ข้อมูลบนเน็ตเชื่อได้อย่างงั้นหรือ?

ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัย หรืออ้างว่าเป็นงานวิจัย โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับอาหาร โรค และการลดน้ำหนัก ที่เห็นในเน็ตจะไม่ได้มีการรองรับว่ามันมีความถูกต้องมากน้อยเพียงใด มันเป็นเพียงแต่การแต่งเรื่องขึ้นมาก็ทำได้ หรือแม้ว่ามันจะเป็นความจริง เราก็แทบไม่รู้หรอกว่ามันเป็นความจริง งานวิจัยใดๆหากว่าเป็นงานวิจัยจริง มันจะมีเหตุผลต่อคนๆหนึ่งได้สองทางด้วยกัน คือ เป็นไปตามที่คนอ่านคิดไว้ หรืออีกกรณี คือ ขัดกับความคิดเห็นของคนอ่านนั้น หากตกกรณีที่งานวิจัยหรือบทความนั้นเหมือนหรือสอดคล้องกับความคิดของคนอ่าน เค้าก็ย่อมมั่นใจกับแนวคิดนั้นมากยิ่งขึ้น โดยสามารถบอกคนอื่นต่อไปได้อีกว่า อืม.. ผมเคยเจอเรื่องนี้จากที่อ่านมา ..(ที่ไหนก็ว่าไป.. ) แล้วก็บอกให้คนอื่นเชื่อหรือทำตาม มากไปกว่านั้นความคิดแบบนั้นก็ส่งผ่านไปหาคนอื่นต่อไปอีกได้ แล้วถ้าหากว่าคุณเป็นคนที่น่าเชื่อถือเข้าไปอีก ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ มันก็จะทำให้เนื้อความที่คุณบอกต่อคนอื่นเค้านั้น ยิ่งดูน่าเชื่อและน่าเป็นไปได้ขึ้นไปมากๆกว่าเดิมเป็นอันมากครับ หรือพิจารณาในทางกลับกัน หากว่าเราได้ยินมาแล้วมันไม่ตรงกับความคิดของคนฟัง คนที่รับข้อมูลจะคิดได้สองทางคือ กลับความเชื่อเดิมแล้วเชื่อสิ่งใหม่ที่ได้ยินได้ฟังได้อ่าน หรืออีกกรณีก็คือ คนๆนั้นไม่เชื่อและพยายามหาข้อมูลเพื่อยืนยันความเชื่อของตนต่อไป

แหล่งที่มาของข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือหรือดูน่าเชื่อถือ หรือ .. แทบดูไม่น่าเชื่อถือเอาซะเลย ..ทั้งหลายทั้งปวง มันกระจายตัวอยู่ทั่วไปในเน็ต ตั้งแต่การ forware mail ต่อกัน หรือการทีมีคนมาปะเอาไว้ที่หน้าเว็ปไม่ว่าจะเป็น blog หรือ web ประเภทให้ข้อมูลข่าวสารก็ตามทั้งที่ดูเป็นทางการ และที่ดูแบบชิวๆหน่อย คนอ่านไม่มีทางรู้ได้หรอกว่า ข้อมูลนั้นเป็นความจริงมากน้อยแค่ไหน “แต่โดยทั่วไปแล้ว่สิ่งที่เป็นข้อเขียนมักจะทำให้คนเชื่อได้มากกว่าการบอกเล่าสู่กันฟัง” (สังเกตุประโยคนี่เพิ่งผ่านมา ผมก็ไม่ได้ว่ามันมีการวิจัยหรืออะไรมายืนยันนะครับ กรณีแบบนี้ก็ตกอยู่ในหมวดของการอ้างอิงเนื้อความแบบไม่ได้มีอะไรมารองรับไว้เลยในเรื่องข้อเท็จจริง) เพราะเราโดนความคิดที่ว่าเราต้องรักการอ่าน แล้วการอ่านนี่หละจะทำให้เราเก่งและฉลาดรู้ไปหมด ในจิตใต้สำนึกคงคิดแบบนี้อยู่ทำให้มีแนวโน้มที่จะเชื่อสิ่งใดๆที่ถูกเขียนเอาไว้มากกว่า การได้ยินได้ฟังมาเท่านั้น ข้อมูลพวกนี้สุดท้ายแล้ว มีเพียงคนเดียวที่จะตัดสินใจว่าเชื่อหรือไม่ก็คือ คนอ่านเนื้อหาจากเน็ตหรือคนที่รับข่าวสารข้อมูลเหล่านั้น จะต้องมีความคิด และมีวิจารณญาณอย่างแรงกล้า และต้องเข้าใจว่าเค้านั้นไม่ต้องเชื่อทุกอย่างที่เห็นหรือที่ได้อ่านมา ขอให้รู้ได้ทันทีว่า สิ่งที่คุณเห็นหรือสิ่งที่คุณรู้นั้น มันเป็นความจริงหรือเป็นความเท็จก็ได้ทั้งนั้นอย่างไม่มีสิ่งใดบอกได้ว่ามันถูกต้องหรือไม่ประการใด มันเลวร้ายขนาดนั้นเลยเหรอครับ ? อืม..ถ้าหากลองคิดๆดูนะครับ ถือแม้ว่ามันจะมีการวิจัยมาจริงๆด้วยวิธีการต่างๆนานา มันก็จะเป็นความจริงแค่ ณ เวลานั้นๆเท่านั้น หรือเรียกง่ายๆว่าความจริงนั้นเรายังหาไม่ได้แน่แท้เท่าไหร่ ทุกอย่างมันแค่ดูเหมือนจะเป็นอย่างนั้นเท่านั้นเอง อย่างล่าสุดบทความที่แสดงทีหน้าเว็ปสนุกมีเรื่องเกี่ยวกับการลดน้ำหนักโดยการเอายางหนักสติ้ก(หรือที่มัดผม)ผูกพันนิ้วโป้งเท้าทั้งสองข้างเข้าด้วยกันแล้วนอนออกแร] ]>

คำค้นหาของคุณที่มาเจอหน้าเว็ปนี้:

  • ข้อมูลที่เชื่อถือได้น้อย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *