เรารู้เรื่อง Blockchain กันมานานมากแล้ว เรียกได้ว่า นานกว่า 5 ปีเห็นจะได้ตั้งแต่คนเริ่มใช้ bitcoin เข้ามาเพื่อทำการโอนมูลค่าหากัน และ กำหนดให้ bitcoin นั้นมีมูลค่าเป็นตัวเงินจริงๆกันได้จริง และ มีตลาดรองรับ โดยการผู้กำกับกฏหมายเข้ามากำกับกันเป็นหลักเป็นฐานไม่ให้โดนกินเงินกันไปเฉยๆกับสิ่งที่มันไม่เคยมีมูลค่าใดๆ นอกจากนี้ มันไม่ใช่เรื่องของ Bitcoin แต่เพียงอย่าเดียวที่สุดท้ายเวลาผ่านมานานมากมาย bitcoin นั้นก็ไม่ได้เกิดการใช้งานกันจริงๆเพื่อทำให้เกิดประโยชน์ได้มากกว่าการที่มันเป็นตัวกักกับมูลค่าเอาไว้เท่านั้น (ไม่เหมือนกับทองคำที่มันใช้งานอย่างอื่นได้ด้วยและมันถูกใช้เพื่อกักเก็บมูลค่าตัวเงินได้เหมือนกัน)
ฟังดูแล้ว Bitcoin หรือเหรียญอื่นๆ นั้นเกิด Hype ทำให้เกิดความเชื่อว่ามันสามารถมีมูลค่าได้ ด้วยการประโคมข่าวและร่วมกันกำหนดราคาตลาดให้กับมันเท่านั้นเอง และ มันก็เลยทำหน้าที่เป็นแค่เพียงตัวกลางของมูลค่าที่สำหรับการถ่ายโอนได้ผ่านระบบ digital แบบไร้ตัวกลาง ซึ่งตอนนี้ มันไม่ได้ไร้ตัวกลางอย่างแท้จริงแต่อย่างไร เพราะ มันได้โดนกำกับเรียบร้อยแล้ว ไม่เหมือนกับตอนแรก ที่ไม่หน่วยงานที่มีอำนาจใดเข้ามาแทรกแทรงเลยก็ว่าได้
แต่มันเรื่องที่ใหญ่กว่านั้นคือ BlockChain ที่เป็นเรื่องประหลาดมากว่า เรารู้หลักการของมัน เรารู้ว่ามีีการโปรแกรมและการสร้างออกแบบสถาปัตยกรรมต่างๆออกมาได้ในระดับลึกที่คนทั่วไป ไม่รู้หรือไม่ต้องรู้ว่ามันคืออะไรกัน แต่กลับแปลงสภาพออกมาเป็น Utiliy หรือ การใช้งานจริงๆกันไม่ได้เลย (จะบอกว่าไม่ได้เลยก็ไม่ได้ซะทีเดียว เพราะเห็นก็มี Ripple ถูกใช้ในกลุ่มธนาคารอยู่ซึ่งแน่นอนว่า เค้าก็ต้องไว้ใจกันและมีโครงสร้างกฏอื่นๆที่กำหนดซ้อนเข้าไปหากันอีกที) แแต่นอกนั้น เรียกได้ว่า เป็น blockChain ขยะ ไร้คนใช้งาน และ ไร้ความพัฒนาเพื่อให้เกิดการใช้งานได้จริงๆ
มันอาจจะเป็นเพราะ concept ของมันอยู่แล้วก็ได้ที่ทำให้ blockchain มันไม่สามารถนำไปใช้ได้สักเท่าไหร่ เรียกได้ว่าแนวคิดหลังบ้านมันผิดแปลกจนไม่สามารถเอาไปใช้ได้กันว่าอย่างงั้นเถอะ
blockchain มันเปลี่ยนแปลงไม่ได้ มีความซ้ำๆกันกับ node อื่นๆที่ต้องก็อปกันทั้งหมด และ การเปลี่ยนแปลงหนึ่งๆ มีความโหดในการคำนวณเพื่อยอมรับว่ามันถูกต้องและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นกลไกใดๆที่ใช้แนวคิดของ blockchain มันจะหนีเรื่องพวกนี้ไม่ได้ เพราะ มันเป็น core concept ของ blockchain แต่แรก
แต่ละเรื่องทำให้มันเป็นไปไม่ได้ที่จะใช้งานหรือเปล่านะ ?
blockchain เพิ่มข้อมูลไปแล้วลบไม่ได้อยู่ถาวรกาลนาน : เหมือนจะเป็นระบบ database ที่เมื่อ update ข้อมูลแล้วมันจะเพิ่มไปเรื่อยๆไม่ได้เป็นการ delete ได้ทำให้ก้อนข้อมูลจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และ เมื่อเกิดความผิดพลาดใดๆ จะไม่สามารถวนย้อนกลับออกไปได้ ไม่มี Time capsult ย้อนเวลาใดๆได้เลยว่าอย่างงั้นเถอะ ทีนี้ถ้าหากว่าคิดให้มันเป็นเหมือน database มันก็ไร้ซึ่งความเป็น database ที่จะต้องถูกจัดการได้แบบพื้นฐานที่สุด add /select / update / delete อะไรเหล่านี้เป็นต้น เมื่อการ delete หายไป จะทำอย่างไรเพื่อเข้าถึงและจัดการแบบ database มันก็จะแปลกไปจากเดิมเช่นเดียวกัน และ ทำให้คนที่จะคิดทำระบบเพื่อครอบเพื่อใช้มันก็ต้องหา utiliy ใดๆที่ห้าม delete ถึงจะใช้งานได้ …แล้วมันคืออะไรกันล่ะ คนทั่วโลกก็กำลังค้นหา problems นั้นอยู่ ที่คิดว่า blockchain น่าจะเป็น Solution แต่เราก็ยังหากันไม่เจออยู่ดี
การเก็บข้อมูลซ้ำๆกันทั่วโลกแบบไร้สาระไปเรื่อยๆ : การทำซ้ำเพื่อทำให้มันไม่สามารถโดน hack ได้นั้นเป็นแนวคิดเหมือนกับ bit torrent ที่ทุกคนจะมี file ก้อนนั้นๆอยู่และหั่นออกมาเป็นเศษๆเพื่อกระจายการโหลดเพื่อรวมร่างออกมาเป็นไฟล์สุดท้าย แม้คนที่มีไฟล์ไม่เต็มก้อนก็มีแต่เศษก็สามารถกระจายเศษเหล่านั้นให้กับระบบเพื่อให้ไฟล์นั้นคงอยู่ได้และกระจานต่อไปได้ ข้อมูลซ้ำๆของ blockchain นั้นมีวัตถุประสงค์อื่นแทนคือการป้องกันการเปลี่ยนแปลงแบบผิดกฏที่กำหนดไว้เท่านั้นเอง ซึ่งมันกินที่ Hrad Drive ของคนทั่วโลกหรือคนที่จะทำหน้าที่ประมวลผลได้อย่างโหดเอามากๆ อย่างว่า อนาคตทุกคนจะคิดว่าค่าพื้นที่มันจะประหยัดมากต่อหน่วยแต่ก้อนข้อมูลซ้ำๆกันทั้งหมดของคนทีี่ทำหน้าที่เป็น node ก็เป็นเรื่องที่ไม่ได้จำเป็น หากว่า เทียบกับการป้องกันการ hack ด้วยรูปแบบอื่นๆ ที่เป็นแบบ centralize
การจะเปลี่ยนแปลงที่เป็นการเพิ่มข้อมูลเข้าไปอีกสักบล็อคมันกินพลังงานไร้สาระเกินไป : โลกเราต้องกำลังแคร์เรื่องของทรัพยากรพลังงานและสิ่งแวดล้อมกันอยู่ ! และ การใช้ไฟฟ้าเผาเพื่อประมวลผลเชิงการคำนวณนั้นเป็นเรื่องไร้สาระที่สุด เรากำลังใช้ถ่านหินเผามันซะเพื่อแปลงมาเป็นไฟฟ้าแล้วเพื่อให้ได้มูลค่าที่ได้จากการประมวลผลตอบแทนกลับมาจากคนที่ให้ค่ากับหน่วยของ blockchain หนึ่งๆ ซึ่งมันเป็นการใช้ไฟฟ้าที่ไร้ประสิทธิภาพสุดๆเลยก็ว่าได้ และ การออกแบบให้มันกินพลังงานมากขนาดนี้ เรียกได้ว่าเปลืองโลกร้อน เอามากๆเลยก็ว่าได้เมื่อเทียบกับการประมวลผลปกติด้วยกระบวนการ centralize ปกติที่เราไว้ใจกันได้ และ มีกฏหมากกำกับกันแทนล่ะ ? (ซึ่งปกติก็เป็นอย่างงั้นอยู่แล้วนะ)
ยังไงซะระบบ blockchain ใดๆ เราก็ต้องมีเชื่อใจต่อผู้กำกับอยู่ดีนั่นเอง !
การกระจายศูนย์อาจจะกระทำได้ในระดับหนึ่งแต่เมื่อแปลงออกมาเป็น Utility แล้ว การกำกับนั้นก็ย่อมเกิดขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้อยู่ดี ! และมันก็กลายเป็นว่า blockchain นั้นก็หมดหวังกับการไร้การกำกับอยู่ดีนั่นเอง เพราะ utility ที่ไม่ได้รับการกำกับนั้นเกิดภัยกับคนที่เกี่ยวข้องหรือคนที่ได้รับผลประโยชน์อยู่ตอนนี้ ซึ่งคนเหล่านั้นจะเข้ามากำกับอยู่ดีแม้ว่าจะมีการใช้ blockchain ก็ตามที เราอาจจะจินตนาการไปถึงโลกที่เราสามารถถ่ายโอนเครดิตรอยเท้าคาร์บอนได้ แต่ปัญหาคือตอนที่จะบอกว่าคนไหนได้เครดิตเท่าไหร่จากกิจกรรมบนโลกจริงๆที่ไม่ได้อยู่ใน blockchain ก็ต้องการ auditor ที่ได้รับการเชื่อใจมากำหนดและออกตรวจอยู่ดีราวกับว่า การไว้ใจหรือเชื่อใจต่อองค์กรใดหรือกลุ่มคนกลุ่มใดๆนั้นจะเกิดขึ้นเสมอหากคิดออกมาเป็น Utility flow เพื่อให้ data นั้นอยู่บน blockchain ก็ตาม และ นี่คือจุดตายของ blockchain ที่เกิดขึ้นทำให้คนเราไม่สามารถคิด “ตก” เพื่อใช้ blockchain ออกมาเป็นการใช้งานได้จริงๆอยู่ดี คุณเชื่อหรือเปล่าล่ะว่า ตอนนี้ไม่ว่าโครงการ blockchain ใดๆก็สามารถใช้การ programing และออกแบบ flow การไหลของข้อมูลได้แบบปกติเค้าทำกันได้ทั้งหมด โดยไม่ต้องใช้ blockchain ก็ได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นปัญหามันมีอยู่อย่างเดียวว่า blockchain มันจะเป็น solution สำหรับ ปัญหาอะไรกันแน่ ที่ทุกคนในโลกนี้ต่างค้นหามาเพื่อที่จะพบบ่อทองคำบ่อใหม่ในการออกแบบ flow การไหลของข้อมูลเหล่านั้นในที่สุด
หมายเหตุ : ที่ตอนนี้เห็นว่า blockchain ทำออกมาเป็น Utility ได้เหมือนจะมีเพียงอย่างเดียวก็คือสะสมมูลค่าเงินได้ด้วยการออกเหรียญต่างๆนานาๆและคนทั่วโลกร่วมกันอุปโลกว่ามันมีค่าเหล่านั้นจริงๆนั่นเอง มันใช้ได้เสมือนกับหุ้นหรือเงินตราที่เราใช้กันอยู่ยังไงอย่างงั้นเลย นอกนั้น … ยังไม่เห็นโครงการอะไรเกิดได้จริงๆ