Project Twenty : 20 เปอร์เซนต์ของเวลาที่คุณลืมตาตื่นและหายใจกับการออกแรงต้าน Friction เพื่อ Business ใหม่

new-business-friction

ถ้าหากว่าคุณเป็นคนหนึ่งที่ทำงานเดิมๆ และรู้สึกว่างานเดิมๆของคุณไม่ได้มีการขยายส่วนออกไปได้แล้วหรือไม่สามารถเพิ่มความสามารถในการทำกำไรได้ สิ่งที่คุณอาจจะเริ่มคิดก็คือ "งานนอกเวลา" สำหรับคนที่ทำงานประจำ และ สำหรับเจ้าของธุรกิจ สิ่งที่คุณจะเริ่มเห็นว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นนั่นก็คือ "การศึกษาและขยายงานใน Business อื่นๆ" ทั้งสองสภาวะไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ไหน การออกแรงเพิ่มจะต้องเกิดขึ้น และความรู้สึกที่มี Friction หรือแรงต้านจะเริ่มเกินขึ้น โดยที่คุณก็ไม่รู้ตัวสักเท่าไหร่  การเกิดแรงต้านที่ว่า จะเกิดก็ต่อเมื่อคุณเห็นว่า งานที่กำลังจะต้องเกิดขึ้นลุ้นแต่เป็นงานนอก scope หรือนอกวิสัยความเคยชินที่ทำกันอยู่ทุกวันแทบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่วิธีการคิด ขั้นตอนกระบวนการดำเนินการต่างๆ หรือแม้กระทั่งการกระทำที่มันจะต้องเกิดเพื่อให้ New Business หรืองานข้างเคียงเกิดขึ้นได้

แนวคิดที่จำเป็นสำหรับการสร้าง Business ใหม่สำหรับผู้ประกอบการเดิมนั้นจะแตกต่างจาก การที่พนักงานในองค์กรต้องการรายได้เพิ่มอยู่หลายประการ เช่น สำหรับ individual ที่ต้องการรายได้เพิ่มแล้วนั้น จะต้องออกแรง นอกเวลางาน หรือ อย่างแย่ที่สุดก็ต้องเบียดบังระยะเวลาทำงานขององค์กรนั้น เพื่อทำสิ่งที่คิดว่าจะเป็นเพิ่มรายได้เพิ่มของตัวเอง ทั้งนี้ขึ้นกับ moral ในตัวทั้งหมด ไม่มีคนกำหนดได้ว่าจะต้องเป็นอย่างไร เพราะในมุมมองขององค์กรก็จะป้องกันปราบปรามและ monitor ตรวจสอบเท่าที่จะทำได้อยู่แล้ว แต่สิ่งที่ทำได้ทันทีสำหรับบุคคลนั่นก็คือ การใช้เวลาพักผ่อนที่เหลือทำสิ่งอื่น ที่ตัวเองต้องการ และ คิดว่าเป็นแนวทางที่จะสร้างรายได้เพิ่มได้

ทั้งนี้จะผิดกับเจ้าของกิจการที่จะสร้าง New Business เนื่องจาก ถ้าว่าตัวเจ้าของเองยังต้องทำงานเดิมที่เกี่ยวข้องกับ Business เดิมจนไม่มีเวลา หรือคิดว่าไม่มีเวลาไปทำอย่างอื่นได้นั่นก็เป็น เพราะเหตุผล ไม่ประการใดก็ประการหนึ่งนั่นก็คือ

1. อยากจะอยู่ที่ comfort zone หรือ zone สบาย การอยู่ใน comfort zone นั้นทำได้ไม่ยากคือ การเอาตัวเองผูกติดกับงานที่ตัวเองทำอยู่ทุกวัน และบอกมันว่า "มันเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ!" คนอื่นทำไม่ได้และ ตอนนี้ฉันให้มูลค่ากับสิ่งเหล่านี้มากกว่าก่อน ล้วนแล้วทั้งเป็นข้ออ้างเท่านั้น เพราะ สำหรับการทำ Business แล้วการว่าจ้างเพื่อให้เกิดการถ่ายงานจากเจ้าของไปสู่ลูกน้องหรือทีมงานนั้นจำเป็นต้องเกิด และเป็นสิ่งที่เจ้าของ Business นั้นกลับต้องเชี่ยวชาญและชำนาญมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เมื่อรู้ว่าทำอย่างไร ก็ให้คนมาทำแทนตนเองเพื่อให้ตนเองเกิด avaliable time เพื่อ explore ค้นหา Business อื่นๆในมิติอื่นๆได้ด้วย หรือ แท้ที่จริงถ้าหากว่า คุณยังคิดว่ามัน ทำไม่ได้แน่นอนเพราะว่า คุณจ่ายงานเหล่านั้นออกไปได้ ไม่มีคนที่จะทำได้ ปัญหานั่นก็คือ เพราะตัวเองไม่ได้สร้างคนเตรียมพร้อมเอาไว้ล่วงหน้า เพื่อที่จะรองรับงานตัวเองนั่นเอง และอีกประเด็นใหญ่ก็คือ การทำงานที่ตัวเองเคยทำนั่นถือได้ว่า เป็นการทำงานที่ไม่รู้ว่ามี friction ในการกระทำมากนัก เพราะทำมานานแล้ว และคุ้นเคยกับมัน ทำแล้วสบายไม่เครียด และไม่พร้อมจะรับสิ่งใหม่แต่อย่างใด เรียกง่ายๆว่า ทำอะไรที่แตกต่างไปจากเดิมที่ทำอยู่ทุกวัน มันดูเหนื่อยล้า และ หม่มหมองมองไม่เห็นทางสว่างอะไรแม้แต่น้อยว่าอย่างงั้นเลยก็ว่าได้ ก็จะลงเอยง่ายๆคือ "บอกว่าไม่มีเวลา"

2. ไม่พร้อมที่จะ "รับความเสี่ยง" แน่นอนว่ายิ่ง Business ที่ทำออกมาใหญ่โตแล้ว มี project ที่จะ explore New Section ในธุรกิจใหม่ๆ จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการใชัทรัพยากร ว่าโอกาส success นั้นจะมีไม่มากสักเท่าไหร่ อันเนื่องมาจากขาด ประสบการณ์ และแนวคิดที่เหมาะสมสำหรับการจัดการใน Business นั้นๆ แต่อย่างไรก็ดี สิ่งเหล่านี้เป็นจำเป็นที่จะต้องไหลผ่านเข้ามาเป็น friction ในการกระทำอย่างแน่นอน เพราะ ไม่มีใครรู้ไปได้เสียทุกเรื่อง และ ไม่มีใครที่จะเคยทำ Business ในทุกๆ section

วิธีการที่ต้องกันความเสี่ยงหรือ ลดความเสี่ยงนั้นก็คือ การเอา "Senior" ในสายงานนั้นเข้ามาเป็นทีมงานผ่านการ เรียกคนเข้ามาเป็นทีมงานใหม่ ไม่ว่าจะเป็นทีมการตลาด (ใหม่) หรือ ทีมขายใหม่ หรือถ้ามีดีกว่านั้นก็คือ ทีม management ใหม่ที่อาจจะต้องมี แน่นอนว่าต้องรวมตัวคุณเข้าไปในนั้นด้วยเพราะคุณต้อง monitor สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นบ้างไม่มากก็น้อย สิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่ Business เดิมย่อมเคยเกิดขึ้นแล้ว นั่นก็คือ ตัวเจ้าของอาจจะทำตัวเป็นคนที่มีประสบการณ์ หรือ มีลูกน้องระดับผู้จัดการเพื่อเดินเรื่อง หรือ setting ระบบ โครงสร้างต่างๆใหม่ทั้งหมด และ สำคัญกว่านั้นเป็นการเอาความรู้ความเข้าใจใน Business นั้นๆ มาอธิบายให้เราเข้าใจได้มากขึ้น และ ฟอร์มรูปร่างของ Business ได้อย่างเหมาะสม

วิธีการดังกล่าวจะเป็นการสร้างทีมเพื่อก่อให้เกิด New Business ได้อย่างรวดเร็วหากได้คนที่ปรึกษาหรือแม้กระทั่งเป็นทีมงานที่จะเดินเรื่องไปพร้อมกันกับผู้ที่ต้องการจะสร้างธุรกิจใหม่นั่นเอง เป็นเส้นทางลัดที่ดูเหมือนเป็นวิธีการ "มาตราฐาน" ในทุกๆธุรกิจใหม่ อย่างไรก็ดีถ้หากว่า New Business นั้นๆ เป็นสิ่งใหม่แบบไม่มีความเกี่ยวข้องกับ Business ในสายงานอื่นๆเลยแม้แต่น้อย สิ่งทีทำได้ก็คือ การหาคนใหม่แบบไม่ต้องกาาประสบการณ์ใดๆ หรือ เอาแค่ประสบการณ์ตาม fuction ของแต่ละคนเพื่อ form เป็น team ใหม่โดยคุณจะหวังให้มี package ความรู้อันเนืองมาจากประสบการณ์ที่เก่าๆของคนอื่นๆนั่นก็ไม่ได้เสียทีเดียว คุณจะได้ความสามารถเป็น function ประกอบกันให้เป็นรูปร่างเท่านั้น เพราะฉะนั้นถ้าหากว่า มันเป็น new business concept ลูกน้องหรือทีมงานที่จะต้องเป็นก็จะพิจารณาตาม function ของ Business ในจินตนาการของคุณยังไงอย่างงั้น

เนื่องด้วยเหตุผลต่างๆนาๆที่จะทำให้เกิด Friction ในการสร้าง Business ใหม่ (ที่แตก line จากเดิมไปมาก) คุณไม่มีประสบการณ์ใดๆ และนั่นเป็นสิ่งที่คุณจะต้องทำก็คือ การสร้างประสบการณ์ให้ตัวเอง ทำได้อย่างที่บอกไว้ คือ หาคนที่เกี่ยวข้องเข้ามาเป็นพวก หรือ แบบที่โหดสุดก็คือ การแผงกายเข้าไปในทีมงานของ บริษัทหรือองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้องหรือมีการทำงานเป้าหมายทางธุรกิจเหมือนกับที่คุณคิด (แต่กรณีหลังนี่คุณอาจจะต้องอายุไม่มากนัก และมีประสบการณ์ทีเหมาะสมที่ บริษัทต้นแบบนั่นจะรับคุณเข้าไปทำงานเพื่อศึกษางาน) Friction ที่เกิดและความเสี่ยงที่จะเกิดเมื่อมีการ invest time and money เข้าไปแล้วจะต้องเกิดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่สิ่งที่ได้กลับมาคือ ประสบการณ์ในสายงานนั้นๆมากขึ้น และ ได้ลองผิดลองถูกบ้าง (ซึ่งพยายามลองผิดให้น้อยหน่อย) และ สิ่งสำคัญอีกประการนั่นก็คือ การรับความเสี่ยงได้ ! และเข้าใจว่า New Business ใดๆนั้นมีความเสี่ยง ถือว่าเป็น การ TESTING หรือออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมาอย่างหนึ่งเท่านั้น มันไม่จำเป็นว่าจะต้อง "ชนะ" ทุกครั้งไป และโดย rate ที่ต่ำกว่าปกติอีกต่างหาก หากว่าคนในทีมหรือ เจ้าของหรือผู้ดำเนินการนั้นขาดประสบการณ์อีกต่างหาก (ซึ่งแก้ได้ด้วยวิธีการที่เกริ่นไปแล้วในสองย่อหน้าก่อน)

การกำจัดแรงต้านและเหตุผลของการนั่งจ๋องทำงานเก่านั้น สามารถทำได้ง่ายๆ กำหนดให้ตนเอง หรือทีมงานคนที่เกี่ยวข้องเจียดเวลาออกมา เพื่อทำสิ่งเหล่านี้ อย่างมี "วินัย" และแนะนำว่า 20% ของเวลาจะต้องโดยอุทิศเพื่อที่จะทำเรื่องใหม่เหล่านี้ อย่างไม่มีข้อแม้อื่น และเป็น first priority ในกิจกรรมใดๆที่ต้องทำ คำว่า Frist Priority นั้นแปลว่า คุณเอาเวลา 20% นี้เป็นข้ออ้างเพื่อที่จะไม่ทำอย่างอื่น ! ไม่ใช่เอาอ้างอื่นมาเป็นข้ออ้างเพื่อที่จะใช้เวลากับ project ใหม่20% ที่กำหนดเอาไว้

เรื่องเวลาที่ต้องอุทิศนั้นเป็นเรื่องที่เหมือนจะยากในการทำ ด้วยเหตุผล ที่โดนประกอบสร้างขึ้น โดยสภาวะจิตและสภาวะการณ์ การใช้วิธีคิดว่า project ใหม่นั้นจะต้องเดินไปด้วย time ที่โดนอุทิศให้อย่างน้อย 20% นั้นต้องปฏิบัติไปอย่างเคร่งครัดเท่านั้น อย่างน้อยทำอย่างนี้มากกว่า 20 วันต่อเนื่อง จะกลายเป็นนิสัยและเป็นงานที่ต้องทำไปได้ในที่สุด แท้ที่จริงแล้ว ถ้าหากว่าคุณเร่งด่วนกว่านี้ 20% เป็นแค่ตัวเลขหลอกเท่านั้น เพราะ จะมีการใช้เวลาอื่นๆเพิ่มเติมไปอีก และนั่นก็ไม่ได้เป็นปัญหาแต่อย่างใด เพราะ ยังไงซะถ้าหากว่าคุณไม่ได้ทำตอนนี้ ก็ต้องทำตอนหลังอยู่ดี แค่คุณต้องการ อัตราการเดินงาน ให้อยู่สักที่เท่าไหร่ ต่างหาก โดยให้เน้นที่การกำหนด การดำเนินการที่กระทำได้ว่าจะทำอะไร หรือ การปักหมุดของสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ทางกายภาพที่โดดเด่นออกมาว่า สิ่งเหล่านั้นจะเกิด ณ วันไหน เวลาไหน เพื่อเป็นการควบคุมความเร็วของ project ในการสร้าง New Business นั้น

วันนี้คุณมีเวลา 20% ที่คุณหายใจลืมตาตื่นเพื่อทำสิ่งใหม่ๆแล้วหรือยัง ถ้ายังเมื่อไหร่กัน .. ถ้าไม่ใช่เดี๋ยวนี้ และเดี๋ยวนี้เท่านั้นที่เป็นสิ่งที่คุณควบคุมตัวคุณเองได้ …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *