การคิดวางแผนระยะยาวเป็นเรื่องคาดเดา และ ลองคิดให้สั้นเข้าดีกว่าเพื่อการตัดสินใจที่ฉลาดกว่าเดิม

——————————————–
note : ปกติเนื้อความเชิงนี้จะอยู่ที่ blogspot ที่ผมพิมพ์เก็บเอาไว้น่ะครับแต่ว่าปีนี้ผมกะว่าจะยุบเนื้อหาให้เหลือเอาไว้ที่เดียวคือที่ rackmanagerpro.com นี้น่ะครับ เพราะฉะนั้นแล้วถ้าหากว่าอยากอ่านเรื่องประมาณนี้ ก็แวะเข้าไปดูได้ที่ Blogspot ของผมกันได้น่ะครับ อีกเหตุผลหนึ่งก็คือว่า ผมอยากขขาย ZONE เนื้อหาให้มีความเป็น personal มากขึ้นที่ website แห่งนี้ด้วยน่ะครับ ท่าทางว่าจะเจ๋งดีครับก็ลองอ่านดูเองแล้วกันนะครับเผื่อว่าจะถูกใจเป็นแฟนพันธ์แท้กันได้ครับ
——————————————–

วันก่อนผมมีโอกาสมานั่งคิดเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการนำเสนอสินค้าให้กับคนที่มีโอกาสเป็นคู่แข่งได้ในสินค้าที่คตัวเองไม่สามารถที่จะทำตลาดได้ ปรากฏว่า ก็เริ่มคิดว่า ถ้าหากว่าเรานำเสนอและ ลูกค้าคนนี้เกิดทำตลาดได้จะเป็นอย่างไรกัน ปรากฏว่า outcome หรือผลลัพธ์ มันออกมาได้เยอะแบบมากๆ จนแทบคิดไม่ได้ว่าผลสุดท้ายจะเป็นอย่างไรกันแน่ ตอนนั้นผมก็คิดว่า เราอาจจะใช้ Decision tree เข้ามาใช้ได้ซึ่งแท้ที่จริงแล้วถ้าหากว่าเป็นเลือกของโลกความจริง (real world situation) ไม่สามารถที่จะใช้ Decision Tree เพื่อกำหนด outcome ได้ในทุกกรณีได้ เพราะมันไม่ได้เป็นตัวเลขยังไงล่ะครับ .. แล้วมันก็ไม่สามารถแปลงผลลัพธ์ทั้งหมออกมาเป็นตัวเลขได้อีกต่างหาก

มันอาจจะเป็นการใช้วิธีคิดที่ผิดวิธีการไปหน่อยก็อาจจะเป็นไปได้ครับ ก็เลยคิดว่า มันเป็นเรื่องของการคิดแบบ Game theory หรือเปล่าน้า แต่ก็อีก สมมุติฐานหนึ่งของ Game theory คือ เรารู้เขารู้เราและผู้เล่นทั้งสองฝ่ายมีความเป็น rational สุดๆ หรือเรียกได้ว่า Logic สุดๆเท่าที่โลกเราจะคิดได้ครับ ซึ่งแปลว่าเรื่องนี้จะผ่านกระบวนการคิดอย่างจริงจังทั้งสองฝ่าย นั่นก็แปลความได้เหมือนเดิมน่ะครับ เอาแค่ว่า ตัวผมคิดก็คิดไม่ได้ทั้งหมดแล้ว หรือว่าก็ไม่ได้มีเหตุมีผลได้อย่างสมบูรณ์ขนาดนั้นครับ ก็เลยคิดเอาว่า อย่าไปคิดอะไรอย่างงั้นดีกว่าครับ

ลองกลับไปมองอีกแบบว่า เราคิดอะไรที่มันเยอะ case และผลลัพธ์ที่จะออกมามันทำนายผลไม่ได้ทั้งหมด ก็เลยต้องคิดให้ง่ายกว่าเดิมน่ะครับ คือ คิดแค่เหตุผลตรงหน้าพอ (ไม่ต้องคิดลึก) เพราะอะไรน่ะครับ เพราะถ้าหากว่าเรารู้ผลลัพธ์มากขึ้นการคิดตัดสินใจใดๆมันจะง่ายมากขึ้นดว่าเดิมยังไงล่ะครับ เหตุผลก็ง่ายๆแค่นี้น่ะหละครับ ..

ตัดสินใจเรื่องเล็กง่ายกว่าตัดสินใจในเรื่องใหญ่ เรื่องแบบนี้ผมไม่ต้องบอกใครๆก็รู้แต่ว่าคนเรามักอยากจะคิดและตัดสินใจเรื่องใหญ่ๆเพื่อให้รู้สึกว่าตัวเองมีความสำคัญในผลลัพธ์นั้นๆ ถ้าหากว่ามันออกมาดีครับ แต่ว่าถ้าออกมาไม่ดีก็ลืมๆไปซะ ก็ไม่ได้มีใครจะมาว่าได้กันได้อยู่แล้วล่ะครับ ใครๆก็รู้วิธีทางหนีทีไล่ทั้งนั้นไม่ว่าจะเป็นการใช้ time delay ปล่อยมันช้าหน่อยคนอืน่ก็จะลืมไป หรือว่าจะใช้วิธีการหาเหตุผลใดๆ เพื่อให้เป็นแพะแทนก็ได้ไม่ยากน่ะครับ เรื่องแบบนี้คุณเจอเองคุณก็จะคิดออกได้ไม่ยากว่าจะต้องโบ้ยไปยังเหตุผลเรื่องใดครับ

การตัดสินใจเรื่องเล็กๆไม่ได้แปลว่าคุณไม่ได้คิดใหญ่แต่อย่างใด การตัดสินใจเรื่องเล็กแปลว่า มันจะตัดสินใจได้ไม่ยาก คิดไม่ยาก และ เราจะรอให้เกิดผลลัพธ์ออกมาก่อน เพื่อตัดสินใจเล็กครั้งต่อไปน่ะครับ ถ้าหากว่ามีอะไรผิดพลาดไปเราก็แค่ ซอ่มมันเท่านั้นเอง ไม่จะไม่ได้เป็นเรื่องที่ถอยไม่ได้หรือว่ากลับลำไม่ได้ ลองคิดดูซิครับ ว่าถ้าหากว่าเราตัดสินใจโดยเหมารวบเรื่องทั้งหมดให้เป็นเรื่องใหญ่แล้วก็ตัดสินใ
จไปซะ ถ้าหากว่ามีอะไรผิดพลาดไป แล้วเกิดการลงทุนไปแล้ว เราจะเกิด sunk cost หรือต้นทุนจมที่ผมเคยอธิบายเอาไว้แล้วก่อนหน้า (ที่ http://rackmangaer.blogspot.com ค้นหาคำว่า sunk cost ครับ) ทำให้คนเราหลงผิดหนักไปเรื่อยน่ะครับ โดยไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่า คุณโดนจิตตัวเองหลอก ทำให้ตัดสินใจต่อไปด้วยความผิดพลาดที่ตัวเองก็ ไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ

เพราะฉะนั้นแล้ว ถ้าหากว่าจะทำอะไรให้เดินหน้าด้วยเวลาอันสั้น สิ่งที่จะต้องทำคือ คิดการใหญ่ ตั้งเป้าหมายเอาไว้แค่ในใจก็ได้ว่าจะทำอะไร แล้วก็ลองเดินดุ่มๆทำดู กล้าตัดสินใจในเรื่องเล็กๆ โดยต้องทำเรื่องทั้งหมดให้เป็นเรื่องเล็กด้วยน่ะครับ เราก็จะตัดสินใจได้ด้วยตัวเองแบบว่า ถ้าคิดผิดก็ไม่เห็นเป็นอะไรเลย ซ่อมมันได้ไม่ยากไม่มีทุนจมทางความคิดอีกตะหาก ตัวอย่าง ที่ผมเห็นก็ออกจะมีเยอะแยะน่ะครับ เรื่องทำการเรื่องใหญ่ให้เป้นเรื่องแล้วตัดสินใจได้ง่ายขึ้น เช่น น้องผมจะโดน assign ให้ออกแบบลายผ้าแล้วก็เอาเข้าหน้าร้านเพื่อขาย สิ่งที่พึงกระทำก็คือ ทำให้ของมันมีปริมาณไม่มาก ซึ่งแน่นอนว่ามันจะเริ่มเป็นเรื่องเล็ก เราสั่งผลิตได้เองในปริมาณไม่มาก แล้วเอาไปลองขายดูหน้าร้าน ดูว่ามันอยู่นานแค่ไหนกว่าจะมีคนเห็น โดยการ promote มันให้สุดๆเท่าที่จะทำได้ (เพราะว่าตอนนี้การ promote ไม่ได้ถือเป็น Cost แต่ประการใดๆ ไม่ว่าจะเป็น Promote ่ผ่านหน้าเว็ป หรือการวางย้ายตำแหน่งสินค้าเพื่อให้เห็นได้โดดเด่นก็ได้) แล้วสิ่งที่ทำก็รอครับว่ามันขายมากแค่ไหน แค่นี้ เราก็จะได้ "ข้อมูลเพิ่ม" เพื่อเอาตัดสินใจเล็กๆต่อไปครับว่าจะทำเพิ่มมั้ย เท่านั้นเองครับ ผมยกตัวอย่างแบบนี้มันดูเหมือนกับว่าเป็นเรื่องปัญญาอ่อนที่ใครๆเค้าก็ต้องทำแบบนี้ แต่ว่าผมอยากจะบอกว่า ทุกคนไม่ได้คิดแบบนี้เหมือนกันหมดหรอกครับ ถ้าหากว่าคนที่มีอีโก้ หรือมีการทำงานแบบ aggressive แล้ว จะมีการทุ่มทุนสร้างโดยไม่สนใจแบ่งเรื่องให้มันเล็ก ก็คนมันใหญ่ก็ต้องคิดใหญ่ ตัดสินใจเรื่องให้ใหญ่ยังไงล่ะครับ ผมก็ชอบน่ะครับ มันดูเท่ห์ดี แต่ก็อีกถ้าหากว่าคิดแบบ rational หน่อยแล้ว การแบ่งเรื่องให้ tiny ๆ น่ารักๆลงเพื่อการตัดสินใจให้ง่าย และ รอให้ได้ข้อมูลเพิ่มกลับเป็นเรื่องที่ฟังดู make sense กว่ามากๆ ถ้าหากว่าไม่ได้มีคนบอกก็ไม่ได้ฉุกคิดกันได้ง่ายๆ ครับ เอาเป็นว่าถ้าหลงมาอ่านก็เตือนพี่ๆเพื่อนๆน้องๆหน่อยแล้วกันนะครับว่า เรื่องแนวคิดแบบนี้อาจจะเป็นเรื่องที่ต้องฉุกคิดขึ้นมาครับ อย่าหลงมัวเมากับความมันส์ เพื่อที่จะชนะกับข้อมูลที่แม่นขึ้น เพื่อการตัดสินใจที่ดีขึ้นดีกว่าน่ะครับ

Submit your comment

Please enter your name

Your name is required

Please enter a valid email address

An email address is required

Please enter your message

rackmanagerpro.com © 2024 All Rights Reserved

Rackmanagerpro.com all right reserved 2007 - 2019

Copyright by Rackmanagerpro.com

Content Creted by Rackmanagerpro.com