ผมว่าหนังสือเล่มนี้เน้นแนวคิดของการก่อตั้งธุรกิจของ Anitech โดยออกหนังสือมาเพื่อทำให้คนทั่วไปรับรู้ได้ว่า กิจกรรมของบริษัทนั้นผ่านร้อนผ่านหนาวอะไรบ้าง เพื่อจะเข้าเป็นมหาชนให้ได้ในวันหนึ่งหรือ ตอนนี้เห็นว่าก็อยู่ระหว่างความพยายามนั้นอยู่เหมือนกัน เพื่อให้ตัวเองไม่ลืมประเด็นของหนังสือ ผมก็จะขอโอกาสพิมพ์โน้ตประเด็นเอาไว้ในบล็อคส่วนตัว (ที่คนอื่นมาอ่านก็อ่านได้) ก็แล้วกัน
หมายเหตุ : ผมแนะนำให้อ่าน review หนังสือเล่มนี้เมื่อคุณได้อ่านหนังสือจบลงแล้วทั้งหมด หรือไม่ก็อ่านตั้งแต่ก่อนที่จะเริ่มอ่านหนังสือเท่านั้น เพื่อความมันส์ในการอ่าน และ จะได้ไม่สับสันประเด็นและหลักการระหว่างเนื้อหาที่ผมพิมพ์เอาไว้ในนี้กับเนื้อหาในหนังสือ
คิดแบบ Startup นั้นเน้นที่การหาสินค้าหรือบริการแบบ User Centric หรือเรียกได้ว่า เอาคนใช้งานเป็นที่ตั้ง และ เน้นการที่ทำออกตลาดหรือทดสอบตลาดแล้วล้มให้ไวให้มากที่สุดด้วยต้นทุนน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเมื่อเจอสินค้าหรือบริการแล้วก็หาคนมาลงทุนหรือทำการะดมทุนเพื่อทำออกมาเป็นสินค้าหรือบริการนั้น อย่างไรก็ดีผู้เขียนเน้นไปที่เรื่องว่า Startup นั้นจะเน้นการทำ “อย่างหนึ่งใหนเชี่ยวชาญ” เท่านั้น แต่ความเป็นจริง ผมจะเห็นแย้งประเด็นนี้ เพราะ เขาต้องการขยายชุดสินค้าหรือบริการออกอยู่ดีเพื่อให้ตัวเองรอดไปได้ในระยะยาวขึ้นบ้าง ไม่มากก็น้อย และเป็นการหาโอกาสใหม่ๆเพิ่มเติมเพื่อสร้างรายได้ให้มากขึ้นด้วยทีมงานและ Know-how ที่ตัวเองมี
Anitech เน้นไปที่การพัฒนาสินค้าด้วยการใช้ทีมงานในการออกแบบพัฒนากำหนดหา supplier ว่ารายใดผลิตแบบใดได้และเงื่อนไขของการผลิตเป็นอย่างไร หากคุณ Google ดูสินค้าของ AniTech เราจะพบได้ว่า มันเป็นการออกแบบเพื่อให้แบรนด์สินค้านั้นเป็นไปใน Theme เดียวกัน เน้นสีสันและกลุ่มตลาดที่ Anitech คิดว่าเข้าใจได้ว่าเป็นอย่างดี การทำแบบนี้ นั้นถือได้ว่าเป็นการหนีตายได้เหมาะกับสถานการณ์อยู่แล้ว เพราะ market place ที่เกิดขึ้นทำให้ คนธรรมดา และ คนจีนทำของออกมาเพื่อจำหน่ายได้แบบเดียวกับที่ Anitech จะกระทำได้ ทำให้เขาต้องเน้นความเข้าใจลูกค้าให้มากกว่าเดิม และ สร้าง Brand เพื่อให้มีที่จดจำและแยกแยะได้จากสินค้าแบบ OEM ที่ไหนบ่าเข้ามาในประเทศไทยของ Market place ที่เป็นของจีนทั้งหมด
ตอนที่กำลังโตขึ้นเรื่อยๆ จะมีเร่ื่องของกระแสเงินสด อย่างเลี่ยงไม่ได้ ! ใช่แล้ว ก็คนกำลังจะโตก็ต้องเงินลงทุนให้มากขึ้นเรื่อยๆตามลำดับขนาดของก้อนเงินที่ทำแบบซื้อมาขายไป (แม้ว่า Anitech จะบอกว่าตัวเองออกแบบก็ตาม ก็เรียกว่า ODM ซึ่งเป็นอีกขั้นหนึ่งของ OEM) โรงงานที่รับ OEM ทั้งหมดก็จะรับการออกแบบจาก Anitech ที่เป็นแบรนด์และดำเนินการผลิตส่งให้ทั้งหมด กระแสเงินสดนั้นจำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆตามลำดับจากสภาพและวิธีการของธุรกิจ โดยลำดับจากความต้องการกระแสเงินสดน้อยไปมากคือ รับจ้างทำ (รับเงินบางส่วนก่อนได้ของส่งแล้วได้เงินที่เหลือ) ผลิตของเพื่อสต็อกทำแบรนด์ (แบบนี้จะใช้เงินทุนมากขึ้นเพราะไม่ได้มีตลาดก่อนแล้ว ต้องพยากรณ์แล้วเดาเอามาว่าต้องทำเยอะแค่ไหน) และสุดท้ายก็ทำแบรนด์แล้วเพิ่มสินค้าเข้าไป ส่วนตัวแล้วผมเรียกกระบวนการนี้ว่า “การเพิ่มสินค้าลงใน port รายการสินค้า” ก็แน่นอนอยู่แล้วว่า เมื่อเราต้องสต้อกของมากขึ้นเงินต้องหมุนมากขึ้นเรื่อยๆตามจริตของธุรกิจไม่ได้มีอะไรที่แปลกประหลาดแต่อย่างใด
ผู้เขียนเหมือนจะมองว่าในโลกของ Startup นั้นเน้นการระดมทุนเพื่อทำอะไรจำเพาะเจาะจงและไม่ยั่งยืน เพราะ สุดท้าย service หรือ product range นั้นดูเหมือนจะแคบไป แต่ประเด็นนี้ ไม่น่าจะจริงสักเท่าไหร่ เนื่องด้วยการลงทุนส่วนมาก จะให้ประเมิน market cap. ด้วยว่าน่าจะโอกาสได้มากน้อยเพียงใด และ ขนาดตลาดนั้นใหญ่ได้สักเท่าไหร่ แต่ผู้เขียนก็มองแบบนั้นเช่นเดียวกัน ตอนแรกเข้าตลาดแค่ mouse และ ทำการเพิ่มอุปกรณ์อื่นๆเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เข้าไปเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มของ market size ของหมวดสินค้าเข้าไปเพื่อให้ตัวเองมีโอกาสมีกระแสเงินสดไหลผ่านได้มากขึ้นด้วยทีมงานที่ตนเองบริหาร
ผู้เขียนนั้นบอกว่าการทำแบบ SME นั้นคือ การกระทำที่ต้องเน้นการหากระแสเงินสดเพิ่มตลอดเวลาและชักหน้าไม่ถึงหลัง และ ติด limit ด้วยเงินสดหมุนในมือ ซึ่งไม่สามารถขอเงินทุนแบบเดียวกับ Startup ได้ และมองว่า SME นั้นทำงานแบบเถ้าแก่ไม่คิดว่าจะอยาก share หุ้นกับผู้ลงทุน ใช่แล้ว ! มันเป็นความจริงอย่างหนึ่ง เพราะ แหล่งเงินทุนแบบ SME นั้นต้องการเพียงอะไรค้ำประกันเงินที่บ้านที่ดินหรือรถ หรือ ถ้าหากว่าจะโหดหน่อยมีคนบอกว่า ธนาคารจะชอบมากหากว่าเอาบ้านที่ตัวเองพักอาศัยมาเดิมพันเอาไว้เป็นทรัพย์สิน ! เพราะรู้แน่ชัดว่าธุรกิจนั้นจะไม่โดนทิ้งไปกลางทางแน่นอน เจ้าของเอา Life style ตัวเองมาเดิมพันกันเลยทีเดียว (เอามาเป็นหลักประกันที่ธนาคารนั้นต้องเสี่ยงตามไปด้วยนั่นเอง)
การเล่าประวัติที่เกี่ยวข้องกับผู้เขียนนั้น โดยสรุป คือการต่อจุดของประสบการณ์เข้าด้วยกัน และปรับเปลี่ยนวิธีการ การจัดการ และวิธีการคิดเพื่อให้เหมาะกับขนาดของธุรกิจ ซึ่งผู้ที่ผ่านประสบการณ์แบบเดียวกันนี้เห็นพ้องตรงกันหมดว่า ธุรกิจขนาดต่างๆกันจะใช้ mindset / skillset และ แน่นอนว่า Tool set ที่แตกต่างกันไปเช่น ธุรกิจสิบล้านจะไม่เหมือนกับธุรกิจร้อยล้าน ซึ่งความที่เป็นคนที่ยอมรับและปรับเปลี่ยนได้นั้นถือๆได้ว่าเป็น “ความสามารถที่จำเป็น” สำหรับการเติบโตของธุรกิจด้วยอย่างเลี่ยงไม่ได้ ! แน่นอนว่า การเติบโต มิได้เป็นจริตของทุกๆคนไม่ใช่ว่า ทุกคนอยากจะเติบโต หลายคนเลือกที่พอใจกับธุรกิจทั้งรายได้ความเสี่ยงและขนาดของตนเองแล้วก็ไม่ได้แปลกว่าอะไร แต่สำหรับคนที่ต้องการมองหาการเติบโตแปลว่า คุณต้องปรับเปลี่ยนวิธีการคิดและ mindset ที่ติดตัวให้เหมาะสมกับขนาดของธุรกิจในแต่ละช่วงวัย
กลยุทธ์หลักของการเลือกและออกแบบสินค้าของ Anitech จะถูกเรียกว่า Low-End Disruption กล่าวคือจะเน้นเอา Feature เกินจำเป็นออกจากแบรนด์สินค้าที่มันแพงๆและทำสินค้าหรือเลือกทำสินค้าที่โดนตัด Feature เหล่านั้นออกแล้ว เพื่อให้ประหยัดต้นทุนและจำหน่ายได้ใน price point ที่เหมาะสมหรือไม่มีีแบรนด์ทำตลาดใน price point นั้น ซึ่งถ้าหากว่าให้ลองนึกสินค้าประเภทนี้ คนที่ทำกับ home appliance อยู่ก็จะเป็น Brand Smart Home ที่เราเห็นอยู่ตาม Big C Locus อะไรพวกนั้น นอกจากนี้ การใส่จริตให้สินค้า โดยใช้แบรนด์ตัวเองเป็นแก่นก็ถือได้ว่าเป็นการสร้างมูลค่าได้ดีทีเดียว แถมยังมีข้อดีตรงที่ตัวเองเป็นคนเข้าใจ electronic และการออกแบบภายในต่างๆเพื่อจะทำให้สินค้านั้นเกิด “คุณภาพ” ที่ดีกว่าการพวกสินค้าที่เป็น non-brand จากโรงงาน OEM ได้ด้วย! นี่ถือว่าเป็นจุดแข็งของแบรนด์นี้และเจ้าของ AniTech ก็ว่าได้
ประภทของสินค้า 4 แบบ โดยใช้แกนคือ ขายดี/ขายไม่ดี , กำไรดี/กำไรไม่ดี นั้นทำให้ Anitech สามารถใช้วิธีการที่แตกต่างกัน และวิธีการคิดต่อสินค้าที่แตกต่างกันนั้นกระทำต่อสินค้าสี่หมวดนี้ได้แต่เรื่องราวนั้นไม่ได้ลงลึกสักเท่าไหร่ อาจจะเพราะว่ามันเป็นเทคนิคที่ไม่อยากจะแชร์หรือเปล่าก็ไม่ทราบได้ เพราะโดยรวมประเด็นนี้ถือได้ว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจ ซึ่งคนขายของส่วนมากแล้วก็จะมีอาการสินค้าสี่หมวดนี้อยู่แล้วเพียงแต่รอคำตอบว่า ต้องจัดการกับมันอย่างไรบ้าง ในหนังสือนั้นให้รายละเอียดน้อยเกินไป เรียกได้ว่า ไม่สามารถแกะสูตรออกมาออกมาได้ กลับเขียนเพียงแต่สิ่งที่ปกติแล้วก็จะเข้าใจได้อยู่แล้วโดยธรรมชาติต่างหาก น่าเสียไม่ลงละเอียดหรือเล่าเยอะกว่านี้เสียหน่อยหนึ่ง
ตอนหลังๆของหนังสือจะเล่าเรื่องการมีระบบระเบียบของการจัดทัพองค์กรของตัวเอง โดยการลดควาสำคัญของการขยายตลาดลง (ลดการเพิ่ม produt portfolio) แต่เน้นการปรับปรุงกระบวนการภายใน ที่เรียกรวมๆกันว่า “ระบบ” ระบบนั้นมองโดยรวมแล้ว จะเป็นเรื่องของคนไม่ต้องการให้การดำเนินธุรกิจนั้นยั่งยืนขึ้น เพราะ ตนเองเห็นว่าธุรกิจนั้นยั่งยืนได้แล้ว เช่น การใช้ software การจัดการ เช่น ERP เป็นต้น หรือการจัดการเอกสารทางบัญชีอื่นๆ เนื่องจากตัวเขาเองนั้นต้องการจะคั้นเงินสดจากมหาชนต่อไป โดยการเอาเข้าตลาดหลักทรัพย์ให้ได้ ซึ่งก็เป็นความคิคแบบหนึ่งที่คนเเป็นเข้าของธุรกิจมองเห็นว่ามีความคุ้มค่าที่จะลงแรงเนื่องจากประโยชน์จากทุนระดับมหาชนนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องการจัดการคน และมุมมองต่อคนในองค์กรว่าต้องเป็นแบบใจถึงใจเท่านั้น ซึ่งอันนี้ก็เป็นประเด็นที่เห็นและได้ยินมาประจำสำหรับองค์กรที่จะมีการเพิ่มขนาดหรือมีอัตราการเติบโต แต่สำหรับองค์กรที่เป็นขาลงนั้น
โดยสรุป: ผมว่าประสบการณ์ของ AniTech นั้นถือได้ว่าเป็น simple case ที่เห็นเป็นปกติของคนที่เติบโตได้ และ แนะนำให้เอามาอ่านกันเพราะหนังสือนั้นย่อยง่ายเอามากๆ ไม่มีอะไรให้คิดลึกซับซ้อน และ mine-blown อะไรเท่าไหร่นัก ไม่ได้เป็นหนังสือธุรกิจพลิกโลกอะไรแต่เป็นเส้นทางที่ธุรกิจต้องดำเนินไป ซึ่งตรงกับวัตถุประสงค์ของหนังสือเลยที่บอกว่า มันเป็นเรื่องราวที่เอาไว้บอกตัวเองว่า เราเดินทางถูกทางแล้วและได้ผลลัพธ์ที่คุ้มค่าในทีี่สุดกับการต่อจุดต่างๆในชีวิตทางธุรกิจของ AniTech