เหตุการน้ำท่วมตอนนี้ก็ยังไม่ได้ถือว่าผ่านพ้นไปเสียทีเดียว แต่ว่าในหลายๆพื้นที่ก็เริ่มมีอยู่สภาวะที่เป็นไปในทางที่ดีมากยิ่งขึ้นแล้ว โดยบ้านที่โดนท่วมก็รู้ว่าท่วมไปแล้ว และอีกไม่นานก็จะลด หรือ ตอนนี้หลายพื้นที่ก็เริ่มมีระดับน้ำที่ลดลงกันแล้ว มีอยู่เรื่องหนึ่งที่ผมมองว่า การที่น้ำท่วมบ้านเรือนคน จะทำให้หลายคนน่าจะมีแนวคิดเหมือนกับผมผุดออกมาบ้างนั่นก็คือ “การมีข้าวของเยอะเป็นภาระ”
ปกติแล้ว คนเรามักจะมีข้าวของเยอะแยะมากมาย อยากได้เมื่อมีแล้วก็ไม่อยากทิ้ง ก็จัดการหาที่ทางเก็บมันเอาไว้ แม้ว่ามันจะไม่ได้ใช้ก็ตามที เพราะ แค่คิดว่า ถ้าหากว่ามีไว้อยู่ สักวันมันก็จะได้ใช้ (แน่นอนครับว่า “สักวัน” ต้องมีสักวันจะได้ใช้ครับ แต่ว่าเมื่อไหร่กันล่ะ แล้วมันต้องรอนานอย่างงั้นเลยหรือ) สิ่งของเหล่านี้กลับเป็นภาระขึ้นมาทันที ที่จะต้องย้ายมันขึ้นที่สูง ทั้งๆที่มันออกแบบมาให้วางเอาไว้แค่ชั้น 1 หรือระดับเดียวกับประตูทางเข้าบ้าน ถ้าหากว่าข้าวของนั้นยิ่งแพงมากเท่าไหร่ เราก็จะคิดว่า มันต้องเก็บรักษามันเอาไว้ให้อย่างดีให้มันอยู่รอดปลอดภัยมากขึ้นเท่านั้น ทั้งๆที่จริงๆแล้ว ของเหล่านั้นมันไม่มีค่าอะไรอีกต่อไปแล้ว เพราะ มันจะขายไม่ได้แล้วนั่นเอง (ราคาขายไม่ได้มีความสัมพันธ์อะไรกับราคาซื้อก็ได้ครับ เยอะสินค้ามันเป็นแบบนั้น)
ยกตัวอย่างไม่ยาก เช่น ถ้าหากว่าคุณซื้อโซฟามา 50,000 บาท ถ้าหากว่าคุณคิดดูว่า คุณต้องยกมันเพื่อที่จะรักษา 50,000 บาทนี้อย่างงั้นหรือ ? เพราะแท้ที่จริงแล้ว มันไม่ได้มีมูลค่า 50,000 บาทแล้ว เพราะยังไงคุณก็ไม่สามารถที่จะขายมันได้ราคาเท่านั้นอีกและ เพราะ มันเป็น Furniture ที่ผ่านการใช้มาแล้ว และ ก็ไม่มีใครที่อยากจะได้ funiture ที่ใช้แล้วนอกจากคนเก็บขยะเท่านั้น ซึ่งราคาขายในสภาพของขยะนั่นต่างหากคือ มูลค่าของสิ่งของสิ่งนั้น แต่ถ้าหากว่าคุณจะหาอะไรมาแทนที่เพื่อให้ได้เหมือนเดิม คุณก็จะต้องจ่ายเงินเพิ่มเข้าไปใหม่ แต่นั่นก็แปลว่า คุณได้เฟอร์นิเจอร์ชุดใหม่ เหมือนกับกรณีที่คุณอยากจะเปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์ใหม่ยังไงอย่างงั้นอยู่แล้วครับ
ลองคิดดูนะครับว่า ถ้าหากว่าคุณมีชุดโซฟาเก่าอยู่ และ คุณอยากจะเปลี่ยนใหม่ คุณก็ต้องเอาขุดเก่าไปขายทิ้งและซื้อชุดใหม่มาเหมือนกัน เพราะฉะนั้นแล้ว ทั้งสองกรณีมันต่างกันตรงแค่ว่า “กรณีแรกคุณโดนบังคับให้ซื้อชุดใหม่” กับ “กรณีที่สองคุณบังคับด้วยใจตัวเองว่าคุณต้องการเฟอร์นิเจอร์ชุดใหม่”
ถ้าหากว่า คนนั้นๆอยากจะเปลี่ยน furniture ชุดใหม่อยู่แล้ว แรงจูงใจเพื่อการขนเอาวัสดุเหล่านั้นหนีน้ำก็จะน้อยมากๆ หรือแทบไม่มีเลย เพราะ กรณีทั้งสองนั้นเหมือนกันเกือบ 100% (ต่างกันนิดหน่อยตอนที่ขายขยะออกไป อันนึงจะมีน้ำอมไปด้วยอาจจะได้น้ำหนักมากกว่าว่าอย่างงั้น) แต่สำหรับคนที่ไม่อยากจะเปลี่ยน Furniture ชุดใหม่และไม่พร้อมที่จะเปลี่ยน ก็จะมีแรงจูงใจมากเป็นพิเศษ เพื่อที่จะตัดสินใจเอาสิ่งของเหล่านั้นหรือน้ำ
กระบวนการคิดแบบนี้เกิดขึ้นจากการประเมินสถานการณ์อย่างทันทีทันใด และสมองประมวลผลเพื่อเปรียบเทียบได้อย่างง่ายดายว่า เราจะต้องตัดสินใจ เพื่อให้ร่างกายเราทำอะไรและไม่ทำอะไร จะขนของหนีน้ำดีหรือจะไม่ต้องขน และ จะเลือกเอาอะไรขน และเอาอะไรไม่ขน โดยสมองจะมีแนวคิดที่ เราไม่สามารถพิมพ์ออกมาได้อย่างแน่ชัดมากนักว่าเรามีตรรกะอะไรในการเลือกหรือไม่ หรือแค่เป็นการประมาณด้วยเหตุผลอย่างสุ่มๆไปเรื่อยก็สุดแล้วแต่
เมื่อมันเหนื่อยนัก ! คนเราจะเริ่มมองเห็นว่า “ข้าวของเป็นภาระ”
จริงๆแล้ว ผมเห็นว่าข้างของเป็นภาระมาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้วล่ะครับ แต่ว่า เหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์ที่ตอกย้ำความคิด และแนวคิดอะไรแบบนี้ให้มากขึ้นไปอีก เพราะ คุณต้องคอยรักษาทรัพย์สินมีค่าของคุณ เมื่อมีภัยพิบัติ หรือมีกรณีอย่างน้ำท่วมแบบนี้ ลองคิดดูนะครับ ถ้าหากว่า ตอนที่น้ำท่วมคุณเพิ่งจะบินมาจากเมืองนอกเพื่อกะว่าจะมาตั้งรกรากในประเทศไทย คุณยังไม่ได้มีบ้านสักหลัง หรือ ถ้าหากว่ามีบ้านแล้วก็เป็นแค่บ้านเช่า (ทรัพย์สินคนอื่น) โดยคุณยังไม่ได้ลงข้าวของเครื่องใช้กับพื่นที่บ้านเช่านั้นๆ คุณแทบไม่ต้องทำอะไรเลยแม้แต่น้อย เพราะ ทรัพย์สินของคุณทั้งหมดยังอยู่ในรูปของเงินที่มีความคล่องตัวในการโอนถ่ายแปลสภาพได้สูงสุด แต่เมื่อมันแปลสภาพเป็นข้าวของขึ้นมาแล้ว มันจะยากต่อการแปลงสภาพ หรือขนย้ายขึ้นมาทันที
หากคุณลองคิดดูให้ดีๆว่าแท้ที่จริงแล้ว คุณจำเป็นต้องมีของอะไรบ้างเพื่อให้คุณใช้ชีวิตได้สุขสบายบ้าง คุณไม่จำเป็นต้องมี TV สี 3 เครื่องพร้อมกัน หรือ ไมจำเป็นต้องมีเสื้อผ้าเก่ากองเอาไว้เต็มพื้นที่ คุณไม่จำเป็นต้องมีของสะสม ที่คุณไม่ได้คิดจะขายเพื่อทำกำไรกับมัน หรือ เก็บมันเอาไว้เพื่อดูเล่น คุณไม่ได้จำเป็นที่จะต้องมีกองหนังสือกองโตที่คุณคิดฝันว่าสักวันฉันจะกลับมาอ่านมันซ้ำอีกครั้ง หรือ ฉันจะอ่านมันเมื่อมีเวลาเหลือเฟือ (ซึ่งเวลาเหล่านั้นไม่เคยมีหรอกเพราะถ้าหากว่ามันสำคัญมาก และอยากจะอ่านมาก คุณต้องอ่านมันไปแล้วต่างหาก)
การมีข้าวของให้น้อยลง เป็น concept และแนวคิดของคนที่ดูเป็นพวกสมัยใหม่มากขึ้น โดย Apple ก็มีส่วนในเรื่องนี้สำหรับ การออกแบบและ Design สินค้าและผลิตภัณฑ์ แบบน้อยๆ หรือที่เรียกกันว่า “Minimalist” หรือถ้ามองเป็นคนญี่ปุ่นก็จะเป็นพวก “Zen” ที่จะทำให้การอยู่อาศัยใช้ของให้น้อยชิ้นลง ทำอะไรให้ช้าเข้าไว้แต่มีประสิทธิ์ผล ใช้ของที่ดูง่ายๆไม่มีอะไรมาก แต่แฝงไปด้วยการออกแบบที่เรียบง่ายและแยบคาย เพื่อให้การใช้งานใช้ได้ประโยชน์มากที่สุด และที่สำคัญ คือไม่ได้ทำให้รู้สึกว่า มันรก! จนหลายครั้งที่ผมได้ยินแนวคิดในการซื้อของเข้าบ้านหรือคอนโดที่ฟังดูแล้ว ยิ่งจะทำให้การใช้และซื้อของน้อยมากไปอีก ก็คือ ถ้าหากว่าคุณจะซื้ออะไรเข้ามาเพิ่ม 1 ชิ้น คุณต้องเอาของออกจากบ้านของคุณออกไป 2 ชิ้นซึ่งจะเป็นการลดปริมาณข้าวของให้น้อยลงไปทุกที (เหมาะสำหรับคนที่มีข้าวของเยอะอยู่แล้วตอนนี้นะครับ) หรือ อีกแนวคิดก็คือ การจำกัดจำนวนข้าวของสูงสุดที่จะอยู่ในชีวิต โดยพิจารณาเป็นจำนวนชิ้น เช่น เราจะอยู่กับข้าวของรอบตัวแค่ไม่เกิน 70 ชิ้น เป็นต้น ซึ่งก็ฟังดูแล้วน่าจะเหมาะกับ การอยู่กับพื้นที่แคบ หรือ พื้นที่ที่มีการออกแบบ แบบเรียบง่าย Modern เรียบหรู เพราะ หากว่ามีข้อของโผล่ออกมาแล้ว มันจะดูสะดุดและรกตา โดดออกมาให้เห็นได้อย่างชัดเจน ทำให้หลายคนที่ชอบสินค้าแบบเรียบง่าย ก็อยากจะมีแนวคิดว่า มีของให้น้อยชิ้นลลงเข้าไว้
การคิดแบบนี้ไม่ได้เป็นแนวคิดแบบสัจธรรมความจริง หรือเป็นเรื่องของทางธรรมอะไรหรอก แต่เป็นแนวคิดสำหรับ คนที่ต้องการรู้สึกว่า “ไม่อยากให้เยอะ!” ด้วยข้าวของเครื่องใช้ ความวุ่นวายในการหยิบจับสิ่งของ และ ความรกสายตาจากวัตถุที่ไม่มีโอกาสได้ใช้ (หรือมีแต่ต่ำมากประเมินไม่ได้ว่าจะใช้เมื่อไหร่)
เอาเป็นว่าลองทำบ้านของคุณให้ของน้อยชิ้นดู แล้วคุณจะรู้ว่า เราไม่ได้จำเป็นจะต้องมาข้าวของเยอะชิ้นเลยจริงๆ
คำค้นหาของคุณที่มาเจอหน้าเว็ปนี้:
- whatsapp phrases คืออะไร