ายๆ แนะนำว่า เลือกสินค้าที่เป็น Tier 1 (เทียร์วัน) ด้วยเหตุผลที่ว่าพวกนี้จะมีหลักเกณฑ์การผลิตแผงกำหนดเอาไว้ทั้งหมดแล้วว่า แผงระดับดีนั้นจะต้องผลิตมาจากโรงงานคุณภาพเหล่านี้เป็นสำคัญ แต่ถ้าหากว่าอยากประหยัดกว่านี้ก็อาจจะเลือกตัวที่ไม่ได้มีความการการันตีการผลิตอะไรแบบนี้มาก็ได้ แต่นั้นก็แลกกันความเสี่ยงของคุณภาพแผงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในภายหลัง ทำไมเราต้องเลือกแผงที่เรามั่นที่สุดด้วย ก็เพราะว่า เรากำลังคาดหวังผลเลิศจากการผลิตไฟฟ้า ให้มันจะต้องผลิตไฟฟ้าไปให้เราอีกนานอย่างน้อยก็ให้มันมีอายุไปกว่า 25 ปีซึ่งเป็นระยะเวลาที่ผู้จำหน่ายแผงทุกรายระดับเทียวัน นั้นการันตี ความสามารถในการผลิตไฟฟ้าที่ระดับไม่ต่ำกว่า 80% ของแผงใหม่ได้นั่นเอง ใช่แล้ว ! เรารู้อยู่แล้ว่าเราจะได้เงินต้นทุนการลงทุนแผงทั้งหมดคืนในปีที่สี่หรือห้า แต่มันจะต้องผลิตไฟฟ้าให้เราไปเรื่อยๆ เพราะ แผงมันเป็น SOLID STATE ไม่มีอะไรเคลือนไหวเป็นปรากฏการณ์ทางไฟฟ้าฟิสิกส์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปได้ด้วยสภาพทางกายภาพที่เหมือนเดิม มันก็ควรสร้างไฟฟ้าได้เรื่อยๆนั่นเอง คิดว่าส่วนที่จะเสื่อมไปก่อน น่าจะเป็นตัวแปลงไฟฟ้าหรือที่เราเรียกว่า inverter น่าจะพังเสียหายไปเสียก่อน หรือ อาจจะต้องเปลี่ยนตัวใหม่เพื่อให้มันทำงานไปได้นานกว่า 25 ปี

เทคโนโลยีของแผงโซล่าเซลล์มักจะถูกสะท้อนออกมาที่ความสามารถในการสร้างไฟฟ้าสูงสุดต่อแผง เช่น เมื่อเจ็ดปีก่อนแผงหนึ่งแผงจะเฉลี่ยให้กำลังไฟฟ้าได้ประมาณ 300 Watt แต่สำหรับปีนี้เฉลี่ยคืือ 400 Watt หรือ ถ้าหากว่าปีนี้แล้วเป็นแผง High-end update สุดอาจจะแตะไปที่ 450+ Watt ต่อแผงเลยก็ได้เช่นเดียวกัน แต่นั่นจะทำให้คุณจ่ายค่าแผงแพงกว่าคนอื่นๆที่ติดตั้งในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้ แท้ที่จริงแล้ว คุณไม่ได้มีเหตุผลที่ดีใดๆที่อยากจะเลือกแผงที่มีประสิทธิภาพสูงมากนัก หากการลงทุนครั้งนี้เป็นการลงทุนเพียงครั้งเดียวอยู่แล้ว และ ขนาดของหลังคาของคุณเพียงพอที่กำลังไฟฟ้าที่คุณต้องการ ส่วนตัวแล้วจึงแนะนำให้เลือกแผงสเป็กตลาด ณ เวลานั้นๆจะทำให้คุณคุ้มค่าต่อการลงทุนมากกว่าได้ หรือ ถ้าหากว่าคุณมีพื้นที่หลังคาเยอะจัดๆไร้ปัญหาที่พื้นที่แล้วก็แนะนำว่าเลือกแผงสเป็กที่ด้อยกว่าท้องตามเลยก็ยังได้มันจะทำให้คุณประหยัดการลงทุนไปได้อีกกว่า 20-30% จากราคาแผงปกติ (หรือจริงๆแล้ว ผู้จำหน่ายก็จะเริ่มเลลังแผงรุ่นเก่าๆออกไปด้วยเช่นเดียวกัน แต่อย่างลืมว่า แผงเหล่านั้นเป็นแผงใหม่ทั้งหมด ที่ยังไม่ผ่านการอาบแดดมาสักนาทีเดียวเลย ซึ่งมันจะคงไว้คุณการลดลงของประสิทธิภาพตามที่เราคาดหวังกันไว้) 

หากสังเกตดีๆ มันจะมีคำว่า HALF CUT เพื่อเพิ่มโอกาสการผลิตไฟฟ้าได้ในแต่ละแผง

แต่ก่อนรอบเจ็ดปีที่แล้วนั้น จะพบได้ว่า เราไม่เคยเห็นคำว่า HALF CUT ปรากฏในสเป็กแผง แต่สำหรับรอบนี้ สเป็กแผงโซล่านั้นพบว่า มันจะมีแสดงประเด็นนี้ขึ้นมา เรียกได้ว่า น่าจะเป็นเรื่องใหม่ (ในรอบเจ็ดปี) ที่ผ่านมานี้ โดยมันจะเป็นการเพิ่มโอกาสที่แผงจะทำงานได้เมื่อแสงถูกบังบางส่วนหรือความเข้มแสงนั้นลดต่ำกว่าปกติเมื่อเทียบกับแบบที่ไม่ได้เป็น HALF CUT ทีี่มันจะต้องทำงานพร้อมทั้งแผงเท่านั้นถึงจะทำการผลิตไฟฟ้าได้ ส่วนตัวว่ามองแล้วมันน่าจะเป็นของแถมสำหรับหลังคาที่ไม่มีอะไรบังอยู่แล้ว เรียกได้ว่าไม่น่าจะแตกต่างหรือมีผลต่อการพิจารณามากเท่าใดนัก โดยรวมแล้ว HALF CUT Technology มีก็ดี ไม่มีก็ไม่เป็นไร ถ้าหากว่ามันประหยัดกว่าและ คุณคิดว่าแผงโซล่าเซลล์ทั้งหมดก็ไม่ได้โดนแดดอะไรบังอยู่แล้วก็อาจจะเลือกแบบไม่ได้เป็น HALF CUT ก็ได้เช่นเดียวกันอันนี้แล้วแต่คุณเองให้ดูหน้างานว่าหลังคาบ้านคุณมีอะไรจะมาบังบางส่วนได้หรือไม่นั่นเอง 

แล้วยี่ห้อจะมีผลอะไรหรือเปล่าสำหรับแผงโซล่าเซลล์ ?

แน่นอนว่า มันมี แต่เราจะไม่รู้จักยี่ห้อของแผงโซล่าเหล่านี้แล้ว เพราะ จีนครองโลกไปเรียบร้อยแล้ว คุณจะไม่ได้ยินแผงโซล่าเซลล์ยี่ห้อ SAMSUNG หรือแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าสักเท่าไหร่ แต่คุณจะได้ยินแบรนด์ที่ชื่อแบบจีนๆมาเสนอให้กับคุณมาพร้อมกับคำว่า เทียวัน ก็เท่านั้นเอง และ นั่นคือแผงประเภทเดียวที่คุณจะได้เลือกเป็น Options จากผู้รับติดตั้งหลายราย และ ไม่มีแบรนด์ใดๆที่ได้รับความนิยมว่าเป็นหนึ่งของแผงโซล่าทั้งหมดตลอดกาลแต่อย่างใด ดังนั้นแแล้วสำหรับเรื่องแบรนด์นั้น มีโอกาสน้อยมากที่คุณจะรู้จักแบรนด์ของแผงโซล่าเซลล์เหล่านั้นก่อนที่คุณจะเข้ามาศึกษา แต่ให้คุณเข้ามาศึกษาเรื่องของโซล่าเซลล์แล้วก็ตาม คุณก็ไม่คุ้นชื่อแบรนด์เหล่านั้นสักเท่าไหร่ เพราะ เจ้าตลาด ณ เวลาหนึ่งมันมีความเปลี่ยนแปลงไปตลอด หรือ มีผู้ลงทุนผลิตแผงโซล่าเซลล์เงินหนาๆในประเทศจีนเร่งการผลิต และ มีเทคโนโลยีการผลิตที่ดีขึ้นอย่างก้าวกระโดดก็ได้ และผลลัพธ์คือ สำหรับแผงโซล่าเซลล์ก็จะไม่มีใครเป็นเจ้าตลาด และ มีแบรนด์แผงโซล่าเซลล์ที่แข็งแกร่งกว่ากันสำหรับปี 2021 นี้

แนะนำให้เลือกผู้ติดตั้งที่มีประสบการณ์มากเพียงพอ มาพร้อมกับประกันการติดตั้ง

ใช่แหละ การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ก็ไม่ได้ยากเย็นอะไรเท่าไหร่นัก เพราะ มันประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆที่ถูกคิดมาอย่างดีแล้ว เข้าด้วยกันเท่านั้นเอง แต่ความเขลาของคนที่ไม่รู้หรือมั่วมาก็ย่อมเกิดขึ้นได้ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม เราเรียกความผิดพลาดประเภทนี้ว่าเป็น Human Error จากการติดตั้ง ดังนั้นแล้ว เราแนะนำให้คุณสังเกตว่า ผู้รับจ้างเหมาติดตั้งนั้นรับประกันงานติดตั้งกี่ปี อย่างน้อยควรแสดงการรับประกันงานติดตั้งก็ 1 ปีเป็นอย่างต่ำ และ จะดีกว่านั้นมากหากว่ารับประกันไปได้มากกว่า 3 ปี เพราะ ถ้าหากว่ามีปัญหาว่ามันผลิตไฟฟ้าไม่ได้หร่ือได้น้อยมากกว่าปกติมากๆ เราก็จะได้เครมประกันส่วนการติดตั้งเหล่านี้ได้ (ถ้าหากว่าของเราเป็นของดีทั้งแผงและตัว inverter แล้วโอกาสน่าจะเป็นเรื่องของการติดตั้งต่างหากที่มีความ fail เข้ามาเกี่ยวข้องได้มากกว่าปัจจัยอื่นๆ)

ว่าด้วยลักษณะของการเสนอราคาจากผู้ขายระบบโซล่าเซลล์ติดหลังคา

ถ้าหากว่า คุณลอง Google หาข้อมูลดู จะพบได้ว่า จะมีการขายระบบโซล่าเซลล์อยู่สองลักษณะด้วยกัน คือ ระบบที่คนที่คิดว่าตัวเองเป็นช่างหรือมีความสามารถด้านการปีนป่ายและไฟฟ้าเข้ามาเกี่ยวข้อง หรือ มีทักษะเป็นผู้รับเหมาไฟฟ้าอยู่แล้วก็อยากจะซื้อระบบโซล่าเซลล์เป็นอุปกรณ์เข้ามาเพื่อติดตั้งเอง และ อีกประเภทหนึ่งที่เป็นส่วนใหญ่ก็คือ คนที่ขายอุปกรณ์โซล่าเซลล์พร้อมติดตั้งเอง ซึ่งแบบที่สองนั้น จะเหมาะกับคุณๆท่านๆเหมือนกันกับตัวกระผมเองด้วยเช่นเดียวกัน เราเรียกกระบวนการเหมาแบบนี้ว่า ซื้อทั้งหมดแบบ TURN KEY ประมาณว่าเรามาเป็นประธานในพิธีการเปิดปุ่มเพื่อให้ระบบโซล่าเซลล์ทำงานยังไงอย่างงั้น สำหรับผู้ให้บริการขายพร้อมติดตั้งนั้นจะเสนอราคาเหมาโครงการมาทั้งหมด หรือ บางรายก็แตกรายละเอียดออกมาเป็นส่วนรายการของ (Bill of Materials หรือ BOM) และ แยกส่วนเสนอค่าติดตั้งออกมาอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งจริงๆแล้วสำหรับ เจ้าของโครงการนั้นแทบไม่ได้ต้องมองรายละเอียดมากเท่าใดนัก เพียงแค่มองได้ว่า เหมารวมแล้วทั้งหมดคิดเป็นยอดเงินเท่าไหร่ และ มันเป็นราคา Net รวม Vat. แล้วหรือไม่เสียมากกว่า เพราะ สำหรับโครงการติดตั้งที่บ้าน คุณจะต้องทำหน้าที่เสียค่าภาษี VAT 7% นี้ด้วยกรณีที่คุณซื้อกับบริษัทหรือนิติบุคคลที่เป็นระดับมหาชน หรือมีความคิดอยากเข้าเอาบริษัทโซล่าเซลล์ที่ตัวเองดำเนินการอยู่เข้ามหาชน ซึ่งแน่นอนว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องอยู่แล้ว ที่คุณจะต้องเสีย VAT นี้ให้กับภาครัฐ อย่างไรก็ดี สำหรับตลาดที่มีการแข่งขันสูง พวกบริษัทเล็กๆ หรือ องค์กรที่เสนอราคานอกรอบได้ก็ยังมีโอกาสที่คุณจะได้รับข้อเสนอแบบที่ไม่รวมแว็ทได้อีกต่างหาก ทำให้ยอดเงินที่คุณจ่ายนั้นลดน้อยกว่าพวกบริษัทที่เข้าระบบอย่างเป็นมืออาชีพปกติเหล่านั้น

นอกจากนี้ เราแนะนำให้คุณสอบถามประเด็นทีว่า เขาเป็นผู้ดำเนินการหรือจัดหาเอกสารที่สำคัญเพื่อยื่นขอไฟฟ้าได้ด้วยหรือไม่ ? เพราะอะไรน่ะเหรอ ? เพราะ มันทำให้ราคานั้นแตกต่างกันได้ด้วยเช่นเดียวกัน เพราะ ถ้าหากว่าผู้ขายระบบโซล่าเซลล์นั้น เป็นองค์กรขนาดใหญ่แล้ว จะมีวิศวกรที่มีอำนาจเพียงพอที่จะเซ็นแบบ และเขียนแบบ Single Line Diagram เพื่อเอาไปยื่นกับภาครัฐได้ และ ราคาเหล่านั้นต้องรวมการแจ้งกับการไฟฟ้าแล้วด้วยถึงจะครอบคลุมต้นทุนจริงๆทั้งหมด สำหรับการซื้อระบบโซล่าเซลล์เพื่อติดตั้งหลังคาและสามารถขายคืนการไฟฟ้าได้ บางรายเสนอราคาแล้วพบว่าไม่รวมค่าเซ็นแบบ ไม่รวมค่าจดแจ้งกับภาครัฐเป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่า มันจะทำให้ราคาที่เราได้รับการเสนอครั้งแรกนั้นดูเหมือนว่าประหยัดกว่า แต่แท้จริงแล้วคุณอาจจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกหลายหมื่นบาทเพื่อที่จะทำให้ตัวคุณเองนั้นเอาระบบแผงโซล่าเซลล์เข้าไปจำหน่ายไฟฟ้าคืนให้กับการไฟฟ้าได้

กระบวนการประเมินเพื่อติดตั้งระบบแผงโซล่าเซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้า

สำหรับการเสนอราคานั้นโดยมากจะกระทำได้ก่อนระหว่างเจ้าหน้าที่ประเภท admin ของบริษัทผู้จำหน่ายยโซล่าเซลล์ และ ลูกค้าที่ต้องการลงทุนซื้อระบบแผงโซล่าเซลล์เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงแดด เมื่อตกลงกันได้ประมาณหนึ่ง ทีนี้ก็แล้วแต่บริษัทผู้ติดตั้งแล้วว่า จะนัดหมายช่าง หรือ วิศวกร รายใดๆเพื่อเข้ามาพิจารณาว่าสามารถติดตั้งระบบแผงโซล่าเซลล์ได้จริงๆหรือไม่ มีการบังเงาของวัตถุ อาคาร โดยรอบด้วยหรือไม่ และ การที่เราเรียกบริษัทผู้ออกแบบและติดตั้งโซล่าเซลล์เข้ามาหลายรายก็ต้องคอยต้อนรับและอำนวยความสะดวกให้คนเหล่านี้จากหลากหลายบริษัทเข้ามาที่หน้างานซึ่งเป็นการใช้เวลาประมาณหนึ่งหากต้องการเปรียบเทียบและได้การเสนอราคาจากบริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์ที่หลากหลาย

โดยมากแล้วคนที่ถูกส่งมาโดยบริษัทรับติดตั้งโซล่าเซลล์จะขอดูหร่ือประเมินหน้างานตามหัวข้อต่อไปนี้

  • หลังคามีอะไรมาบังหรือไม่ และ ทิศทางใดของหลังคาเหมาะสมกับการติดตั้ง
  • หลังคาถ้าหากว่าจะติดตั้งแล้วจะติดตั้งด้วยวิธีการใด
  • จะเอาแผงโซล่าเข้ามาพื้นที่หน้างานได้อย่างไร และ จะยกขึ้นไปติดตั้งได้อย่างไร
  • เขาจะเอาพื้นที่ตรงไหนที่เหมาะสมเพื่อใช้สำหรับติดตั้ง inverter
  • เขาจะเดินสายระหว่างระบบแผงโซล่าเซลล์วิ่งมาที่ inverter ได้อย่างไรกัน (ถ้าหากว่ามันลากยาวจัดๆ เค้าอาจจะคิดเงินเพิ่มได้)
  • ทีมงานของเขาจะขึ้นไปที่หน้างานด้านบนหลังคาได้ด้วยวิธีการใด และ เดินทางทางใดที่สามารถให้คนติดตั้งลากสายและยึดสายได้อย่างเหมาะสม
  • ของดูแบบแปลนหลังคา (หรือจริงๆ คุณควรถ่ายภาพแปลนหลังคาไปให้บริษัทเหล่านี้ดูตั้งแต่ต้น)
  • ประเมินว่าจะมีปัญหาอะไรหน้างานอีกหรือเปล่า (ถ้าหากว่าเห็นของจริงคนก็จะคิดอะไรออกได้)
  • ตู้ไฟหลักของอาคารอยู่ที่ใด

คนที่เข้ามาส่วนใหญ่จะมาพร้อมกับโดรนของ DJ รุ่นที่ถ่ายภาพและวีดีโอได้ เพื่อเขาจะนำไปใช้เพื่อประเมินว่าน่าจะติดตั้งแผงโซล่าเซลล์แบบใด ณ ตำแหน่งใด ต้องเว้นว่างพื้นที่ใดหรือไม่ หรือ มีอะไรบังหรือหลังคาเสียหายอะไรมั้ย ซึ่งสำหรับกรณีหลังคาที่เสียหาย มักจะได้รับคำแนะนำให้ทำการซ่อมแซมเสียก่อนก่อนจะดำเนินการติดตั้งโซล่าเซลล์ เพื่อไม่ให้ปัญหามันแก้ยากกว่าเดิม

อย่างไรก็ดี ทั้งหมดนี้จะเป็นหน้าที่ของเจ้าบ้านร่วมคิดและแนะนำบอกเส้นทางว่าอะไรมันอยู่ที่ไหนอย่างไร อาจจะต้องให้ช่างทีี่ประเมินเข้าไปในพื้นที่ฝ้าหลังคาเพื่อให้เขาเห็นขื่อแปใดๆ ที่จะให้เขาประเมินลักษณะการติดตั้งได้เป็นต้น เพราะงั้นแล้ว การเข้าพบของช่างผู้ประเมินนั้นแแนะนำว่าให้เป็นเจ้าของบ้านหรือถ้าหากว่าเป็นอาคารก็คือคนที่ดูแลอาคาร ต้องอยู่เพื่อให้คำตอบกับช่างหรือคนที่เข้ามาประเมินการติดตั้งโซล่าเซลล์เหล่านี้ได้

เมื่อเราต้อนรับคนที่เข้ามาประเมินหน้างานแล้ว สิ่งที่เราอาจจะได้ก็คือ คำตอบว่า จะสามารถติดตั้งได้ทั้งหมดที่แผง และ คิดเป็นผลผลิตไฟฟ้าทั้งหมดประมาณกี่ KWatt และ มันเป็นตามที่เราคิดหรือมอง package ของขนาดของแผงโซล่าเซลล์หรือไม่ แล้วเราก็จะสามารถยืนยันยอดเงินเพื่อการมัดจำหรือชำระเงินงวดแรกได้เพื่อเริ่มโครงการติดตั้งต่อไป

TIPS: โดยมากแล้ว เราจะได้รับการเสนอราคามาโดยมีการแบ่งงวดชำระออกเป็นสามจังหวะด้วยกัน คือ จังหวะแรกสุดคือ มัดจำ 30% งวดที่สองคือ เมื่อได้รับสินค้าที่หน้างานแล้ว คิดเป็นเงิน 50% ของยอดเงินทั้งหมด และ งวดที่สาม คือ เมื่อติดตั้งสำเร็จ 20% ของยอดเงินทั้งหมด แต่ก็มีบางรายแบ่งเป็นสองงวดชำระ 50% 50% เช่นเดียวกัน คือ มัดจำ แล้วก็จ่ายอีกครั้งเมื่อติดตั้งเสร็จ ก็สุดแล้วแต่ว่า เราต่อรองกับเขาอย่างไร และขนาดของยอดเงินมันใหญ่แค่ไหน

อย่าลืมบอกเขาด้วยว่าไฟฟ้าบ้านเรานั้นใช้ไฟฟ้าต่อเดือนประมาณกี่บาท ? และไฟฟ้าที่ใช้เป็นกี่เฟส ?

จริงๆแล้วนี่คงต้องเป็นประเด็นแรกๆ ที่ต้องสื่อสารและข้อมูลมวลเสียก่อนเพราะ เขาจะได้เอาไปเดา package ของแผงโซล่าเซลล์ว่า น่าจะต้องติดตั้งสักเท่าไหร่ถึงจะเหมาะ และ สำหรับไฟฟ้าหนึ่งเฟส หรือสามเฟสนั้นจะมีผลต่อราคา inverter (บ้างเล็กน้อย) ซึ่งสำหรับสามเฟสจะแพงกว่าบ้าง

ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์แล้วเราจะได้เงินเท่าไหร่กัน แล้วประเมินด้วยวิธีไหนดี ?

แนะนำให้เข้าไปที่เว็บต่างประเทศอันหนึ่งในนั้นสามารถคำนวณเงินได้โดยใช้ข้อมูลแดดของประเทศไทย เพื่อให้การประเมินนั้นแม่นขึ้นได้ ทั้งนี้ อาจจะต้องแปลงหน่วยเงินระหว่าง THB กับ เงินดอลล่าสหรัฐ เพื่อใช้เครื่องมือดังกล่าวได้ ทั้งนี้ ทำไมเราต้องใช้ข้อมูลแดดกันด้วยเหคุผลทีว่า เราไม่สามารถใช้แดดได้ตลอดเวลา เพราะ แท้ที่จริงแล้ว เรามีความสามารถในการใช้แดดได้แค่ชั่วประมาณวันละ 5 ชั่วโมงกว่าๆเท่านั้น คือประมาณแดตั้งแต่ 9 โมงยันกระทั่ง 3 โมงตอนบ่าย โดยรวมก็ประมาณหกชั่วโมงเท่านั้น เพราะ ถ้าหากว่าเช้ากว่านั้นหรือเย็นกว่านั้น ความเข้มของแดดจะไม่สามารถเร่งแผงโซล่าเซลล์ให้เกิดการผลิตพลังงานไฟฟ้าได้นั่นเอง นอกจากนี้ การใช้ PROFILE แดดนั้นแท้จริงแล้วมีการประมวลผลร่วมกับสภาพอากาศด้วยเช่นเดียวกัน ทำให้ความแม่นในการประเมินนั้นถือได้ว่าแม่นได้ดีที่สุดแล้วเท่าที่ข้อมูลของเรานั้นจะมีในโลกอินเตอร์เน็ตที่ให้ใช้เพื่อการประเมินได้ฟรี

การผลิตไฟฟ้านั้นก็คือส่วนของการผลิตเท่านั้น แต่เงินจริงๆ เราจะโดยแยกออกมาเป็นสองส่วนคือ ส่วนแรก คือ ส่วนไฟฟ้าที่เราประหยัดได้จากการที่ไม่ต้องจ่ายเงินค่าไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าในเวลากลางวัน (ช่วง 09:00-15:00 น.ในเวลาทีี่มีแดดแรงเพียงพอเพื่อการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์) และ ส่วนที่สอง คือ ส่วนที่เราไม่ได้ใช้ไฟฟ้าส่วนที่เหลือจากที่เราใช้ไม่ทัน (แน่นอนว่าเราไม่ค่อยจะมีคนอยู่บ้านในเวลากลางวันสักเท่าไหร่สำหรับคนที่ไม่ได้ Work From Home หรือทำงานที่บ้าน) ซึ่งส่วนนี้เราจะได้เงินจากการขายไฟฟ้าคืนให้กับการไฟฟ้าที่อัตราหน่วยละ 2.20 บาทต่อหน่วย (ในขณะที่เราซื้อไฟฟ้าหน่วยละประมาณ 4 บาทจากการไฟฟ้า) ทำให้เราอาจจะเดาต้องว่าสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าเอง และ การขายไฟคืนให้กับการไฟฟ้า เป็นสัดส่วนเท่าใด

การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนหลังคานั้นเหมาะกับอาคารประเภทใดมากที่สุด

แน่นอนว่าอาคารใดที่มีการใช้ไฟฟ้าปริมาณมากในเวลากลางวันทุกวันจะเหมาะกับการติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อใช้ไฟฟ้าเองในอาคารมากที่สุด ! แบบไม่ต้องคิดมากเลยเพราะ หากว่าเราคำนวณแล้วเราจะพบได้ว่า ระยะเวลาคืนทุนจะน้อยกว่า 4 ปีเสียอีก เรียกได้ว่าประมาณสามปีกว่าๆก็คืนทุนกันไปหมดแล้ว ดังนั้น ถ้าหากว่า คุณเป็นเจ้าของอาคารให้เช่าเพื่อสำนักงานซึ่งแน่นอนว่า สำนักงานเกือบทั้งหมดจะใช้ไฟฟ้าช่วงเวลาตาม office hour ปกติทั่วไปคือ 08:00 – 17:00 น.ซึ่งระยะเวลาแดดที่สร้างพลังงานไฟฟ้าได้นั้นอยู่ในข่วงดังกล่าวทั้งหมดอยู่แล้วนั่นเอง ดีไปกว่านั้นคือ ปกติแล้ว อาคารสำนักงานจะคิดเงินค่าไฟฟ้ากับผู้เช่ามากกว่าอัตราเรียกเก็บจากการไฟฟ้าอีกต่างหาก ทำให้เป็นการสร้างรายได้ให้กับอาคารมากกว่าผู้ใช้ตามบ้านมากขึ้นไปอีกด้วย !

สำหรับบ้านเรือนปกติ เราแนะนำให้ว่า คุณควรสังเกตตัวเองเสียก่อนว่าพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้านั้นอยู่ในเวลาทำการของแดดเพื่อสร้างพลังงานไฟฟ้าได้หรือไม่ ถ้าหากว่า มีการใช้งานน้อยมาก หรือ บ้านตอนกลางวัน ไม่มีใครอยู่เลย ก็จะไม่เหมาะกับการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เสียเท่าไหร่นัก เพราะ ถ้าหากว่า เราหวังว่าจะขายคืนการไฟฟ้าทั้งหมดอาจจะทำให้ระยะเวลาคืนทุนนานไปถึงกว่า 7-10 ปีก็ได้เช่นเดียวกัน การที่คุณใช้ไฟฟ้าได้เองทั้งหมดถือได้ว่าจะทำให้เกิดความคุ้มค่าสุด และ กรณีที่คุณไม่ใช้ไฟฟ้าใดๆเลยก็จะทำให้คุณนั้นได้รับผลตอบแทนเป็นตัวเงินระยะเวลากว่า 10 ปีถึงจะคุ้มทุน

ทั้งนี้ เราจะไม่พูดถึงการกู้มาเพื่อลงทุน เพราะการลงทุนขนาดเล็กตามบ้านเรากำลังพูดถึงเงินเพียงไม่กี่แสนเท่านั้น และ ไม่คุ้มค่าออกแรงเพื่อไปดำเนินการกู้เงิน แม้ว่าจะได้ YEILD ของการลงทุนที่ดีกว่าก็ตาม และ เราไม่ได้อัพเดทโครงการว่าตอนนี้มีการให้ปล่อยกู้เพื่อซื้อแผงโซล่าสำหรับบ้านเรือนหรือไม่อย่างไร อย่างไรก็ดีสำหรับโครงการติดตั้งขนาดใหญ่สำหรับนิติบุคคล หรือ บริษัทแล้ว การกู้เงินเพื่อเอาไปติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ก็เป็นเลือกที่เป็นไปได้เช่นเดียวกัน เราแนะนำให้คุณติดต่อกับธนาคารใดๆที่คุณมีปฏิสัมพันธ์ด้วยเพื่อปรึกษาเรื่องการกู้นั้นด้วยตนเอง 

เมื่อคุณติดตั้งแผงโซล่าเซลล์สำหรับบ้านแล้วจะทำให้คุณหันมามองรถไฟฟ้า EV มากขึ้นกว่าเดิม! 

หากคุณติดตั้งแผงโซล่าเซลล์แล้ว แน่นอนว่า คุณจะเลือกเสป็กของระบบที่สร้างไฟฟ้าให้คุณได้มากกว่าช่วงที่คุณจะใช้หมดได้ในเวลากลางวัน และ การจ่ายไฟฟ้าขายคืนให้กับการไฟฟ้ามันก็ได้เงินน้อยกว่าที่เราซื้อมาหรือใช้เองอย่างที่รู้กันว่ามันได้เพียง 2.20 THB/unit เท่านั้น ดังนั้นแล้ว ไฟฟ้า EV ที่คุณกำลังจะมีหรือมีอยู่แล้ว จะเป็นตัวเก็บไฟฟ้าให้กับระบบแผงโซล่าเซลล์ของบ้านนี้ได้อย่างลงตัวที่น่าอัศจรรย์เสียยิ่งกว่ากระไร เพราะ คุณเหมือนได้แบตตารี่สำหรับบ้าน โดยที่ไม่ได้ลงทุนแบตอะไรเพิ่ม เพราะ คุณเล่นเอาแบตขอรถไฟฟ้ามาเป็นที่รองรับไฟฟ้าส่วนเกินของโซล่าเซลล์ที่คุณผลิตได้ในแต่ละวันได้เลย แต่ มันเพียงสะท้อนไปส่วนของการประหยัดเงินในรูปแบบการเติมน้ำมันหรือเติมไฟฟ้าเข้ารถยนต์ EV นั่นเอง 

อย่างไรก็ดีถ้าหากว่าให้เล่าถึงรถไฟฟ้าแล้วล่ะก็ในปี 2021 นี้จะมีรุ่นรถเปิดตัวอีกมาก และ เหมือนว่าระยะทางสำหรับการเดินทางต่อรอบการเติมให้ไฟฟ้าเต็มนั้นก็จะเริ่มแตะที่ 400 km+ กันแล้ว ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นระยะวิ่งคาดหวังหากคนจะมาขับรถไฟฟ้าได้เพื่อเดินทางทั่วไป และ ระหว่างเมือง และจุดชาร์ทไฟฟ้าก็มากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้คนที่กำลังคิดอยากจะซื้่อหาไว้สักคันหนึ่งอาจจะมีแนวโน้มซื้อในอีก 3 – 5 ปีนี้อย่างแน่นอน และ มันก็จะนำมาใช้เพื่อเก็บพลังงานไฟฟ้าที่โซล่าเซลล์ผลิตเกินๆเอาไว้ที่รถไฟฟ้าได้แต่ ส่วนตัวแล้วคิดว่าไม่อยากจะให้คิดว่าจะเอาไฟฟ้าจากแผงมาใช้เป็นไฟฟ้าเพื่อรถได้ทั้งหมด เพราะ การเติมไฟฟ้านั้นจะกินเวลามากน้อยแล้วแต่ว่าเราใช้รถมากแค่ไหน โดยประมาณคือ รถไฟฟ้าจะกินไฟฟ้าหนึ่งหน่วยไฟฟ้า จะวิ่งได้เท่ากับ 7 กิโลเมตรดังนั้นแล้ว คุณอาจจะต้องเริ่มเดาว่าวันหนึ่งคุณวิ่งรถสักประมาณกี่กิโลเมตร เช่น 120 km ก็จะใช้ไฟฟ้าไปทั้งหมด 17 หน่วยไฟฟ้า โดยจะใช้เวลาการเติมไฟฟ้าด้วย wallbox (charger สำหรับรถไฟฟ้าที่ติดตั้งตามบ้าน) คือ 7.2 kw แปลว่าคุณจะใช้เวลาในการเติมเท่ากับ 17/7.2 = 2.36 ชั่วโมงเท่านั้น โดยมันจะกินไฟฟ้าเหมือนกับการเปิดแอร์ขนาด 24000 BTU สองตัวด้วยกัน แน่นอนว่า ถ้าหากว่าเอาต่อกับระบบโซล่าเซลล์ขนาด 5 kw แปลว่ามันไม่ได้เป็นการใช้ไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ทั้งหมดได้หรอก มันต้องเกินไปอยู่แล้ว และ ไม่แนะนำให้ติดแผงโซล่าเซลล์เกินกว่าที่จะใช้ได้อีกด้วย โดยสรุปแล้ว แนะนำว่า คิดเรื่องรถไฟฟ้าได้ แต่มันไม่ได้สัมพันธ์กันไปเสียทั้งหมดหรอก

การเลือกบริษัทที่รับติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ หรือผู้รับเหมาติดตั้งโซล่าเซลล์

เมื่อเรารู้ข้อมูลเกี่ยวกับแผงโซล่าเซลล์และรู้แล้วว่าเราน่าจะเลือกอุปกรณ์ต่างๆอย่างไรที่จะเหมาะกับการใช้ไฟฟ้าของบ้านเราเอง ที่เหลือก็คือคำถามว่าแล้วเราเลือกผู้รับติดตั้งโซล่าเซลล์ด้วยเหตุผลประการใด ถึงจะเหมาะกับกรณีการใช้งานของเรา โดยขอแยกออกมาเป็นประเด็นๆตามรายการต่อไปนี้

ระยะเวลาประกันผลงานการติดตั้ง (สำคัญที่สุดแต่ทุกที่ให้ประกันได้เหมือนกันหมด)

การประกันผลงานการติดตั้ง คือ การที่เมื่อผู้ดำเนินการติดตั้งไปแล้ว หากพบปัญหาใดๆ ไม่ว่าจะเป็นหลังคารั่วระบบไฟฟ้าต่อแล้วเหมือนว่าแผงมีปัญหาจากการต่อสายไฟฟ้า หรืออะไรก็สุดแล้วแต่ เราจะต้องแจ้งกับผู้จำหน่ายและผู้ติดตั้งแลฃ้วเครมว่าให้เข้ามาแก้ไขปัญหน้างานอีกครั้ง โดยที่จะต้องไม่มีการเรียกเก็บเงินเพิ่ม (แต่เราก็ไม่ได้ไปปรับเงินอะไรกับทางผู้ติดตั้งเขาหรอก) โดยมาก แล้วจะมีการเสนอระยะเวลาประกันผลงานการติดตั้งนี้ปกติคือ 1 ปี แต่ถ้าหากว่าบริการที่ดีกว่าเขาอาจจะเลือกที่จะเสนอการประกันการติดตั้งทั้งหมดให้ถึง 2 ปี (ไม่เคยเห็นมากกว่านี้สักเท่าไหร่เว้นแต่ว่าจะให้เสนอราคามา หรือ มีการต่อรองเพิ่มเติมสำหรังโครงการขนาดที่ใหญ่ขึ้นได้) โดยมากแล้ว คนที่เสนอระยะเวลาติดตั้งนี้่หากเป็นรายใหญ่จะเสนอแค่เพียงปีเดียวแต่ถ้าหากว่าผู้ติดตั้งรายเล็กก็อาจจะเลือกการปรับระยะเวลาประกันผลงานนี้ให้มากขึ้นได้เพื่อให้เกิดข้อเสนอที่ได้เปรียบมากกว่าผู้ติดตั้งรายใหญ่หรือองค์กรขนาดใหญ่ที่น่าเชื่อถือกว่า 

ระยะเวลาประกันของอุปกรณ์แต่ละชิ้น

โดยปกติแล้วคุณกำลังจะต้องมองหาการประกันสินค้าสองส่วนด้วยกันที่มักจะได้รับการเสนอมาทันที คือ การประกัน inverter และ การประกันแผงโซล่าเซลล์ โดยการประกัน inverter นั้นจะได้รับการเสนอตั้งแต่ 5 ปีเป็นต้นไป และ การประกันแผงโซล่าเซลล์จะเป็นการประกันส่วน

การเดินเข้าสายเดินท่อของสาย DC ไปยัง INVERTOR 

สายและท่อส่วนนี้จะเป็นอะไรที่โผล่ออกมานอกอาคารให้เราได้เห็นกันดังนั้นแล้ว มันอาจจะต้องกำหนดเส้นทางเดินสายร้อยท่ออะไรกันให้ชัดเจนว่า เขาจะเลือกเส้นทางเดินท่ออย่างไรเกาะทางด้านไหนของอาคาร เป็นด้านหน้าบ้านเลยหรือไม่ ถ้าหากว่าใช่หน้าบ้านแล้วมันจะน่าเกลียดเลยหรือไม่ และ junction box จะติดที่ไหนและจะเจาะผนังตรงไหนเข้าไปในบ้านกันแน่ โดยมากแล้ว การกำหนดนี้ สามารถกำหนดกันได้โดยประมาณกันเลยตั้งแต่ครั้งแรกที่ทีมช่างเข้ามาเพื่อพบเจ้าของบ้านและเพื่อสำรวจความเป็นไปได้ในการยกแผงขึ้นไปที่หลังคา โดย เราแนะนำให้คุณเจ้าของบ้านที่มีอำนาจตัดสินใจกำหนด ตกลงและสอบถามกันให้แน่ชัดว่าอย่างเดินทางไหนกันแน่ เพื่อให้เป็นที่เข้าใจตรงกันระหว่างเจ้าของบ้านและผู้ดำเนินการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์กันก่อนที่จะมีเดินท่อเดินสายกันจริงๆ

การร่วมออกแบบและกำหนดเส้นทางการเดินสายระหว่างเจ้าของอาคารและผู้ติดตั้ง

สำหรับบ้านแล้ว การเดินสายนั้นจะทำให้ดูดีหรือน่าเกลียดก็ได้ แล้วแต่ว่าเขาจะเลือกใช้วิธีการเดินแบบใด โดยเจ้าของบ้านนั้นจะต้องได้รับการแนะนำหรือสรุปความกับคนเดินสายเสียก่อนว่า จะมีการเดินสายหรือเดินท่อด้วยวิธีการใดผ่านที่ไหนบ้างแล้วจะเจาะเข้าไปยังห้องไฟฟ้าผ่านทางไหน ด้วยวิิธีการใด ทั้งนี้ เพราะ ถ้าหากว่าทำออกไปแล้วมันน่าเกลียด ดูไม่ดีจะได้ไม่โทษระหว่างเจ้าของบ้านและผู้ติดตั้ง โดยทั้งนี้ ผู้ติดตั้งจะต้องอธิบายให้ได้ทั้งหมดว่าสุดท้ายแล้วหน้าตาของทางเดินของไฟฟ้ามันจะออกมาแบบใด ที่ใดเป็นกล่องไฟหรือไม่ และตำแหน่งนั้นคือตำแหน่งไหน เจ้าของบ้านจะเห็นด้วยหรือไม่ สำหรับประสบการณ์ส่วนตัวแล้วทางเจ้าหน้าที่ประเมินหน้างานนั้นเพียงแต่ชี้ตำแหน่งเจาะจากในบ้าน และ ทำให้เรามองไม่ออกว่าด้านนอกจะต้องมีกล่องไฟ Junction Box แสดงหราเอาไว้ที่ด้านหน้าบ้าน ทำให้ต้องคุยกับผู้ติดตั้งใหม่อีกรอบเพื่อให้ย้ายตำแหน่งเพื่อให้มันหลบสายตาไปเสียหน่อยไม่อย่างงั้นจะทำให้คนที่เข้าออกบ้านเห็น Junction box นี้ปรากฏหราที่หน้าบ้านทำให้หน้าบ้านดูไม่น่ามองเท่าไหร่ แต่ เมื่อย้ายตำแหน่งแล้วก็ไม่มีคนมองเห็นมัน และ ทำให้หน้าบ้านยังคงสวยเหมือนเดิม เป็นต้น เอาเป็นว่า สำหรับความผิดพลาดนี้เพราะทางเจ้าของบ้านก็ไม่เข้าใจว่าจะมีการทำกล่องอะไรหน้าบ้าน โดยที่ทางคนติดตั้งนั้นก็มิได้อธิบายอะไรว่ามันจะมีีภาพลักษณ์ภายนอกปรากฏกล่องไฟฟ้านี้เพิ่มขึ้นมาด้วยนั่นเอง 

นอกจากนี้เจ้าของบ้านอาจจะต้องสอบถามตำแหน่งของการเจาะสาย Ground ว่าจะฝังไว้ ณ ตำแหน่งใด แน่นอนว่ามันจะปักลงไปในดินหรือเจาะคอนกรีตบริเวณ Junction box นั้นด้วยเช่นเดียวกัน โดยถ้าหากว่าเป็นเจาะ อาจจะต้องมั่นใจได้ว่าพื้นนั้นมิได้มีส่วนของคานบ้านโดยเจาะไปด้วย หรือ ถ้าหากว่าดีที่สุด คือ ไม่มีการเจาะของแข็งใดๆ เป็นการปักสายการ์วลงไปดิน (กว่าสองเมตร) ได้โดยการตอกลงไปเพียงอย่างเดียวก็สะดวกกว่าวิธีการอื่นๆเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ การเจาะคอนกรีตหรือเจาะพื้นเพื่อให้มีการฝังสายดินได้นั้นก็ถือได้ว่าเป็นเรื่องปกติสำหรับอาคารบ้านเรือนมีเป็นพื้นปูนทั้งหมด

ทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ด้วยหรือไม่ (ไม่ถึงกับจำเป็นแต่มีก็ดีกว่า)

การทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์นั้นอาจจะไม่ได้เป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับโครงการบ้านหรือระบบโซล่าเซลล์ที่ไม่ได้ใหญ่โตสักเท่าไหร่นัก แต่ถ้าหากว่า มีก็ดีกว่าไม่มีเช่นเดียวกัน เพราะ ถ้าหากว่า เราอยากจะว่าจ้างเพื่อให้มีคนขึ้นไปทำความาสะอาดก็จะเป็นค่าใช้จ่ายได้ด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งถ้าหากว่า คุณสงสัยว่า ทำไมต้องทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์แล้วล่ะก็ .. คำตอบก็คือ เพราะ มันจะทำให้ประสิทธิภาพการแปลงแสงนั้นให้เป็นไฟฟ้าทำได้ดีขึ้นเหมือนกับที่การออกแบบแผงโซล่าเซลล์นั้นได้รับการออกแบบมา โดยมากแล้ว สำหรับการติดตั้งที่หลังคาบ้านการว่าจ้างเพื่อทำความสะอาด อาจจะดูไม่ค่อยคุ้มค่าเท่าใดนัก เพราะปริมาณแผงก็ไม่ได้มากมายอะไร และ การที่ประสิทธิภาพนั้นด้อยไปบ้างจากการที่มีฝุ่นเคลือบผิวด้านหน้าของแผงโซล่าเซลล์ก็ไม่ได้แปลงเป็นตัวเงินได้มากสักเท่าไหร่ ดังนั้น ถ้าหากว่า ผู้รับเหมาติดตั้ง มีการแถม หรือเสนอการล้างแผงโซล่าเซลล์มาให้ฟรีอย่างน้อยก็ควรจะให้กลับมาทำนานๆครั้ง ค่ือ สองปีข้างหน้าหลังติดตั้งแล้วก็กลับมาทำ น่าจะ make sense กว่าการที่เข้ามาทำตั้งแต่ปีแรกๆ อย่างไรก็ดี บางรายก็ไม่ได้มีแถมการบริการล้างโซล่าเซลล์นี้มากับการเสนอราคาครั้งแรกแต่อย่างใด 

ดำเนินการประสานงานเกี่ยวกับเอกสารที่จำเป็นด้วยหรือไม่

เอกสารที่จำเป็นนั้นจะใช้จำเพาะกรณีที่ต้องการขอขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้า โดยถ้าหากว่าผู้รับติดตั้งรายนั้นๆ อยากจะให้ปิดออเดอร์และ ให้เราเห็นราคาเสนอต่ำสุด จะเป็นการติดตั้งโดยไม่มีเอกสารใดๆที่แจ้งทางการเลยก็ว่าได้ แม้กระทั่งเอกสาร single line diagram เพื่อแจ้งให้กับเขตสำหรับการต่อเติมอาคาร ทั้งนี้ ส่วนมากแล้ว หากผู้รับติดตั้งมีพฤติกรรมนี้ก็ไม่ได้แปลกอะไรเท่าไหร่ เพราะ ส่วนมาก คนจะเริ่มต้นเลือกจากราคาเป็นหลัก แล้วถ้าหากว่าทำอะไรเพิ่มเขาเหล่านั้นก็เรียกเก็บเงินเพิ่มขึ้นมาได้ด้วย อย่างไรก็ดี ก็มีองค์กรบริษัทติดตั้งขนาดใหญ่ เขาจะมีวิศวกรพวกที่ทำเรื่องแบบ การทำเอกสารอยู่แล้ว โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเหมือนกัน ดังนั้นแล้ว หากคุณเป็นเจ้าของบ้านที่จะร้องขอราคา ให้สอบถามผู้รับติดตั้งด้วยว่า “มีค่าใช้จ่ายเรื่องเอกสารอะไรเพิ่มอีกหรือไม่หากอยากจะดำเนินการขายไฟฟ้าคืนการไฟฟ้า” 

มีประสบการณ์การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์มากเพียงใด 

ส่วนมากแล้วทุกรายจะมีประสบการณ์การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์กันอยู่แล้วแทบทุกราย เพราะ แต่ละรายก็จะเริ่มจากบ้านเพื่อนๆ หรือ กลุ่มญาติๆกันเองก่อนได้ แต่นั้นไม่ได้เป็นประเด็นสำคัญเท่าใดนักเพราะมันไม่เกี่ยวข้องกันเลยเราไม่สนเท่าไหร่หรอกว่า เขาติดตั้ง site งา่านขนาดใหญ่มาแล้วหรือไม่ เพราะอย่างไรก็ทีมช่างนั้นต่างหากที่เป็นตัวแปรทีสำคัญไม่ใช่ที่ตัวบริษัทเอง เพราะ บริษัทเองก็กระจายงานให้กับทีมช่างทั้งที่เป็นทีมของตัวเองและทีมที่ outsource จ่ายงานออกไป ซึ่งเราจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่า เขาเลือกทีมติดตั้งที่เป็นชุดเดียวกับที่มีประสบการณ์การติดตั้งมากน้อยหรือไม่อย่างไร ทั้งนี้ เราแนะนำให้คุณถามประเด็นว่า เคยติดตั้งหลังคาประเภทเดียวกับคุณแล้วหรือไม่ น่าจะเป็นนัยสำคัญเสียมากกว่า และ หากสบโอกาสให้สอบถามกับช่างโดยตรงที่เข้ามาหน้างานเลยจะดีกว่า เพื่อให้แน่ใจได้ว่า การติดตั้งนั้นจะกระทำได้สมบูรณ์ และ ไม่เกิดปัญหาในภายหลัง 

มีวิศวกรเพื่อเซ็นแบบ SINGLE LINE DIAGRAM เพื่อยื่นแจ้งหน่วยงานรัฐได้

มีผู้รับเหมาติดตั้งหลายรายเอามากๆ คิดจะติดตั้งนอกระบบ แบบไม่แจ้งภาคส่วนของรัฐใดๆ ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานเขต ที่มีการดัดแปลงอาคารก่อสร้างเพิ่มแต่สำหรับกรณีที่คุณคิดว่าจะขายไฟฟ้าให้กับภาครัฐ (การไฟฟ้า) แน่นอน่ การแจ้งทั้งเขตและการไฟฟ้านั้นเป็นเรื่องที่คุณเลี่ยงไม่ได้เป็นอันขาด ทำให้ผู้รับเหมานั้นหากว่าวิศวกรรมที่ได้รับสิทธิ์ในการเซ็นแบบก็สามารถเซ็นให้ได้ฟรีเพื่อนำแบบเหล่านั้นไปยื่นเรื่องกับภาคส่วนของรัฐได้ทั้งหมด แต่มันก็จะมีผู้รับเหมาติดตั้งแผงโซล่าเยอะรายเอามากๆ จะไม่มีคนที่สามารถเซ็นและเขียนแบบเหล่านี้ได้ ทำให้คุณอาจจะต้องถูกเรียกเก็บเงินมากขึ้นไปอีก (นอกใบเสนอราคาเดิม) ดังนั้นแล้วตอนที่คุณจะเรียกผู้ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ให้ลองถามด้วยว่า เขาสามารถเขียนแบบ single line diagram เพื่อยื่นภาครัฐให้ได้หรือไม่ ถ้าหากว่าได้แล้วมันฟรีรวมกับในเสนอราคานี้หรือไม่ ถ้าหากว่าใช่ให้เขานั้นพิมพ์แสดงรายการบริการดังกล่าวในเอกสารใบเสนอราคามาด้วยเลยเพื่อให้เราแน่ใจได้ว่า ราคาที่แสดงในในเสนอราคานั้นรวมบริการดังกล่าวเอาไว้แล้ว โดยถ้าหากว่า ผู้ติดตั้งนั้นไม่ได้มีทีมวิศวกรไฟฟ้าที่เซ็นแบบเหล่านั้นได้ เขาจะต้องจ้างบุคคลภายนอกเพื่อให้เขียนและเซ็นแบบ single line diagram นั้นอีกครั้งโดยเขาก็จะเรียกเก็บเงินจากผู้รับเหมา และ ผู้รับเหมาก็จะมาเรียกเก็บเงินโดยเพิ่มส่วนกำไรของตนเอาเข้าไป โดยที่ได้รับการเสนอราคาสำหรับไฟบ้านนั้นมีการเสนอราคามาตั้งแต่ 15,000 – 30,000 บาท.- แล้วแต่จะโดนเรียก ทั้งนี้ สุดท้ายแล้วสำหรับโครงการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ที่บ้านส่วนตัวแล้วเลือกจ้าวที่มีวิศวกรเขียนเซ็นแบบได้ฟรีรวมในการเสนอราคาครั้งแรกมาทันที เพราะเป็นบริษัทขนาดใหญ่มากทำให้มีวิศกรพวกนี้ดำเนินการอยู่แล้วเป็นบริการที่ฟรีแถมมาให้กับการติดตั้งระบบด้วยนั่นเอง

โดยรวมแล้วหากคุณต้องการติดตั้งโซล่าเซลล์ก็อยากจะให้เร่งดำเนินการได้ทันที เพราะ ยังไงเสียระยะเวลาคืนทุนนั้นไม่นานเกินกว่าจะรอได้ ส่วนมากก็ประมาณ 5 ปีกว่าเห็นจะได้และ ถ้าหากว่าคุณคิดอยากจะใช้รถไฟฟ้าด้วยแล้ว ยังไงซะ การที่เรามีแหล่งผลิตไฟฟ้าที่บ้านก็ถือได้ว่าเป็นตัวช่วยทำให้ก่อให้เกิดความประหยัดได้ดีเช่นเดียวกัน

Submit your comment

Please enter your name

Your name is required

Please enter a valid email address

An email address is required

Please enter your message

rackmanagerpro.com © 2024 All Rights Reserved

Rackmanagerpro.com all right reserved 2007 - 2019

Copyright by Rackmanagerpro.com

Content Creted by Rackmanagerpro.com