อูคูเลเล่ กับประเด็นของ comfort zone มันเกี่ยวข้องกันตรงไหน ?

ukulele-comfort-zone

วันนี้ตอนเย็นได้คุยกะน้องที่บ้านครับ เกี่ยวกับเรื่องเครื่องดนตรีที่เรียกว่า อูคูเลเล่ ว่าอาจจะมี project น่าจะไปซื้อมันมาเล่นสักตัวสองตัวครับ โดยแนวคิด คิดว่ามันจะเหมือนกับ Guitar นั่นน่ะหละครับ แค่ว่ามันจะตัวเล็กกว่า ทำให้พกพาได้ง่ายกว่าอีกด้วยถ้าหากว่าต้องการจะเอาไปเล่นที่ไหนก็ไม่ต้องพกตัวใหญ่ๆไปครับ เอาเจ้าตัวเล็กนี่ไปแทนได้ ก็น่าจะสะดวกกว่ามากครับ อาจจะที่ผมมักจะเปรียบเทียบเจ้าอูคูเลเล่ นี่ก็คือ การเปรียบเทียบกับ Netbook ครับ คือ มีการแลกกันระหว่างบางอย่างเพื่อให้ได้ function อะไรบางอย่างมากขึ้น สำหรับกรณีนี้การแลกกันที่ว่านี้ก็คือ ความสะดวกเพื่อการขนย้าย หรือติดตัวไปได้ทุกที (มากขึ้น) แต่ก็ทำให้ต้องลดเสียงที่เปร่งออกจากเครื่องดนตรีน้อยลงในมิติที่ว่า เครื่องอูคูเลเล่ นี่มันจะมีแค่ 4 สายเท่านั้น คือ อีกสองสายที่เป็นเสียงที่ค่อนข้างต่ำ จะไม่มี ไม่เหมือนกับ guitar ที่จะมีครบทั้งหมด 6 เส้นเลยครับ

นอกจากนี้ ตัวเครื่องดนตรี อูคูเลเล่ นี่มันจะต้องมาฝึกจับ chord ใหม่ แม้ว่า เราจะเคยมีพื้นฐานในการเล่น guitar มาก่อนแล้วก็ตามครับ แต่นั่นสำหรับผมแล้ว ผมมองว่าไม่น่าจะเป็นปัญหาสักเท่าไหร่ เพราะว่า skill ในการดู chord แล้วเข้าใจว่าอะไรเป็นอะไร การตีจังหวะนั้นก็มีทักษะแล้ว แล้วก็อีกประเด็นก็คือ เราจะไม่กลัวเจ็บตอนทีกดสาย อูคูเลเล่ นี้แต่ประการใดครับเพราะว่า เราเคยเจ็บกับการต้องกดสายจอง guitar เป็นปกติอยู่แล้ว

อย่างไรก็ดีการที่ผมไม่ได้เป็นเล่นดนตรีอะไรเลยมาเป็นระยะเวลานาน อาจะทำให้ผมจำเป็นต้องกระโดดเข้าไปฝึกใหม่ แล้วก็การที่ chord มีการเปลี่ยนแปลงจาก guitar (ที่ผมเล่นเป็นอยู่แล้ว) มากจะทำให้ต้องฝึกฝนกันใหม่หมดเหมือนกันนะครับ แค่การฝึกนั้นก็น่าจะทำได้สะดวกกว่าคนที่ไม่ได้มีพื้นฐานมาเลยก็เป็นไปได้ครับ  การฝึกอะไรใหม่ๆ ก็จะเกิดอาการเครียด หรือ หงุดหงิดกับ "ความไม่ได้ดั่งใจ" ซึ่งเป็นอาการที่คนเราจะมีทักษะเพิ่มเติม เมื่อใช้สมองเพื่อทำสิ่งใหม่ ที่ไม่ค่อยได้ทำหรือไม่เคยทำ หรือ เรียกอย่างก็คือ "การฝึกทักษะใหม่ที่อยู่นอกเหนือ comfort zone ปกติของเราเองครับ"

comfort zone คือะไร ?

สำหรับ comfort zone แล้วคือเขตแดนเชิงจินตภาพ (หรือว่าจินตนาการไม่ได้เป็นเรื่องรูปร่างที่มีมิติแต่อย่างใด) ที่สะท้อนเขตของพฤติกรรม หรือแนวคิด ทักษะใดๆ ที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขเดิมๆ และ เมื่อเราทำกิจกรรม หรือ คิด หรือแสดงออก หรือแม้กระทั่งอาศัย อยู่ในเขต หรือ กิจกรรมที่เป็น comfort zone นั้น เราจะไม่รู้สึกหงุดหงิดอะไร หรือในทางกลับกันถ้าหากว่า เราทำกิจกรรม คิดแนวคิด หรือ แสดงออก หรือ แม้กระทั่งอยู่อาศัย นอกเขตแดน comfort zone เราก็จะ รู้สึกหงุดหงิดและไม่ได้ดั่งใจได้ครับ

ผมว่าอธิบายเป็นแบบนี้มันดูเหมือนว่าน่าจะยากไปหน่อยแต่ว่าผมอยากจะยกตัวอย่าง ทำให้การอธิบายง่ายกว่าเดิมแทนแล้วกันนะครับ เช่น ถ้าหากว่าคุณไม่เคยตื่นเช้ามาก่อน แล้วคุณก็ไม่ได้ตื่นเช้าเป็นประจำทุกวัน แล้ววันนี้คุณต้องตื่นสาย นั่นก็แสดงว่า คุณกำลังจะต้องมีพฤติกรรมเฉพาะวันนั้น ในเรื่องของการตื่นนอนทีแตกต่างออกไปจากเดิม คือ คุณต้องตื่นเช้ากว่าปกติที่คุณคื่นเป็นประจำครับ นั่นก็ พฤติกรรมที่อยู่นอก comfort zone ครับผม หรืออีกกรณีเช่น ถ้าหากว่าคุณไม่เคยเล่นดนตรีอะไรเลยมาก่อนแม้แต่น้อย แล้วคุณได้แซกโซโฟนมาตัวหนึ่ง ซึ่งราคาแพงมาก แล้วคุณต้องฝึกการเป่า เพื่อที่จะทำให้ตัวคุณเองนั้นเล่นเครื่องดนตรีนั้นๆได้ ก็ต้องทำการฝึกทักษะที่อยู่นอก comfort zone ของคุณเอง เพื่อให้ได้ทักษะใหม่ๆนั้นออกมาครับ นั่นก็แปลว่า ตอนที่คุณกำลังฝึกอยู่นั้น คุณจะเป่าไม่ได้ดั่งใจ จะต้องอ่าน note (ซึ่งอ่านไม่คล่องและไม่เคยอ่านมันมาก่อน) และอื่นๆ ที่จะต้องเกิดการต่อต้านความสบายจากสมองของคุณเองครับ และนี่ก็คือ การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ แม้ว่าคุณจะมีอายุมากขึ้นเรื่อยก็ตาม

การเรียนอะไรใหม่ๆ หรือการเพิ่มทักษะ เพื่อเรียนรู้อะไรเพิ่มเติม มันมีแบบที่ไม่ได้อยู่นอก comfort zone ก็มีน่ะครับ ไม่ได้แปลว่าทุกการเรียนรู้ใหม่ๆจะต้องอยู่นอก comfort zone ไปเสียทั้งหมด เช่นถ้าหากว่าผมถนัดที่จะเรียนรู้เรื่อง WordPress ซึ่งเป็น Content management System สำหรับการจัดการ website (รวมถึง website แห่งนี้น่ะครับ) แล้วถ้าหากว่าผมสนใจที่จะไปเรียนรู้ Magento เพื่อจัดการเกี่ยวกับระบบ e-commerce shopping cart ก็สามารถที่จะลงแรงไปเรียนรู้ได้โดย ผมเองก็ไม่ได้รู้สึกว่าจะต้องอึดอัดอะไรหรือไม่ เรียกว่า ความรู้สึกเหนื่อยจะน้อยกว่าคนที่ไม่เคยชินกับอะไรพวกนี้มากนักน่ะครับ

จริงๆแล้วผมก็ไม่ได้อยากจะเป็นคนรู้รอบด้านสักเท่าไหร่หรอกครับ แต่ผมว่า การที่เราได้ฝึกหรือทำอะไรที่แตกต่างออกไปจากเดิม นั้นมีอยู่เยอะมิติมากๆ เช่น การเข้าสังคม (ซึ่งผมก็ไม่ได้เข้าสักเท่าไหร แต่ก็จะเข้าให้มาก เพื่อทำตัวให้รู้จักคนแปลกหน้าได้ดีขึ้น) หรือ การเรียนรู้ทักษะชีวิตใหม่ๆ เช่น การทำกับข้าว หรือ ทำขนม หรือให้ความสนใจกับเรื่องอะไรที่ดูเหมือนว่าจะไม่เป็นเรื่อง ก็จะทำให้เราเกิดมุมมองที่กว้างกว่าเดิมได้ แล้วก็จะทำให้สมองตื่นตัวอยู่เสมอครับ การทำอะไรซ้ำซากจำเจมากๆ ดูเหมือนว่า จะทำให้สมองเราทำงานน้อยลง แล้วก็จะเอ๋อไม่เกิดความคิดสร้างสรรค์อะไรหากจำเป็นต้องมีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ คุณไม่ต้องไปกลัวที่จะทำอะไรที่ดูเหมือนจะ ไม่เป็นเรื่องเป็นราวครับ เพราะ ผมว่าอย่างน้อย ในกิจกรรมใหม่ๆเหล่านั้นมักจะให้คิดหรือมีข้อดีอะไรบางอยู่ในนั้นเสมอครับ คุณประเมินแต่แรกไม่ได้หรอกว่าคุณกำลังจะได้อะไรจากมัน แต่ผมเชื่อนะครับว่า "คุณจะได้อะไรบางอย่างออกจากการทำหรือฝึก เรียนรู้สิ่งต่างๆที่อยู่นอก comfort zone ของคุณเองครับผม"

ลองนึกดูสักนิดน่ะครับว่า ตอนนี้หรือย้อนหลังไปล่าสุด คุณมีกิจกรรมอะไร หรือ การเรียนรู้หรือฝึกอะไรหรือไม่ ที่เป็นกิจกรรมที่อยู่นอก comfort zone ปกติของคุณ ถ้าหากว่ามันนานมากแล้วที่คุณไม่ได้ทำอะไรเลยที่อยู่นอก comfort zone ของคุณ ลองหาอะไรแปลกใหม่ทำตัวสักหน่อย ผมว่ามันทำให้ชีวิตดูสดใสมากขึ้นกว่าเดิมดีทีเดียวเชียวแหละครับนั่น …

คำค้นหาของคุณที่มาเจอหน้าเว็ปนี้:

  • สายคล้องอูคูเลเล่
  • อูคูเลเล่

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *